เรือพื้นบ้าน กุญแจสู่การเรียนรู้วัฒนธรรม / เกื้อเมธา ฤกษ์พรพิพัฒน์

By: เกื้อเมธา ฤกษ์พรพิพัฒน์Call Number: INDEX Material type: ArticleArticleSubject(s): SCI-TECH | เรือ | การต่อเรือ In: โลกสีเขียว ปีที่ 9 ฉบับที่ 1(มีนาคม - เมษายน 2543) หน้า 87-91Summary: คนไทยในอดีตใช้ชีวิตผูกพันกับสายน้ำตั้งแต่การตั้งถิ่นฐานบ้านเรือน การทำมาหากิน วัฒนธรรมประเพณีตลอดจนใช้เป็นเส้นทางคมนาคมสัญจร "เรือ" จึงไม่ได้มีความสำคัญเพียงแค่พาหนะสำหรับ โดยสารเดินทาง และลำเลียงข้าวของ เช่น บทบาทของรถยนต์ในสมัยปัจจุบัน หากแต่เกาะเกี่ยวสัมพันธ์กับการดำเนินชีวิตประจำวันอย่างแนบแน่นและสอดคล้องกลมกลืน ไม่มีใครสามารถบอกได้ว่า เรือลำแรกเกิดขึ้นเมื่อใด แต่เชื่อกันว่าการนำเรือขึ้นใช้ในระยะแรกนั้นเริ่มต้นจากการนำไม้ซุงมาขุด แล้วจึงพัฒนาเทคนิควิธีเป็นการต่อเรือ เพื่อสามารถกำหนดขนาดและรูปร่างของเรือให้เหมาะสมแก่การใช้งานที่หลากหลายได้มากขึ้น (มีต่อ)Summary: การพิจารณาคัดเลือกชนิดไม้มาใช้ทำเรือหรือส่วนประกอบของเรือย่อมสุดแท้แต่วัตถุประสงค์ของผู้ใช้ ว่าต้องการนำเรือชนิดใด หรือส่วนประกอบใดของเรือ นิมิตร โชติพานิช ระบุว่าการทำเรือแต่ละประเภทนั้นต้องการความหนักเบาของไม้เหมือนกัน กล่าวคือหากต้องการเรือขนาดใหญ่ เพื่อใช้บรรทุกของจำนวนมาก และมีการใช้งานนาน ก็มักนิยมใช้ไม้ที่มีความแข็งแรงสูง หากทำเรือแจว เรือใบ ที่ต้องการน้ำหนักเบา เพือให้แล่นได้เร็วก็ใช้ไม้ที่ไม่ต้องการความแข็งแรงมากนัก แต่สำหรับไม้ยอดนิยมที่ชาวบ้าน มักนำมาใช้ทำเรือพื้นบ้านทั่วไปก็คือ ไม้ตะเคียน และไม้สัก เนื่องจากเป็นไม้เนื้อแข็งทนทานไม่ผุง่าย นอกจากความเหมาะสมของเนื้อไม้แล้ว ปัจจัยสำคัญอีกประการหนึ่งในการเลือกชนิดไม้ก็คือจะต้องเป็นไม้ที่หาได้ง่ายในภูมิประเทศแถบถิ่นนั้นด้วย
Star ratings
    Average rating: 0.0 (0 votes)
No physical items for this record

คนไทยในอดีตใช้ชีวิตผูกพันกับสายน้ำตั้งแต่การตั้งถิ่นฐานบ้านเรือน การทำมาหากิน วัฒนธรรมประเพณีตลอดจนใช้เป็นเส้นทางคมนาคมสัญจร "เรือ" จึงไม่ได้มีความสำคัญเพียงแค่พาหนะสำหรับ โดยสารเดินทาง และลำเลียงข้าวของ เช่น บทบาทของรถยนต์ในสมัยปัจจุบัน หากแต่เกาะเกี่ยวสัมพันธ์กับการดำเนินชีวิตประจำวันอย่างแนบแน่นและสอดคล้องกลมกลืน ไม่มีใครสามารถบอกได้ว่า เรือลำแรกเกิดขึ้นเมื่อใด แต่เชื่อกันว่าการนำเรือขึ้นใช้ในระยะแรกนั้นเริ่มต้นจากการนำไม้ซุงมาขุด แล้วจึงพัฒนาเทคนิควิธีเป็นการต่อเรือ เพื่อสามารถกำหนดขนาดและรูปร่างของเรือให้เหมาะสมแก่การใช้งานที่หลากหลายได้มากขึ้น (มีต่อ)

การพิจารณาคัดเลือกชนิดไม้มาใช้ทำเรือหรือส่วนประกอบของเรือย่อมสุดแท้แต่วัตถุประสงค์ของผู้ใช้ ว่าต้องการนำเรือชนิดใด หรือส่วนประกอบใดของเรือ นิมิตร โชติพานิช ระบุว่าการทำเรือแต่ละประเภทนั้นต้องการความหนักเบาของไม้เหมือนกัน กล่าวคือหากต้องการเรือขนาดใหญ่ เพื่อใช้บรรทุกของจำนวนมาก และมีการใช้งานนาน ก็มักนิยมใช้ไม้ที่มีความแข็งแรงสูง หากทำเรือแจว เรือใบ ที่ต้องการน้ำหนักเบา เพือให้แล่นได้เร็วก็ใช้ไม้ที่ไม่ต้องการความแข็งแรงมากนัก แต่สำหรับไม้ยอดนิยมที่ชาวบ้าน มักนำมาใช้ทำเรือพื้นบ้านทั่วไปก็คือ ไม้ตะเคียน และไม้สัก เนื่องจากเป็นไม้เนื้อแข็งทนทานไม่ผุง่าย นอกจากความเหมาะสมของเนื้อไม้แล้ว ปัจจัยสำคัญอีกประการหนึ่งในการเลือกชนิดไม้ก็คือจะต้องเป็นไม้ที่หาได้ง่ายในภูมิประเทศแถบถิ่นนั้นด้วย