การเพิ่มระบาด (resurgence) ของเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลหลังการใช้สารฆ่าแมลงในนาข้าว /

ปรีชา วังศิลาบัตร.

การเพิ่มระบาด (resurgence) ของเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลหลังการใช้สารฆ่าแมลงในนาข้าว / ปรีชา วังศิลาบัตร

เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล (Nilaparvata lugens Stal) เป็นแมลงศัตรูข้าวที่สำคัญมากในปัจจุบัน วิธีการป้องกันกำจัดที่ชาวนาใช้คือ การใช้สารฆ่าแมลง ซึ่งก่อให้เกิดปัญหาตามมาคือ สารพิษตกค้าง (residue) แมลงเกิดความต้านทาน (resistance) เกิดศัตรูพืชใหม่ขึ้น เนื่องจากไปทำลายศัตรูธรรมชาติและเกิดการเพิ่มระบาด ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญของการสูญเสียผลผลิตในพื้นที่ปลูกข้าว จากการทดลองของสถาบันวิจัยข้าวนานาชาติ พบว่าสารฆ่าแมลง 15ชนิด จากที่ทำการทดลอง 35ชนิด ก่อให้เกิดการเพิ่มระบาด (มีต่อ) ซึ่งประกอบด้วยสารในกลุ่ม organochlorine, carbamate และ pyrethroids สังเคราะห์สารฆ่าแมลง cypermethrin และ permethrin เป็นสารก่อให้เกิดการเพิ่มระบาดของเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลด้วย จากการทดลองในห้องปฏิบัติการและในนิเวศการปลูกข้าว ชี้ให้เห็นว่า (1) การกระตุ้นการขยายพันธ์ (reproductive stimulation) ในตัวเมียที่ได้รับสารฆ่าแมลงในอัตราต่ำกว่าระดับที่จะทำให้ตาย (sublethal dose) และ (2) การหายไป (selective removal) ของศัตรูธรรมชาติ (มีต่อ) เป็น 2ปัจจัยสำคัญ ที่ทำให้เกิด resurgence อัตราขยายพันธ์เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลจะสูงในข้าวที่พ่นด้วยสาร decamethrin, methyl panathion, quinalphos, cypenmethrin, fenvalernate และ permenthrin เมื่อเปรียบกับต้นข้าวที่ไม่ได้พ่นสารฆ่าแมลง ต้นข้าวที่พ่นด้วย decamethrin, methyl, parathion และ diazinon จะเพิ่มอัตราการดูดกินของเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล เมื่อเทียบกับที่ไม่ได้พ่นด้วยสารฆ่าแมลง 61, 43, และ 33% ตามลำดับ


SCI-TECH.
ศัตรูพืช--การควบคุม.