ระบบบำบัดน้ำเสียที่เหมาะกับเมืองไทย / มั่นสิน ตัณฑุลเวศม์

By: มั่นสิน ตัณฑุลเวศม์Call Number: INDEX Material type: ArticleArticleSubject(s): มลพิษทางน้ำ -- การบำบัด | SCI-TECH In: ส่งเสริมเทคโนโลยี ปีที่ 28 ฉบับที่ 157 (มิถุนายน - กรกฎาคม 2544) หน้า 49-51Summary: ประวัติการพัฒนาระบบน้ำเสียในประเทศไทย เริ่มต้นขึ้นเมื่อเกิดปัญหาแม่น้ำแม่กลองเน่าเสียระหว่างปี2512-2516 มีการตั้งโรงงานน้ำตาลและโรงงานประเภทอื่นๆ ปล่อยน้ำเสียลงสู่แม่น้ำแม่กลอง ก่อความเดือดร้อนแก่ราษฎรตามริมน้ำ ซึ่งใช้น้ำเพื่อการอุปโภคบริโภค รวมทั้งเพื่อกิจกรรมอื่นๆ จนทำให้กระทรวงอุตสาหกรรม เริ่มบังคับให้โรงงานอุตสาหกรรมก่อสร้างระบบบำบัดน้ำเสีย จึงได้เริ่มขึ้นในปี 2515-2516 นี้เอง (มีต่อ)Summary: การพัฒนาเทคโนโลยีบำบัดน้ำเสียอุตสาหกรรมมาแล้ว 3 ยุค คือ 1.ยุคกำจัดสารอินทรีย์คาร์บอน 2.ยุคกำจัดไนโตรเจน-ฟอสฟอรัส 3.ยุคกำจัดสารมีพิษในน้ำใต้ดินและในดิน ปัจจุบันได้ก้าวเข้าสู่การพัฒนาเทคโนโลยีในยุคที่ 3 จากน้ำบนดินลงไปสู่น้ำใต้ดิน แนวโน้มการพัฒนาเทคโนโลยีบำบัดน้ำเสียในอนาคตระบบบำบัดน้ำเสียจะเข้าใจว่าวิธีบำบัดน้ำเสียโดยใช้กระบวนการทางชีวภาพ (มีต่อ)Summary: ซึ่งมีความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีที่ได้รับการพัฒนาไปสู่ระบบบำบัดน้ำเสียโดยใช้อากาศ หมายถึง การไม่ใช้ไฟฟ้าในระบบบำบัด ซึ่งช่วยประหยัดค่าไฟฟ้าให้แก่โรงงานได้เป็นจำนวนมาก โดยการใช้ระบบบ่อบำบัดน้ำเสียเป็นระบบที่ใช้พลังงานน้อยที่สุด และไม่ต้องมีการควบคุมใกล้ชิดและพิถีพิถัน ข้อเสียของระบบบ่อเติมอากาศ คือเป็นระบบที่ได้รับการยอมรับว่าได้ผลดีและเป็นที่คุ้นเคย (มีต่อ)Summary: ปัจจุบันได้มีการพัฒนาเทคโนโลยีระบบบำบัดน้ำเสียที่ก้าวหน้าที่สุดคือ การนำระบบกรองน้ำทะเลให้เป็นน้ำจืด เทคโนโลยีบำบัดน้ำเสียที่เหมาะสมกับประเทศไทย คือ ระบบบ่อบำบัดน้ำเสีย (waste stabilizationponds) เพราะเป็นระบบที่ง่ายใช้ไฟน้อย ข้อสำคัญคือประเทศไทยเป็นเมืองร้อนทำให้แบคทีเรียเจริญเติบโตได้ดีกว่าเมืองหนาว โรงงานอุตสาหกรรมควรจัดตั้งแผนกบำบัดน้ำเสีย เพื่อบำรุงรักษาดูแลระบบบำบัดน้ำเสีย เพื่อดูแลระบบน้ำประปาและระบบบำบัดน้ำเสียซึ่งทำงานเกี่ยวเนื่องกัน
Star ratings
    Average rating: 0.0 (0 votes)
No physical items for this record

ประวัติการพัฒนาระบบน้ำเสียในประเทศไทย เริ่มต้นขึ้นเมื่อเกิดปัญหาแม่น้ำแม่กลองเน่าเสียระหว่างปี2512-2516 มีการตั้งโรงงานน้ำตาลและโรงงานประเภทอื่นๆ ปล่อยน้ำเสียลงสู่แม่น้ำแม่กลอง ก่อความเดือดร้อนแก่ราษฎรตามริมน้ำ ซึ่งใช้น้ำเพื่อการอุปโภคบริโภค รวมทั้งเพื่อกิจกรรมอื่นๆ จนทำให้กระทรวงอุตสาหกรรม เริ่มบังคับให้โรงงานอุตสาหกรรมก่อสร้างระบบบำบัดน้ำเสีย จึงได้เริ่มขึ้นในปี 2515-2516 นี้เอง (มีต่อ)

การพัฒนาเทคโนโลยีบำบัดน้ำเสียอุตสาหกรรมมาแล้ว 3 ยุค คือ 1.ยุคกำจัดสารอินทรีย์คาร์บอน 2.ยุคกำจัดไนโตรเจน-ฟอสฟอรัส 3.ยุคกำจัดสารมีพิษในน้ำใต้ดินและในดิน ปัจจุบันได้ก้าวเข้าสู่การพัฒนาเทคโนโลยีในยุคที่ 3 จากน้ำบนดินลงไปสู่น้ำใต้ดิน แนวโน้มการพัฒนาเทคโนโลยีบำบัดน้ำเสียในอนาคตระบบบำบัดน้ำเสียจะเข้าใจว่าวิธีบำบัดน้ำเสียโดยใช้กระบวนการทางชีวภาพ (มีต่อ)

ซึ่งมีความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีที่ได้รับการพัฒนาไปสู่ระบบบำบัดน้ำเสียโดยใช้อากาศ หมายถึง การไม่ใช้ไฟฟ้าในระบบบำบัด ซึ่งช่วยประหยัดค่าไฟฟ้าให้แก่โรงงานได้เป็นจำนวนมาก โดยการใช้ระบบบ่อบำบัดน้ำเสียเป็นระบบที่ใช้พลังงานน้อยที่สุด และไม่ต้องมีการควบคุมใกล้ชิดและพิถีพิถัน ข้อเสียของระบบบ่อเติมอากาศ คือเป็นระบบที่ได้รับการยอมรับว่าได้ผลดีและเป็นที่คุ้นเคย (มีต่อ)

ปัจจุบันได้มีการพัฒนาเทคโนโลยีระบบบำบัดน้ำเสียที่ก้าวหน้าที่สุดคือ การนำระบบกรองน้ำทะเลให้เป็นน้ำจืด เทคโนโลยีบำบัดน้ำเสียที่เหมาะสมกับประเทศไทย คือ ระบบบ่อบำบัดน้ำเสีย (waste stabilizationponds) เพราะเป็นระบบที่ง่ายใช้ไฟน้อย ข้อสำคัญคือประเทศไทยเป็นเมืองร้อนทำให้แบคทีเรียเจริญเติบโตได้ดีกว่าเมืองหนาว โรงงานอุตสาหกรรมควรจัดตั้งแผนกบำบัดน้ำเสีย เพื่อบำรุงรักษาดูแลระบบบำบัดน้ำเสีย เพื่อดูแลระบบน้ำประปาและระบบบำบัดน้ำเสียซึ่งทำงานเกี่ยวเนื่องกัน