คลองประปาฝั่งตะวันตก โครงการแก้ปัญหาขาดน้ำ

คลองประปาฝั่งตะวันตก โครงการแก้ปัญหาขาดน้ำ

สถานการณ์ภัยแล้งที่เกิดขึ้นในแต่ละปี ส่งผลทำให้ปริมาณน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาไม่เพียงพอในหน้าแล้งอยู่บ่อยครั้ง ขณะเดียวกันปัญหาคุณภาพน้ำดิบเพื่อนำมาผลิตน้ำประปาในแม่น้ำเจ้าพระยาก็ด้อยลงไป สถานการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้นท่ามกลางการเติบโตอย่างรวดเร็วของเมืองหลวง ซึ่งหมายถึง ความต้องการบริโภคน้ำประปาเพิ่มขึ้นอย่างมหาศาลด้วย ปัญหาการขาดน้ำดิบเพื่อทำน้ำประปาจึงหนักหน่วงมากขึ้น ในปีพ.ศ.2535 คณะรัฐมนตรีเห็นชอบให้มีการปรับปรุงกิจการประปาแผนหลัก ครั้งที่5 ของการประปา นครหลวง (กปน.) เพื่อก่อสร้างโรงงานผลิตน้ำแห่งใหม่ทางฝั่งตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยา (ฝั่งธนบุรี) (มีต่อ) และแผนระยะยาวที่จะนำน้ำดิบจากแม่น้ำแม่กลองบริเวณเหนือเขื่อนวชิราลงกรณ์มาใช้ผลิตน้ำประปาเพื่อเป็นแหล่งน้ำแห่งที่2 นอกเหนือจากแม่น้ำเจ้าพระยา โครงการประปาฝั่งตะวันตกจึงถือกำเนิดขึ้น ตามแผนแม่บทการปรับปรุงกิจการประปาระยะยาว (Master Plan พ.ศ.2530-2560) ด้วยเงินทุน 7,000ล้านบาท ทั้งนี้ในการออกแบบคลองประปาฝั่งตะวันตกได้พิจารณาถึงความเหมาะสมต่างๆ เช่น สภาพพื้นที่ภูมิประเทศ สภาพดิน การรั่วซึมลงสู่ใต้ดิน ค่าก่อสร้าง ค่าบำรุงรักษา ปริมาณน้ำที่ต้องการ ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและประชาชนที่อยู่อาศัยอยู่ในเขตแนวคลองเป็นสำคัญ


SCI-TECH.
น้ำประปา.


กรุงเทพมหานคร--แหล่งน้ำ.