2543 ปีแห่งปิติ / ธีรภาพ โลหิตกุล

By: ธีรภาพ โลหิตกุลCall Number: INDEX Material type: ArticleArticleSubject(s): สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี | ปรีดี พนมยงค์ | SCI-TECH | บุคคลดีเด่น In: โลกใบใหม่ ปีที่ 10 ฉบับที่ 121 (ตุลาคม 2542) หน้า 24Summary: ปี พ.ศ. 2543 เป็นปีแห่งวโรกาสครบรอบ 100 ปีเต็ม แห่งวันคล้ายวันพระราชสมภพของสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี และเป็นวาระครบรอบชาตกาล 100 ปีของนายปรีดี พนมยงค์ รัฐบุรุษ ล่าสุดในที่ประชุมสมัยสามัญขององค์การยูเนสโกแห่งสหประชาชาติ ครั้งที่ 30 ณ สำนักงานใหญ่กรุงปารีส ได้มีมติรับรองให้ประกาศพระนาม สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี และชื่อนายปรีดี พนมยงค์ เป็นบุคคลลำคัญที่มีผลงานดีเด่นของโลก ซึ่งยูเนสโกจะเฉลิมฉลองในปี ค.ศ. 2000 หรือ พ.ศ. 2543 (มีต่อ)Summary: โดยที่พระนามของสมเด็จย่า และชื่อนายปรีดี พนมยงค์ เป็น 2 ใน 58 รายการที่คณะกรรมการยูเนสโกคัดเลือกจากประเทศสมาชิกที่เสนอชื่อมาถึง 107 รายการ เหตุผลประกอบการพิจารณาที่นำเสนอต่อที่ประชุมยูเนสโก คือ สมเด็จย่าของชาวไทย ทรงเป็นผู้มีผลงานโดดเด่นในฐานะที่ทรงส่งเสริมการศึกษาทางไกล ทรงดำริการฝึกอบรมแก่เยาวชนในชนบท ทรงส่งเสริมให้ประชาชนมีจริยธรรมและเห็นคุณค่าของการศึกษา ทรงใช้เวลาในพระชนม์ชีพของพระองค์อย่างคุ้มค่าที่สุด (มีต่อ)Summary: เป็นแบบอย่างอันควรค่าแก่การศึกษาและปฏิบัติตาม ส่วน ศ.ดร.ปรีดี พนมยงค์ มีผลงานโดดเด่นในด้านการเป็นผู้นำ เป็นนักประชาธิปไตย เป็นผู้ส่งเสริมสิทธิมนุษยชนและสันติภาพ ปี 2543 หรือ ค.ศ. 2000 จึงไม่ได้เป็นเพียงปีสำคัญที่ชาวโลกจะได้เฉลิมฉลองสหสวรรษใหม่ แต่ยังเป็นปีที่ชาวโลกจะได้ร่วมปิติยินดี ร่วมศึกษาเรียนรู้ในคุณความดีของ "สมเด็จย่า" และ นายปรีดี พนมยงค์ อย่างที่คนไทยประจักษ์มาแล้วด้วย
Star ratings
    Average rating: 0.0 (0 votes)
No physical items for this record

ปี พ.ศ. 2543 เป็นปีแห่งวโรกาสครบรอบ 100 ปีเต็ม แห่งวันคล้ายวันพระราชสมภพของสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี และเป็นวาระครบรอบชาตกาล 100 ปีของนายปรีดี พนมยงค์ รัฐบุรุษ ล่าสุดในที่ประชุมสมัยสามัญขององค์การยูเนสโกแห่งสหประชาชาติ ครั้งที่ 30 ณ สำนักงานใหญ่กรุงปารีส ได้มีมติรับรองให้ประกาศพระนาม สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี และชื่อนายปรีดี พนมยงค์ เป็นบุคคลลำคัญที่มีผลงานดีเด่นของโลก ซึ่งยูเนสโกจะเฉลิมฉลองในปี ค.ศ. 2000 หรือ พ.ศ. 2543 (มีต่อ)

โดยที่พระนามของสมเด็จย่า และชื่อนายปรีดี พนมยงค์ เป็น 2 ใน 58 รายการที่คณะกรรมการยูเนสโกคัดเลือกจากประเทศสมาชิกที่เสนอชื่อมาถึง 107 รายการ เหตุผลประกอบการพิจารณาที่นำเสนอต่อที่ประชุมยูเนสโก คือ สมเด็จย่าของชาวไทย ทรงเป็นผู้มีผลงานโดดเด่นในฐานะที่ทรงส่งเสริมการศึกษาทางไกล ทรงดำริการฝึกอบรมแก่เยาวชนในชนบท ทรงส่งเสริมให้ประชาชนมีจริยธรรมและเห็นคุณค่าของการศึกษา ทรงใช้เวลาในพระชนม์ชีพของพระองค์อย่างคุ้มค่าที่สุด (มีต่อ)

เป็นแบบอย่างอันควรค่าแก่การศึกษาและปฏิบัติตาม ส่วน ศ.ดร.ปรีดี พนมยงค์ มีผลงานโดดเด่นในด้านการเป็นผู้นำ เป็นนักประชาธิปไตย เป็นผู้ส่งเสริมสิทธิมนุษยชนและสันติภาพ ปี 2543 หรือ ค.ศ. 2000 จึงไม่ได้เป็นเพียงปีสำคัญที่ชาวโลกจะได้เฉลิมฉลองสหสวรรษใหม่ แต่ยังเป็นปีที่ชาวโลกจะได้ร่วมปิติยินดี ร่วมศึกษาเรียนรู้ในคุณความดีของ "สมเด็จย่า" และ นายปรีดี พนมยงค์ อย่างที่คนไทยประจักษ์มาแล้วด้วย