สรุปภาวะอุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ ปี 2541

Call Number: INDEX Material type: ArticleArticleSubject(s): อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ -- ข่าว | อุตสาหกรรมเครื่องมือเครื่องใช้ไฟฟ้า -- ข่าว | อุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ -- ภาวะเศรษฐกิจ | SCI-TECH In: ไฟฟ้าและอุตสาหกรรม ปีที่ 6 ฉบับที่ 4 (เมษายน 2542) หน้า 43 - 45Summary: สภาพข้อเท็จจริง 1. อุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ได้รับผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจที่ถดถอยอย่างรุนแรงส่งผลให้อุตสาหกรรมการผลิตโดยรวมมีการขยายตัวลดลงเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งอุตสาหกรรมการผลิตเพื่อขายในประเทศต้องประสบปัญหาด้านตลาดและกำลังซื้อในประเทศที่หดตัวลงกว่า 40% 2. ผู้ประกอบการอุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ทุกขนาด โดยเฉพาะผู้ประกอบการขนาดกลางและเล็กประสบปัญหาสภาพคล่องค่อนข้างมาก รวมที้งได้รับผลกระทบจากความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยนเป็นอย่างมาก ค่าเงินบาทที่อ่อนตัวลงมีส่วนให้ผู้ประกอบการผลิตเพื่อการส่งออกมีข้อได้เปรียบในด้านราคาและมีโอกาสในการส่งออกมากขึ้น แต่แนวโน้มในช่วงครึ่งหลังของปี 2541 ค่าเงินบาทปรับตัวแข็งขึ้นโดยลำดับ ซึ่งส่งผลกระทบต่อการส่งออกและเป็นข้อเสียเปรียบด้านราคาสินค้าส่งออกด้วย 3. ผู้ประกอบการอุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ต้องปรับตัวให้สอดคล้องกับสภาพการณ์ทางเศรษฐกิจและภาวะตลาดทั้งในประเทศและต่างประเทศ เช่น ปรับสัดส่วนการผลิตและการตลาด คือมุ่งเน้นการส่งออกมากขึ้น มุ่งลดต้นทุนการผลิตโดยการปรับปรุงกระบวนการผลิตปรับโครงสร้างองค์กรและหน่วยงาน ลดค่าใช้จ่ายในด้านต่างๆ ให้สอดคล้องกับปริมาณและกำลังการผลิตที่แท้จริง (มีต่อ)Summary: ตลาดต่างประเทศ 1. ภาวะการส่งออกสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ มูลค่าการส่งออกสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้ามีอัตราการขยายตัวลดลงประมาณ 8% มูลค่าการส่งออกสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ มีอัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้นประมาณ 2% 2. ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อการส่งออกเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ ในช่วงปี 2541 ที่สำคัญคือตลาดหลักที่สำคัญในภูมิภาคเอเชีย เช่น ญี่ปุ่น ฮ่องกง สิงคโปร์ และมาเลเซีย มีการขยายตัวลดลงค่อนข้างมากกว่า 30% สินค้าส่งออกหลายรายการ เช่น หลอดภาพ โทรทัศน์สี พัดลม ผลิตภัณฑ์ประเภทชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์มีการขยายตัวลดลง เนื่องจากประสบปัญหาการแข่งขันที่รุนแรงจากประเทศคู่แข่งขันที่สำคัญ เช่น จีน เกาหลี เป็นต้น และแนวโน้มการส่งออกสินค้าโดยภาพรวม มีอัตราการขยายตัวไม่มากนัก อีกทั้งประสบปัญหาคู่แข่งขันที่รุนแรงมากขึ้น สินค้าผลิตภัณฑ์ประเภทชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์มีการขยายฐานการผลิตในประเทศคู่แข่งขันที่สำคัญ เช่น จีน ฯลฯ รวมทั้งค่าเงินบาทที่มีแนวโน้มแข็งมากขึ้นอยู่ในระดับที่ประเทศไทยไม่ได้เปรียบในการแข่งขันด้านราคาอีกต่อไปในระยะยาว (มีต่อ)Summary: ตลาดในประเทศ 1. ภาวะตลาดสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ในประเทศไทยโดยรวมหดตัวลงกว่า 40% ส่งผลกระทบต่อผู้ผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ขยายตลาดในประเทศค่อนข้างมาก 2. แนวโน้มภาวะตลาดในประเทศซบเซา แม้ว่าผู้ผลิตสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าเพื่อขายตลาดในประเทศจะไม่สามารถปรับราคาขายสินค้าได้ตามภาระต้นทุนการผลิตที่เพิ่มขึ้นสูง ทั้งนี้เป็นผลสืบเนื่องมาจากภาวะเศรษฐกิจและกำลังซื้อในประเทศที่ยังคงหดตัวลงอย่างต่อเนื่อง ข้อจำกัดที่ผู้ประกอบการกำลังเผชิญอยู่ในปัจจุบัน 1. ปัญหาขาดสภาพคล่องและขาดแคลนเงินทุนหมุนเวียนในการดำเนินกิจการ 2.ผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจถดถอยส่งผลกระทบต่อภาวะการผลิตและตลาดในประเทศลดลง 3. ข้อจำกัดด้านระบบมาตรฐานผลิตภัณฑ์ ส่งผลกระทบทำให้เกิดข้อเสียเปรียบทางการค้า ทั้งตลาดในประเทศและการส่งออก 4. อุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์เป็นสินค้าที่อยู่ในข่ายที่ต้องเปิดเสรีทางการค้าทั้งข้อตกลงในระดับอาเซียน (AFTA) และข้อตกลง WTO (ข้อตกลงว่าด้วยสินค้าเทคโนโลยีสารสนเทศ หรือ ITA) ทำให้ผู้ผลิตในประเทศมีข้อเสียเปรียบในการแข่งขันเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเผชิญกับภาวะแข่งขันกับประเทศเศรษฐกิจใหม่ เช่น จีน เวียดนาม ทั้งนี้ผลกระทบจากข้อตกลงและข้อจำกัดดังกล่าวข้างต้น อาจส่งผลกระทบต่อโครงสร้างการลงทุนของอุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ของประเทศไทยในระยะยาวด้วย
Star ratings
    Average rating: 0.0 (0 votes)
No physical items for this record

สภาพข้อเท็จจริง 1. อุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ได้รับผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจที่ถดถอยอย่างรุนแรงส่งผลให้อุตสาหกรรมการผลิตโดยรวมมีการขยายตัวลดลงเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งอุตสาหกรรมการผลิตเพื่อขายในประเทศต้องประสบปัญหาด้านตลาดและกำลังซื้อในประเทศที่หดตัวลงกว่า 40% 2. ผู้ประกอบการอุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ทุกขนาด โดยเฉพาะผู้ประกอบการขนาดกลางและเล็กประสบปัญหาสภาพคล่องค่อนข้างมาก รวมที้งได้รับผลกระทบจากความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยนเป็นอย่างมาก ค่าเงินบาทที่อ่อนตัวลงมีส่วนให้ผู้ประกอบการผลิตเพื่อการส่งออกมีข้อได้เปรียบในด้านราคาและมีโอกาสในการส่งออกมากขึ้น แต่แนวโน้มในช่วงครึ่งหลังของปี 2541 ค่าเงินบาทปรับตัวแข็งขึ้นโดยลำดับ ซึ่งส่งผลกระทบต่อการส่งออกและเป็นข้อเสียเปรียบด้านราคาสินค้าส่งออกด้วย 3. ผู้ประกอบการอุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ต้องปรับตัวให้สอดคล้องกับสภาพการณ์ทางเศรษฐกิจและภาวะตลาดทั้งในประเทศและต่างประเทศ เช่น ปรับสัดส่วนการผลิตและการตลาด คือมุ่งเน้นการส่งออกมากขึ้น มุ่งลดต้นทุนการผลิตโดยการปรับปรุงกระบวนการผลิตปรับโครงสร้างองค์กรและหน่วยงาน ลดค่าใช้จ่ายในด้านต่างๆ ให้สอดคล้องกับปริมาณและกำลังการผลิตที่แท้จริง (มีต่อ)

ตลาดต่างประเทศ 1. ภาวะการส่งออกสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ มูลค่าการส่งออกสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้ามีอัตราการขยายตัวลดลงประมาณ 8% มูลค่าการส่งออกสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ มีอัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้นประมาณ 2% 2. ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อการส่งออกเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ ในช่วงปี 2541 ที่สำคัญคือตลาดหลักที่สำคัญในภูมิภาคเอเชีย เช่น ญี่ปุ่น ฮ่องกง สิงคโปร์ และมาเลเซีย มีการขยายตัวลดลงค่อนข้างมากกว่า 30% สินค้าส่งออกหลายรายการ เช่น หลอดภาพ โทรทัศน์สี พัดลม ผลิตภัณฑ์ประเภทชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์มีการขยายตัวลดลง เนื่องจากประสบปัญหาการแข่งขันที่รุนแรงจากประเทศคู่แข่งขันที่สำคัญ เช่น จีน เกาหลี เป็นต้น และแนวโน้มการส่งออกสินค้าโดยภาพรวม มีอัตราการขยายตัวไม่มากนัก อีกทั้งประสบปัญหาคู่แข่งขันที่รุนแรงมากขึ้น สินค้าผลิตภัณฑ์ประเภทชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์มีการขยายฐานการผลิตในประเทศคู่แข่งขันที่สำคัญ เช่น จีน ฯลฯ รวมทั้งค่าเงินบาทที่มีแนวโน้มแข็งมากขึ้นอยู่ในระดับที่ประเทศไทยไม่ได้เปรียบในการแข่งขันด้านราคาอีกต่อไปในระยะยาว (มีต่อ)

ตลาดในประเทศ 1. ภาวะตลาดสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ในประเทศไทยโดยรวมหดตัวลงกว่า 40% ส่งผลกระทบต่อผู้ผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ขยายตลาดในประเทศค่อนข้างมาก 2. แนวโน้มภาวะตลาดในประเทศซบเซา แม้ว่าผู้ผลิตสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าเพื่อขายตลาดในประเทศจะไม่สามารถปรับราคาขายสินค้าได้ตามภาระต้นทุนการผลิตที่เพิ่มขึ้นสูง ทั้งนี้เป็นผลสืบเนื่องมาจากภาวะเศรษฐกิจและกำลังซื้อในประเทศที่ยังคงหดตัวลงอย่างต่อเนื่อง ข้อจำกัดที่ผู้ประกอบการกำลังเผชิญอยู่ในปัจจุบัน 1. ปัญหาขาดสภาพคล่องและขาดแคลนเงินทุนหมุนเวียนในการดำเนินกิจการ 2.ผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจถดถอยส่งผลกระทบต่อภาวะการผลิตและตลาดในประเทศลดลง 3. ข้อจำกัดด้านระบบมาตรฐานผลิตภัณฑ์ ส่งผลกระทบทำให้เกิดข้อเสียเปรียบทางการค้า ทั้งตลาดในประเทศและการส่งออก 4. อุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์เป็นสินค้าที่อยู่ในข่ายที่ต้องเปิดเสรีทางการค้าทั้งข้อตกลงในระดับอาเซียน (AFTA) และข้อตกลง WTO (ข้อตกลงว่าด้วยสินค้าเทคโนโลยีสารสนเทศ หรือ ITA) ทำให้ผู้ผลิตในประเทศมีข้อเสียเปรียบในการแข่งขันเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเผชิญกับภาวะแข่งขันกับประเทศเศรษฐกิจใหม่ เช่น จีน เวียดนาม ทั้งนี้ผลกระทบจากข้อตกลงและข้อจำกัดดังกล่าวข้างต้น อาจส่งผลกระทบต่อโครงสร้างการลงทุนของอุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ของประเทศไทยในระยะยาวด้วย