Child Centered : ความเข้าใจผิดที่ต้องคิดทบทวน / ธเนศ ขำเกิด

By: ธเนศ ขำเกิดCall Number: INDEX Material type: ArticleArticleSubject(s): SCI-TECH | การศึกษา In: ส่งเสริมเทคโนโลยี ปีที่ 28 ฉบับที่ 157 (มิถุนายน - กรกฎาคม 2544) หน้า 162-163Summary: จากการวิเคราะห์เรื่องนี้พบว่า Child contered ไม่ใช่วิธีสอนหรือวิธีการ แต่เป็นหลักการจัดการศึกษาที่ผู้บริหาร ครู อาจารย์ แต่ละคนตระหนักในหลักการที่ว่าจะทำอย่างไรให้นักเรียนทุกคนได้รับประโยชน์สูงสุด โดยได้รับสิทธิและโอกาสเสมอกัน ไม่ว่าจะเป็นเด็กทั่วไป เด็กเก่ง เด็กพิการ หรือเด็กด้อยโอกาส เหตุนี้พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 จึงไม่ใช่คำว่า การสอนที่เน้นนักเรียน เป็นศูนย์กลางแต่ใช้คำว่า ผู้เรียนมีความสำคัญที่สุด (มีต่อ)Summary: พ.ศ. 2521 กระทรวงศึกษาธิการได้กำหนดแนวความคิดไว้ในหลักสูตรประถมศึกษา มัธยมศึกษา โดยเน้นเรื่องการการสอนแบบบูรณาการ การส่งเสริมกระบวนการคิดและการคิดอย่างเป็นระบบ พ.ศ. 2533 กระทรวงศึกษาธิการปรับปรุงหลักสูตร โดยเน้นเรื่องทักษะกระบวนการและการสอนที่ให้นักเรียนสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง ดังนั้นพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 (มีต่อ)Summary: จึงมีข้อกำหนดเพื่อแก้ปัญหาเหล่านี้ โดยกำหนดว่าผู้เรียนทุกคนมีความสามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้ และถือว่าผู้เรียนมีความสำคัญที่สุดและกำหนดให้มีการจัดทำหลักสูตร การศึกษาขั้นพื้นฐานกำหนดระบบการบริหารและการจัดการศึกษาที่มุ่งกระจายอำนาจการจัดการศึกษาแก่สถานศึกษาอย่างเต็มที่ โดยมีมาตรฐานและระบบประกันคุณภาพและภายนอกสถานศึกษาเป็นระบบควบคุมและตรวจสอบคุณภาพการศึกษาอย่างต่อเนื่อง (มีต่อ)Summary: จากหลักการของ Child Centered มีประโยชน์อยู่ 2 ข้อ คือ 1.ได้เห็นนักเรียนทุกคนได้พัฒนาขึ้นตามศักยภาพของเขา 2.ได้เห็นนักเรียนเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมในทางที่ดีขึ้น เช่น มีความสนใจใฝ่รู้ช่างคิด ช่างถาม ฯลฯ เนื่องจาก Child Centered ไม่ใช่วิธีการครูก็ต้องใช้วิธีการที่หลากหลายและเหมาะสมกับจุดประสงค์เนื้อหา สื่อการสอนเป็นสิ่งที่ดี แต่ครูก็ต้องเลือกใช้ให้เหมาะสมและคุ้มค่า โดยไม่ยึดติดกับความทันสมัยของสื่อ การวัดและประเมินผลเช่นกันก็ต้องประเมินตามสภาพจริง การจัดการเรียนการสอนที่ยึดนักเรียนเป็นศูนย์กลางนั้น ครูต้องวางแผนและดำเนินการให้ครบวงจร ต้องใช้หลักวิชา และครูต้องมีความรู้ ความสามารถสูง โดยใช้ปรัชญาและจิตวิทยาการศึกษา ต้องหมั่นปรับปรุงพัฒนาการจัดการเรียนการสอนอยู่เสมอ
Star ratings
    Average rating: 0.0 (0 votes)
No physical items for this record

จากการวิเคราะห์เรื่องนี้พบว่า Child contered ไม่ใช่วิธีสอนหรือวิธีการ แต่เป็นหลักการจัดการศึกษาที่ผู้บริหาร ครู อาจารย์ แต่ละคนตระหนักในหลักการที่ว่าจะทำอย่างไรให้นักเรียนทุกคนได้รับประโยชน์สูงสุด โดยได้รับสิทธิและโอกาสเสมอกัน ไม่ว่าจะเป็นเด็กทั่วไป เด็กเก่ง เด็กพิการ หรือเด็กด้อยโอกาส เหตุนี้พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 จึงไม่ใช่คำว่า การสอนที่เน้นนักเรียน เป็นศูนย์กลางแต่ใช้คำว่า ผู้เรียนมีความสำคัญที่สุด (มีต่อ)

พ.ศ. 2521 กระทรวงศึกษาธิการได้กำหนดแนวความคิดไว้ในหลักสูตรประถมศึกษา มัธยมศึกษา โดยเน้นเรื่องการการสอนแบบบูรณาการ การส่งเสริมกระบวนการคิดและการคิดอย่างเป็นระบบ พ.ศ. 2533 กระทรวงศึกษาธิการปรับปรุงหลักสูตร โดยเน้นเรื่องทักษะกระบวนการและการสอนที่ให้นักเรียนสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง ดังนั้นพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 (มีต่อ)

จึงมีข้อกำหนดเพื่อแก้ปัญหาเหล่านี้ โดยกำหนดว่าผู้เรียนทุกคนมีความสามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้ และถือว่าผู้เรียนมีความสำคัญที่สุดและกำหนดให้มีการจัดทำหลักสูตร การศึกษาขั้นพื้นฐานกำหนดระบบการบริหารและการจัดการศึกษาที่มุ่งกระจายอำนาจการจัดการศึกษาแก่สถานศึกษาอย่างเต็มที่ โดยมีมาตรฐานและระบบประกันคุณภาพและภายนอกสถานศึกษาเป็นระบบควบคุมและตรวจสอบคุณภาพการศึกษาอย่างต่อเนื่อง (มีต่อ)

จากหลักการของ Child Centered มีประโยชน์อยู่ 2 ข้อ คือ 1.ได้เห็นนักเรียนทุกคนได้พัฒนาขึ้นตามศักยภาพของเขา 2.ได้เห็นนักเรียนเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมในทางที่ดีขึ้น เช่น มีความสนใจใฝ่รู้ช่างคิด ช่างถาม ฯลฯ เนื่องจาก Child Centered ไม่ใช่วิธีการครูก็ต้องใช้วิธีการที่หลากหลายและเหมาะสมกับจุดประสงค์เนื้อหา สื่อการสอนเป็นสิ่งที่ดี แต่ครูก็ต้องเลือกใช้ให้เหมาะสมและคุ้มค่า โดยไม่ยึดติดกับความทันสมัยของสื่อ การวัดและประเมินผลเช่นกันก็ต้องประเมินตามสภาพจริง การจัดการเรียนการสอนที่ยึดนักเรียนเป็นศูนย์กลางนั้น ครูต้องวางแผนและดำเนินการให้ครบวงจร ต้องใช้หลักวิชา และครูต้องมีความรู้ ความสามารถสูง โดยใช้ปรัชญาและจิตวิทยาการศึกษา ต้องหมั่นปรับปรุงพัฒนาการจัดการเรียนการสอนอยู่เสมอ