ด้วยน้ำพระราชหฤทัยและพระอัจฉริยภาพ / ชูมานน์

By: ชูมานน์Call Number: INDEX Material type: ArticleArticleSubject(s): น้ำ | โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ | คุณภาพน้ำ | SCI-TECH In: โลกใบใหม่ ปีที่ 10 ฉบับที่ 117 (มิถุนายน 2542) หน้า 23-24Summary: จากปัญหาแม่น้ำปากพนังซึ่งเป็นเส้นเลือดใหญ่ของพื้นที่ลุ่มปากน้ำพนัง 1.9 ล้านไร่ ประสบวิกฤตสิ่งแวดล้อมอย่างรุนแรง ปัจจุบันมีน้ำจีดเพียงปีละ 3 เดือนเท่านั้น จากเดิมปีหนึ่งๆ จะมีน้ำจืดถึง 9 เดือน โดยเฉพาะช่วงเดือนมีนาคม-เมษายน น้ำจะเค็มมากที่สุด น้ำเค็มเป็นปัญหาหลักของแม่น้ำปากพนัง นอกจากนี้พื้นที่ประมาณ 2 แสนไร่ เป็นป่าพรุควนเคร็ง ซึ่งมีน้ำท่วมขังตลอดปีและมีสภาพเป็นดินกรดและน้ำเปรี้ยว ไม่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ทางการเกษตรได้ เนื่องจากปัญหาดังกล่าวพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานพระราชดำริเกี่ยวกับโครงการพัฒนาพื้นที่ลุ่มน้ำปากพนัง ซึ่งมีแนวทางแก้ไขคือ ขุดคลองระบายน้ำพร้อมอาคารประกอบบริเวณหน้าประตูระบายน้ำปากพนัง ขุดลอกคลองท่าพญาพร้อมก่อสร้างประตูระบายน้ำ ขุดลอกและขยายคลองบ้านกลางคลอกปากพนัง คลองหน้าโกฏิพร้อมก่อสร้างประตูระบายน้ำ พิจารณากำหนดแนวเขตแน่นอนเพื่อแยกพื้นที่เกษตรน้ำจืด (นาข้าว) และเกษตรน้ำเค็ม (นากุ้ง) โดยใช้บริเวณฝั่งตะวันออกของคลองปากพนังหรือคลองหัวไทรเป็นพื้นที่รับน้ำเค็ม จัดตั้งศูนย์ศึกษาเฉพาะกิจที่บริเวณประตูระบายน้ำหน้าโกฏิเพื่อศึกษาวิจัยการประมงแบบครบวงจร วางโครงการก่อสร้างอ่างเก็บน้ำหรือฝายกั้นน้ำด้านตะวันตกของลุ่มแม่น้ำปากพนัง และจัดระบบการระบายน้ำเสียจากนากุ้งและน้ำเปรี้ยวจากพรุ รวมทั้งระบบบำบัดน้ำเสียจากชุมชน (มีต่อ)Summary: ลักษณะโครงการนี้จะมีประตูระบายน้ำปากพนังที่บ้านบางปี้ ตำบลหูล่อง อำเภอปากพนัง โดยระดับเก็บกักน้ำต่ำสุด -0.3 เมตร (รทก.) สูงสุด +0.3 เมตร (รทก.) ประกอบด้วยประตูระบายน้ำ คลองลัด ทำนบปิดกั้นลำน้ำเดิม ถนนเข้าหัวงาน คลองระบายน้ำบางปี้ บันไดปลาโจนทางปลาลอดสำหรับสัตว์น้ำ (กุ้งก้ามกราม) ที่ใช้บันไดปลาโจนไม่ได้ และประตูเรือสัญจร มีคลองระบายน้ำ 4 แห่ง คือ คลองชะอวด-แพรกเมือง คลองบ่อคณฑี คลองบางโค-ท่าพญา และคลองฉุกเฉิน ต้นแบ่งเขตพื้นที่เกษตรกรน้ำจืดและเกษตรน้ำเค็มด้านตะวันออก เลียบชายฝั่งทะเลและด้านตะวันออกเฉียงเหนือของอ่าวปากพนัง ระยะทางประมาณ 51 กิโลเมตร และ 40 กิโลเมตร ตามลำดับ มีการปรับปรุงระบบการส่งน้ำและบำรุงรักษาปากพนังพื้นที่ประมาณ 4.8 แสนไร่ ส่วนการพัฒนาการเกษตรมีการปรับปรุงการผลิตข้าวให้สูงทั้งปริมาณและคุณภาพ ส่งเสริมการเกษตรผสมผสานเพื่อการพัฒนาการเกษตรระบบยั่งยืน การกำหนดพื้นที่ทำนากุ้งชัดเจนและพัฒนาระบบการเลี้ยงกุ้ง พร้อมกับฟื้นฟูสภาพแวดล้อมที่เสื่อมโทรมให้ดีขึ้นและพัฒนาองค์กรการจัดการของเกษตรกร ปัจจุบันประตูระบายน้ำปากพนังคืบหน้ากว่า 90% แล้ว คาดว่าจะแล้วเสร็จและเปิดใช้ได้ประมาณตุลาคมนี้
Star ratings
    Average rating: 0.0 (0 votes)
No physical items for this record

จากปัญหาแม่น้ำปากพนังซึ่งเป็นเส้นเลือดใหญ่ของพื้นที่ลุ่มปากน้ำพนัง 1.9 ล้านไร่ ประสบวิกฤตสิ่งแวดล้อมอย่างรุนแรง ปัจจุบันมีน้ำจีดเพียงปีละ 3 เดือนเท่านั้น จากเดิมปีหนึ่งๆ จะมีน้ำจืดถึง 9 เดือน โดยเฉพาะช่วงเดือนมีนาคม-เมษายน น้ำจะเค็มมากที่สุด น้ำเค็มเป็นปัญหาหลักของแม่น้ำปากพนัง นอกจากนี้พื้นที่ประมาณ 2 แสนไร่ เป็นป่าพรุควนเคร็ง ซึ่งมีน้ำท่วมขังตลอดปีและมีสภาพเป็นดินกรดและน้ำเปรี้ยว ไม่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ทางการเกษตรได้ เนื่องจากปัญหาดังกล่าวพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานพระราชดำริเกี่ยวกับโครงการพัฒนาพื้นที่ลุ่มน้ำปากพนัง ซึ่งมีแนวทางแก้ไขคือ ขุดคลองระบายน้ำพร้อมอาคารประกอบบริเวณหน้าประตูระบายน้ำปากพนัง ขุดลอกคลองท่าพญาพร้อมก่อสร้างประตูระบายน้ำ ขุดลอกและขยายคลองบ้านกลางคลอกปากพนัง คลองหน้าโกฏิพร้อมก่อสร้างประตูระบายน้ำ พิจารณากำหนดแนวเขตแน่นอนเพื่อแยกพื้นที่เกษตรน้ำจืด (นาข้าว) และเกษตรน้ำเค็ม (นากุ้ง) โดยใช้บริเวณฝั่งตะวันออกของคลองปากพนังหรือคลองหัวไทรเป็นพื้นที่รับน้ำเค็ม จัดตั้งศูนย์ศึกษาเฉพาะกิจที่บริเวณประตูระบายน้ำหน้าโกฏิเพื่อศึกษาวิจัยการประมงแบบครบวงจร วางโครงการก่อสร้างอ่างเก็บน้ำหรือฝายกั้นน้ำด้านตะวันตกของลุ่มแม่น้ำปากพนัง และจัดระบบการระบายน้ำเสียจากนากุ้งและน้ำเปรี้ยวจากพรุ รวมทั้งระบบบำบัดน้ำเสียจากชุมชน (มีต่อ)

ลักษณะโครงการนี้จะมีประตูระบายน้ำปากพนังที่บ้านบางปี้ ตำบลหูล่อง อำเภอปากพนัง โดยระดับเก็บกักน้ำต่ำสุด -0.3 เมตร (รทก.) สูงสุด +0.3 เมตร (รทก.) ประกอบด้วยประตูระบายน้ำ คลองลัด ทำนบปิดกั้นลำน้ำเดิม ถนนเข้าหัวงาน คลองระบายน้ำบางปี้ บันไดปลาโจนทางปลาลอดสำหรับสัตว์น้ำ (กุ้งก้ามกราม) ที่ใช้บันไดปลาโจนไม่ได้ และประตูเรือสัญจร มีคลองระบายน้ำ 4 แห่ง คือ คลองชะอวด-แพรกเมือง คลองบ่อคณฑี คลองบางโค-ท่าพญา และคลองฉุกเฉิน ต้นแบ่งเขตพื้นที่เกษตรกรน้ำจืดและเกษตรน้ำเค็มด้านตะวันออก เลียบชายฝั่งทะเลและด้านตะวันออกเฉียงเหนือของอ่าวปากพนัง ระยะทางประมาณ 51 กิโลเมตร และ 40 กิโลเมตร ตามลำดับ มีการปรับปรุงระบบการส่งน้ำและบำรุงรักษาปากพนังพื้นที่ประมาณ 4.8 แสนไร่ ส่วนการพัฒนาการเกษตรมีการปรับปรุงการผลิตข้าวให้สูงทั้งปริมาณและคุณภาพ ส่งเสริมการเกษตรผสมผสานเพื่อการพัฒนาการเกษตรระบบยั่งยืน การกำหนดพื้นที่ทำนากุ้งชัดเจนและพัฒนาระบบการเลี้ยงกุ้ง พร้อมกับฟื้นฟูสภาพแวดล้อมที่เสื่อมโทรมให้ดีขึ้นและพัฒนาองค์กรการจัดการของเกษตรกร ปัจจุบันประตูระบายน้ำปากพนังคืบหน้ากว่า 90% แล้ว คาดว่าจะแล้วเสร็จและเปิดใช้ได้ประมาณตุลาคมนี้