การทรมานสัตว์ป่า ณ สถานที่ท่องเที่ยว / ยงยุทธ ขำคง

By: ยงยุทธ ขำคงCall Number: INDEX Material type: ArticleArticleSubject(s): SCI-TECH | สัตว์ป่า | การอนุรักษ์สัตว์ป่า In: โลกสีเขียว ปีที่ 9 ฉบับที่ 1 (มีนาคม - เมษายน 2543) หน้า 56-57Summary: WWF-World Wide Fund for Nature เป็นองค์กรเอกชนระหว่างประเทศที่ทำงานด้านการอนุรักษ์ของโลก ปัจจุบันมีโครงการกว่า 11,000 โครงการ ใน 130ประเทศ มีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ที่ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ซึ่ง WWF- Thailand ก็เป็นหนึงในสาขาของ WWF โลกที่รับผิดชอบในส่วนของพื้นที่ประเทศไทย ตลอดจนภูมิภาคแถบนี้ เป้าหมายหลักของ WWF คือ ต้องการหยุดยั้งการทำลายความหลากหลายทางชีวภาพของโลก โดยเน้นการอนุรักษ์ป่าไม้ แหล่งน้ำจืด ชายฝั่งทะเลและมหาสมุทร (มีต่อ)Summary: รวมถึงการฟื้นฟูสภาพแวดล้อมต่างๆ ที่ถูกทำลายให้ดีขึน เพื่อสร้างอนาคตที่ดีแก่มวลมนุษย์ กลยุทธิ์การทำงานจะเน้นการสร้างข่ายงานอนุรักษ์ ส่งเสริมการพัฒนาอย่างยั่งยืน ปกป้องชาติพันธุ์สำคัญที่เสี่ยงต่อการสูญพันธุ์ ลดการบริโภคทรัพยากรอย่างฟุ่มเฟือย และปลูกฝังจิตสำนึกในการอนุรักษ์ธรรมชาติสู่มวลมนุษย์ชาติ พ.ร.บ.สงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ.2535 ในมาตรา4 ให้คำนิยามของสัตว์ป่าไว้ชัดเจนว่าหมายถึง สัตว์ทุกชนิดไม่ว่าสัตว์บก สัตว์น้ำ สัตว์ปีก แมลงหรือแมง (มีต่อ)Summary: ซึ่งโดยสภาพธรรมชาติย่อมเกิดและดำรงชีพอยู่ในป่าหรือในน้ำและให้หมายความรวมถึงไข่ของสัตว์ป่าเหล่านั้นทุกชนิดด้วย แต่ไม่หมายความรวมถึงสัตว์พาหนะที่ได้จดทะเบียนทำตั๋วรูปพรรณตามกฎหมายว่าด้วยสัตว์พาหนะแล้ว และสัตว์พาหนะที่ได้มาจากการสืบพันธุ์ของสัตว์พาหนะดังกล่าว นอกจากนี้ มาตรา 19 ของ พ.ร.บ. กล่าวว่า ห้ามมิให้ผู้ใดมีใช้ในครอบครองซึ่งสัตว์ป่าสงวน สัตว์ป่าคุ้มครองซากของสัตว์ป่าสงวน หรือซากของสัตว์ป่าคุ้มครอง (มีต่อ)Summary: เว้นแต่จะเป็นสัตว์ป่าคุ้มครองชนิดที่กำหนดตามมาตรา17 ที่ได้มาจากการเพาะพันธุ์หรือซากของสัตว์ป่าดังกล่าว และโดยต้องได้รับอนุญาตจากอธิบดีและต้องปฏิบัติตามข้อกำหนดในกฎกระทรวงและเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในใบอนุญาต และได้กำหนดผู้ที่ฝ่าฝืนมาตรา 19 ว่า ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสี่ปี หรือปรับไม่เกินสี่หมืนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
Star ratings
    Average rating: 0.0 (0 votes)
No physical items for this record

WWF-World Wide Fund for Nature เป็นองค์กรเอกชนระหว่างประเทศที่ทำงานด้านการอนุรักษ์ของโลก ปัจจุบันมีโครงการกว่า 11,000 โครงการ ใน 130ประเทศ มีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ที่ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ซึ่ง WWF- Thailand ก็เป็นหนึงในสาขาของ WWF โลกที่รับผิดชอบในส่วนของพื้นที่ประเทศไทย ตลอดจนภูมิภาคแถบนี้ เป้าหมายหลักของ WWF คือ ต้องการหยุดยั้งการทำลายความหลากหลายทางชีวภาพของโลก โดยเน้นการอนุรักษ์ป่าไม้ แหล่งน้ำจืด ชายฝั่งทะเลและมหาสมุทร (มีต่อ)

รวมถึงการฟื้นฟูสภาพแวดล้อมต่างๆ ที่ถูกทำลายให้ดีขึน เพื่อสร้างอนาคตที่ดีแก่มวลมนุษย์ กลยุทธิ์การทำงานจะเน้นการสร้างข่ายงานอนุรักษ์ ส่งเสริมการพัฒนาอย่างยั่งยืน ปกป้องชาติพันธุ์สำคัญที่เสี่ยงต่อการสูญพันธุ์ ลดการบริโภคทรัพยากรอย่างฟุ่มเฟือย และปลูกฝังจิตสำนึกในการอนุรักษ์ธรรมชาติสู่มวลมนุษย์ชาติ พ.ร.บ.สงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ.2535 ในมาตรา4 ให้คำนิยามของสัตว์ป่าไว้ชัดเจนว่าหมายถึง สัตว์ทุกชนิดไม่ว่าสัตว์บก สัตว์น้ำ สัตว์ปีก แมลงหรือแมง (มีต่อ)

ซึ่งโดยสภาพธรรมชาติย่อมเกิดและดำรงชีพอยู่ในป่าหรือในน้ำและให้หมายความรวมถึงไข่ของสัตว์ป่าเหล่านั้นทุกชนิดด้วย แต่ไม่หมายความรวมถึงสัตว์พาหนะที่ได้จดทะเบียนทำตั๋วรูปพรรณตามกฎหมายว่าด้วยสัตว์พาหนะแล้ว และสัตว์พาหนะที่ได้มาจากการสืบพันธุ์ของสัตว์พาหนะดังกล่าว นอกจากนี้ มาตรา 19 ของ พ.ร.บ. กล่าวว่า ห้ามมิให้ผู้ใดมีใช้ในครอบครองซึ่งสัตว์ป่าสงวน สัตว์ป่าคุ้มครองซากของสัตว์ป่าสงวน หรือซากของสัตว์ป่าคุ้มครอง (มีต่อ)

เว้นแต่จะเป็นสัตว์ป่าคุ้มครองชนิดที่กำหนดตามมาตรา17 ที่ได้มาจากการเพาะพันธุ์หรือซากของสัตว์ป่าดังกล่าว และโดยต้องได้รับอนุญาตจากอธิบดีและต้องปฏิบัติตามข้อกำหนดในกฎกระทรวงและเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในใบอนุญาต และได้กำหนดผู้ที่ฝ่าฝืนมาตรา 19 ว่า ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสี่ปี หรือปรับไม่เกินสี่หมืนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ