การใช้ปั้มความร้อนในการนำความร้อนทิ้งกลับคืนมาใช้ประโยชน์ / ทนงเกียรติ เกียรติศิริโรจน์

By: ทนงเกียรติ เกียรติศิริโรจน์Call Number: INDEX Material type: ArticleArticleSubject(s): SCI-TECH | การนำความร้อน In: โลกพลังงาน ปีที่ 3 ฉบับที่ 7 (เมษายน-มิถุนายน 2543) หน้า 9-13Summary: ปั้มความร้อนเป็นอุปกรณ์ ที่ใช้ในการดึงความร้อนจากแหล่งความร้อนอุณหภูมิต่ำมาจ่ายให้แก่แหล่งความร้อนที่อุณหภูมิสูง ระบบปั้มความร้อนที่ใช้กันมากที่สุดจะเป็นแบบระบบอัดไอ อุปกรณ์หลักของระบบปั้มความร้อนแบบอัดไอประกอบด้วยอุปกรณ์อัดไอ (Compressor) คอยล์ร้อน (Condenser) คอยล์เย็น (Evaporator) และวาล์วลดความดัน (Expansion Value) ในวงจรการทำงาน จะมีสารที่ระเหยง่าย รับความร้อนในคอยล์เย็นเดือดกลายเป็น ไอที่อุณหภูมิต่ำ (มีต่อ)Summary: ไอที่ได้ได้จะถูกอัดตัว โดยอุปกรณ์อัดไอและไปควบแน่น ในคอยล์ร้อนที่อุณหภูมิสูงจนกลายเป็นของเหลว จากนั้นจะลดความดันอย่างรวดเร็วผ่านวาล์วลดความดันจนมีอุณหภูมิต่ำมารับความร้อนที่คอยล์เย็นอีก ปั้มความร้อนเป็นอุปกรณ์ที่มีศักยภาพสูง ในการนำความร้อนทิ้ง กลับคืนมาใช้ประโยชน์ ซึ่งช่วยลดการใช้พลังงานหลักลงได้ แต่อย่างไรก็ตามแบบดังกล่าวมีข้อด้อย คือ ต้นทุนมีราคาสูง และผู้ดูแลต้องเป็นผู้ที่ต้องได้รับการฝึกฝนมาอย่างดี นอกจากนี้การทำงานที่อุณหภูมิสูงมากๆ จะมีปัญหากับการเลือกสารทำงาน ดังนั้น ผู้ที่ต้องการจะนำปั้มความร้อนมาใช้ประโยชน์ จะต้องคำนึงถึงช่วงอุณหภูมิที่ใช้งานและความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์ประกอบด้วย
Star ratings
    Average rating: 0.0 (0 votes)
No physical items for this record

ปั้มความร้อนเป็นอุปกรณ์ ที่ใช้ในการดึงความร้อนจากแหล่งความร้อนอุณหภูมิต่ำมาจ่ายให้แก่แหล่งความร้อนที่อุณหภูมิสูง ระบบปั้มความร้อนที่ใช้กันมากที่สุดจะเป็นแบบระบบอัดไอ อุปกรณ์หลักของระบบปั้มความร้อนแบบอัดไอประกอบด้วยอุปกรณ์อัดไอ (Compressor) คอยล์ร้อน (Condenser) คอยล์เย็น (Evaporator) และวาล์วลดความดัน (Expansion Value) ในวงจรการทำงาน จะมีสารที่ระเหยง่าย รับความร้อนในคอยล์เย็นเดือดกลายเป็น ไอที่อุณหภูมิต่ำ (มีต่อ)

ไอที่ได้ได้จะถูกอัดตัว โดยอุปกรณ์อัดไอและไปควบแน่น ในคอยล์ร้อนที่อุณหภูมิสูงจนกลายเป็นของเหลว จากนั้นจะลดความดันอย่างรวดเร็วผ่านวาล์วลดความดันจนมีอุณหภูมิต่ำมารับความร้อนที่คอยล์เย็นอีก ปั้มความร้อนเป็นอุปกรณ์ที่มีศักยภาพสูง ในการนำความร้อนทิ้ง กลับคืนมาใช้ประโยชน์ ซึ่งช่วยลดการใช้พลังงานหลักลงได้ แต่อย่างไรก็ตามแบบดังกล่าวมีข้อด้อย คือ ต้นทุนมีราคาสูง และผู้ดูแลต้องเป็นผู้ที่ต้องได้รับการฝึกฝนมาอย่างดี นอกจากนี้การทำงานที่อุณหภูมิสูงมากๆ จะมีปัญหากับการเลือกสารทำงาน ดังนั้น ผู้ที่ต้องการจะนำปั้มความร้อนมาใช้ประโยชน์ จะต้องคำนึงถึงช่วงอุณหภูมิที่ใช้งานและความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์ประกอบด้วย

Share