กฟน. ใช้ GIS วางผังสาธารณูปโภครับปี 2000 / จุฑาทิพย์ ปาละ

By: จุฑาทิพย์ ปาละCall Number: INDEX Material type: ArticleArticleSubject(s): SCI-TECH | ผังเมือง | การไฟฟ้านครหลวง In: วิศวกรรมสาร ปีที่ 52 เล่มที่ 10 (ตุลาคม 2542) หน้า 48-51Summary: ความไม่ละเอียดพอของแผนที่และความล้าสมัยของข้อมูลแผนที่ในเขตเมืองหลวงหรือกรุงเทพฯ เป็นปัญหาในการพัฒนาสาธารณูปโภคในพื้นที่ดังกล่าว เนื่องจากเขตพื้นที่นั้น ๆ มีการขยายตัวรวดเร็ว การเติบโตของชุมชนเมืองรวมถึงความแออัด ส่งผลให้รูปแบบแผนที่เอกสารเดิมที่ขึ้นด้วยมือ ทั้งการเขียนแผนที่บ้านที่อยู่อาศัยในการขอใช้ไฟฟ้าในครั้งแรก และแผนที่เพื่อใช้ในการวางสาธารณูปโภคอื่น ๆ อัพเดทไม่ทันกับการขยายตัวจริงของชุมชน จึงเป็นสิ่งสำคัญที่ทำให้เกิดปัญหาในการพัฒนาพื้นที่ในเขตเมือง (มีต่อ)Summary: เหตุนี้จึงทำให้ กฟน. ต้องนำระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ที่ใช้ระบบคอมพิวเตอร์ในการจัดการกับข้อมูล (GIS) ส่วนใหญ่ใช้ในงานแผนที่ภูมิศาสตร์ประเภทต่าง ๆ ที่ต้องการแสดงหรืออ้างอิงข้อมูล ประกอบด้วย ข้อมูลสองประเภทคือ ข้อมูล ตัวเลข ตัวอักษร และข้อมูลเชิงพื้นที่ สำหรับข้อมูลต่าง ๆ เหล่านี้จะถูกบันทึกและมีการวิเคราะห์ ออกแบบ และแสดงผลหน้าจอคอมพิวเตอร์ จึงทำให้นำระบบ GIS นี้มาใช้ในการจ่ายไฟฟ้าและบริการไฟฟ้าทั้งหมด (มีต่อ)Summary: ระบบ GIS เป็นงานใหม่ต้องระดมบุคลากรทำข้อมูลพื้นฐานจำนวนมาก และการใช้งาน GIS เป็นทักษะเฉพาะที่ต้องมีการอบรม เรียนรู้ ต้องใช้เวลาอบรมกว่า 6 เดือนเป็นอย่างน้อย ในอนาคตอาจจะมีหน่วยงานอื่นร่วมขอใช้ข้อมูลแผนที่เพิ่มมากขึ้น เช่น กรมสรรพากร ทศท. กรมการปกครอง เป็นต้น เพราะสามารถนำเอาแผนที่ฐานไปใช้ร่วมกันในเขตพื้นที่ได้ เพราะจะทราบถึงตำแหน่งอุปกรณ์ที่อยู่บนดิน ใต้ดินล่วงหน้า สะดวกในการวางแผนงานปฏิบัติงงานก่อนทำการขุดเจาะถนน ทำให้สามารถแก้ปัญหาได้ทันต่อเหตุการณ์ ส่งผลให้การวางแผนขยายระบบสาธารณูปโภคต่าง ๆ มีเอกภาพมากขึ้น มุ่งสู่การพัฒนา เทคโนโลยีสารสนเทศภูมิศาสตร์รองรับสาธารณูปโภคในปี 2000
Star ratings
    Average rating: 0.0 (0 votes)
No physical items for this record

ความไม่ละเอียดพอของแผนที่และความล้าสมัยของข้อมูลแผนที่ในเขตเมืองหลวงหรือกรุงเทพฯ เป็นปัญหาในการพัฒนาสาธารณูปโภคในพื้นที่ดังกล่าว เนื่องจากเขตพื้นที่นั้น ๆ มีการขยายตัวรวดเร็ว การเติบโตของชุมชนเมืองรวมถึงความแออัด ส่งผลให้รูปแบบแผนที่เอกสารเดิมที่ขึ้นด้วยมือ ทั้งการเขียนแผนที่บ้านที่อยู่อาศัยในการขอใช้ไฟฟ้าในครั้งแรก และแผนที่เพื่อใช้ในการวางสาธารณูปโภคอื่น ๆ อัพเดทไม่ทันกับการขยายตัวจริงของชุมชน จึงเป็นสิ่งสำคัญที่ทำให้เกิดปัญหาในการพัฒนาพื้นที่ในเขตเมือง (มีต่อ)

เหตุนี้จึงทำให้ กฟน. ต้องนำระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ที่ใช้ระบบคอมพิวเตอร์ในการจัดการกับข้อมูล (GIS) ส่วนใหญ่ใช้ในงานแผนที่ภูมิศาสตร์ประเภทต่าง ๆ ที่ต้องการแสดงหรืออ้างอิงข้อมูล ประกอบด้วย ข้อมูลสองประเภทคือ ข้อมูล ตัวเลข ตัวอักษร และข้อมูลเชิงพื้นที่ สำหรับข้อมูลต่าง ๆ เหล่านี้จะถูกบันทึกและมีการวิเคราะห์ ออกแบบ และแสดงผลหน้าจอคอมพิวเตอร์ จึงทำให้นำระบบ GIS นี้มาใช้ในการจ่ายไฟฟ้าและบริการไฟฟ้าทั้งหมด (มีต่อ)

ระบบ GIS เป็นงานใหม่ต้องระดมบุคลากรทำข้อมูลพื้นฐานจำนวนมาก และการใช้งาน GIS เป็นทักษะเฉพาะที่ต้องมีการอบรม เรียนรู้ ต้องใช้เวลาอบรมกว่า 6 เดือนเป็นอย่างน้อย ในอนาคตอาจจะมีหน่วยงานอื่นร่วมขอใช้ข้อมูลแผนที่เพิ่มมากขึ้น เช่น กรมสรรพากร ทศท. กรมการปกครอง เป็นต้น เพราะสามารถนำเอาแผนที่ฐานไปใช้ร่วมกันในเขตพื้นที่ได้ เพราะจะทราบถึงตำแหน่งอุปกรณ์ที่อยู่บนดิน ใต้ดินล่วงหน้า สะดวกในการวางแผนงานปฏิบัติงงานก่อนทำการขุดเจาะถนน ทำให้สามารถแก้ปัญหาได้ทันต่อเหตุการณ์ ส่งผลให้การวางแผนขยายระบบสาธารณูปโภคต่าง ๆ มีเอกภาพมากขึ้น มุ่งสู่การพัฒนา เทคโนโลยีสารสนเทศภูมิศาสตร์รองรับสาธารณูปโภคในปี 2000