ข้าวกล้องเบอร์ 5 ชาวประชาร่วมใจประหยัดไฟฟ้า / อ้อย พันธเดช

By: อ้อย พันธเดชCall Number: INDEX Material type: ArticleArticleDescription: 60 - 64 หน้าSubject(s): การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย -- ข้าวกล้อง | โครงการข้าวกล้องเบอร์ 5 | ข้าวกล้อง | SCI-TECH In: ไฟฟ้าและอุตสาหกรรม ปีที่ 6 ฉบับที่ 4 (เมษายน 2542)Summary: การใช้ไฟฟ้าในประเทศไทยแบ่งออกเป็นการใช้ไฟฟ้าสำหรับผู้อยู่อาศัยอยู่อาศัยในครัวเรือน ภาคธุรกิจ และภาคอุตสาหกรรม การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยมีหน้าที่ในการแสวงหาพลังงานไฟฟ้า เตรียมความพร้อมในการผลิตไฟฟ้าให้เพียงพอต่อความต้องการของผู้บริโภค เพราะในอนาคตเมื่อเศรษฐกิจฟื้นตัวคาดว่าความต้องการใช้ไฟฟ้าต้องเพิ่มขึ้นอย่างแน่นอน ซึ่งการเตรียมความมพร้อมในการผลิตกระแสไฟฟ้านอกจากการบำรุงรักษาโรงไฟฟ้าเดิมที่อยู่แล้วให้มีสภาพที่ดีและผลิตไฟฟ้าได้ตามปกติยังต้องสร้างโรงไฟฟ้าเพิ่มขึ้นอีกด้วย แต่ถึงแม้จะสร้างเพิ่มขึ้นแต่ถ้าประชาชนยังใช้ไฟฟ้าอย่างฟุ่มเฟือยไม่มีการใช้อย่างก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด จำนวนโรงไฟฟ้าที่เพิ่มขึ้นก็คงไม่เพียงพอต่อการผลิตกระแสไฟฟ้า การผลิตไฟฟ้าเป็นอุตสาหกรรมนำเข้าอย่างหนึ่ง เนื่องจากต้องนำเข้าเทคโนโลยีการผลิตทั้งหมดจากต่างประเทศทำให้ประเทศไทยต้องสูญเสียเงินออกนอกประเทศเป็นจำนวนมาก ดังนั้นการประหยัดไฟฟ้าจึงเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่งโดยเฉพาะการดำเนินโครงการในด้านการประหยัดไฟฟ้าเท่ากับเป็นการลดการสร้างโรงไฟฟ้าลงหรือสร้างโรงไฟฟ้าเท่าที่จำเป็น กฟผ.จึงได้เริ่มโครงการประหยัดไฟฟ้า โดยการรณรงค์ให้ประหยัดการใช้ไฟฟ้าในภาคผู้อยู่อาศัยก่อนเป็นอันดับแรกด้วยการจัดทำโครงการหลอดผอมประหยัดไฟฟ้า ตู้เย็นเบอร์5 และเครื่องปรับอากาศเบอร์5 หลังจากนั้นก็ได้รณรงค์ในส่วนของภาคธุรกิจ (มีต่อ)Summary: ในระยะหลังจึงให้ความสำคัญต่อการใช้ไฟฟ้าอย่างประหยัดและมีประสิทธิภาพในภาคอุตสาหกรรมโดยเฉพาะอุตสาหกรรมการส่งออก ซึ่งอุตสาหกรรมประเภทหนึ่งที่มีความสำคัญเพราะมีการส่งออกและถือเป็นอุตสาหกรรมพื้นฐานของเมืองไทยคืออุตสาหกรรมโรงสีข้าว จากการสำรวจโรงสีข้าว กฟผ.ทั่วประเทศไทยพบว่าการประหยัดไฟฟ้าในโรงสีข้าวด้วยการเปลี่ยนจากการใช้มอเตอร์ธรรมดามาใช้มอเตอร์ประสิทธิภาพสูงสามารถประหยัดการใช้ไฟฟ้าได้เพียง 5%เท่านั้น เนื่องจากกระบวนการสีข้าวมีการกระเทาะและขัดสีข้าวทำให้มีการใช้พลังงานไฟฟ้ามาก ถ้าเปลี่ยนกระบวนการสีข้าวให้หยุดแค่ขั้นตอนการกระเทาะข้าวก็จะเป็นการช่วยประหยัดไฟฟ้าได้มาก ทุกวันนี้คนไทยรับประทานข้าวที่ผ่านการขัดสีถึง 3 ครั้ง ซึ่งข้าวเปลือกที่ผ่านการกระเทาะเปลือกเพียงครั้งเดียวแล้วได้ข้าวกล้องก็เพียงพอที่จะรับประทานได้แล้ว และที่สำคัญข้าวที่ผ่านแค่ขั้นตอนกระเทาะเปลือกเพียงครั้งเดียวมีจมูกข้าวและเยื่อหุ้มเมล็ดข้าวมีคุณค่าทางสารอาหารที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกาย โครงการข้าวกล้องเบอร์5 เป็นการดำเนินโครงการประหยัดไฟฟ้าที่ทำได้ยากที่สุด เพราะคนไทยบริโภคข้าวขัดสีมายาวนานถึงร้อยกว่าปีประกอบกับทัศนคติของคนไทยที่มีต่อการบริโภคข้าวกล้องเป็นไปในทางลบเพราะเกิดความรู้สึกว่าการบริโภคข้าวกล้องเป็นเรื่องของคนจน ส่วนอีกปัญหาหนึ่งคือข้าวกล้องมีราคาสูงกว่าข้าวขัดสีขาวจึงไม่มีคนนิยมรับประทานSummary: การจูงใจให้คนไทยหันมาบริโภคข้าวกล้องแทนข้าวขัดสีขาวจะช่วยทำให้โรงสีข้าวประหยัดไฟฟ้าได้มากถึง 60-70% เท่านั้นแต่โรงสีข้าวยังได้ประโยชน์จากการขายข้าวในราคาที่ดีขึ้นได้กำไรเพิ่มขึ้น ปัจจุบันมีผู้เข้าร่วมโครงการและได้รับฉลากข้าวกล้องเบอร์5 รวม55ราย ทั้งนี้การดำเนินโครงการย่อมส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมโรงสีข้าวอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ โดยเฉพาะกลุ่มอุตสาหกรรมที่จำหน่ายเครื่องจักที่ใช้ในขั้นตอนการขัดสีข้าว ดังนั้นอุตสาหกรรมโรงสีข้าวต้องมีการปรับตัว เพราะในอดีตเป็นการสร้างโรงสีข้าวแบบครบวงจร เมื่อเปลี่ยนมาเป็นข้าวกล้องขบวนการสีข้าวจะลดลง แต่ถ้ามีการผลิตข้าวกล้องมากขึ้น อุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับโรงสีข้าวก็สามารถที่จะขางเครื่องจักรได้เพิ่มขึ้นเช่นกัน เพียงแต่เป็นโรงสีที่มีความต้องการใช้เครื่องจักรแค่ขั้นตอนการกระเทาะเปลือกข้าวเท่านั้น เพราะฉะนั้นถ้าโครงการประสบความสำเร็จจะเกิดการเปลี่ยนแปลงในอุตสาหกรรมโรงสีข้าวของเมืองไทย
Star ratings
    Average rating: 0.0 (0 votes)
No physical items for this record

การใช้ไฟฟ้าในประเทศไทยแบ่งออกเป็นการใช้ไฟฟ้าสำหรับผู้อยู่อาศัยอยู่อาศัยในครัวเรือน ภาคธุรกิจ และภาคอุตสาหกรรม การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยมีหน้าที่ในการแสวงหาพลังงานไฟฟ้า เตรียมความพร้อมในการผลิตไฟฟ้าให้เพียงพอต่อความต้องการของผู้บริโภค เพราะในอนาคตเมื่อเศรษฐกิจฟื้นตัวคาดว่าความต้องการใช้ไฟฟ้าต้องเพิ่มขึ้นอย่างแน่นอน ซึ่งการเตรียมความมพร้อมในการผลิตกระแสไฟฟ้านอกจากการบำรุงรักษาโรงไฟฟ้าเดิมที่อยู่แล้วให้มีสภาพที่ดีและผลิตไฟฟ้าได้ตามปกติยังต้องสร้างโรงไฟฟ้าเพิ่มขึ้นอีกด้วย แต่ถึงแม้จะสร้างเพิ่มขึ้นแต่ถ้าประชาชนยังใช้ไฟฟ้าอย่างฟุ่มเฟือยไม่มีการใช้อย่างก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด จำนวนโรงไฟฟ้าที่เพิ่มขึ้นก็คงไม่เพียงพอต่อการผลิตกระแสไฟฟ้า การผลิตไฟฟ้าเป็นอุตสาหกรรมนำเข้าอย่างหนึ่ง เนื่องจากต้องนำเข้าเทคโนโลยีการผลิตทั้งหมดจากต่างประเทศทำให้ประเทศไทยต้องสูญเสียเงินออกนอกประเทศเป็นจำนวนมาก ดังนั้นการประหยัดไฟฟ้าจึงเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่งโดยเฉพาะการดำเนินโครงการในด้านการประหยัดไฟฟ้าเท่ากับเป็นการลดการสร้างโรงไฟฟ้าลงหรือสร้างโรงไฟฟ้าเท่าที่จำเป็น กฟผ.จึงได้เริ่มโครงการประหยัดไฟฟ้า โดยการรณรงค์ให้ประหยัดการใช้ไฟฟ้าในภาคผู้อยู่อาศัยก่อนเป็นอันดับแรกด้วยการจัดทำโครงการหลอดผอมประหยัดไฟฟ้า ตู้เย็นเบอร์5 และเครื่องปรับอากาศเบอร์5 หลังจากนั้นก็ได้รณรงค์ในส่วนของภาคธุรกิจ (มีต่อ)

ในระยะหลังจึงให้ความสำคัญต่อการใช้ไฟฟ้าอย่างประหยัดและมีประสิทธิภาพในภาคอุตสาหกรรมโดยเฉพาะอุตสาหกรรมการส่งออก ซึ่งอุตสาหกรรมประเภทหนึ่งที่มีความสำคัญเพราะมีการส่งออกและถือเป็นอุตสาหกรรมพื้นฐานของเมืองไทยคืออุตสาหกรรมโรงสีข้าว จากการสำรวจโรงสีข้าว กฟผ.ทั่วประเทศไทยพบว่าการประหยัดไฟฟ้าในโรงสีข้าวด้วยการเปลี่ยนจากการใช้มอเตอร์ธรรมดามาใช้มอเตอร์ประสิทธิภาพสูงสามารถประหยัดการใช้ไฟฟ้าได้เพียง 5%เท่านั้น เนื่องจากกระบวนการสีข้าวมีการกระเทาะและขัดสีข้าวทำให้มีการใช้พลังงานไฟฟ้ามาก ถ้าเปลี่ยนกระบวนการสีข้าวให้หยุดแค่ขั้นตอนการกระเทาะข้าวก็จะเป็นการช่วยประหยัดไฟฟ้าได้มาก ทุกวันนี้คนไทยรับประทานข้าวที่ผ่านการขัดสีถึง 3 ครั้ง ซึ่งข้าวเปลือกที่ผ่านการกระเทาะเปลือกเพียงครั้งเดียวแล้วได้ข้าวกล้องก็เพียงพอที่จะรับประทานได้แล้ว และที่สำคัญข้าวที่ผ่านแค่ขั้นตอนกระเทาะเปลือกเพียงครั้งเดียวมีจมูกข้าวและเยื่อหุ้มเมล็ดข้าวมีคุณค่าทางสารอาหารที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกาย โครงการข้าวกล้องเบอร์5 เป็นการดำเนินโครงการประหยัดไฟฟ้าที่ทำได้ยากที่สุด เพราะคนไทยบริโภคข้าวขัดสีมายาวนานถึงร้อยกว่าปีประกอบกับทัศนคติของคนไทยที่มีต่อการบริโภคข้าวกล้องเป็นไปในทางลบเพราะเกิดความรู้สึกว่าการบริโภคข้าวกล้องเป็นเรื่องของคนจน ส่วนอีกปัญหาหนึ่งคือข้าวกล้องมีราคาสูงกว่าข้าวขัดสีขาวจึงไม่มีคนนิยมรับประทาน

การจูงใจให้คนไทยหันมาบริโภคข้าวกล้องแทนข้าวขัดสีขาวจะช่วยทำให้โรงสีข้าวประหยัดไฟฟ้าได้มากถึง 60-70% เท่านั้นแต่โรงสีข้าวยังได้ประโยชน์จากการขายข้าวในราคาที่ดีขึ้นได้กำไรเพิ่มขึ้น ปัจจุบันมีผู้เข้าร่วมโครงการและได้รับฉลากข้าวกล้องเบอร์5 รวม55ราย ทั้งนี้การดำเนินโครงการย่อมส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมโรงสีข้าวอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ โดยเฉพาะกลุ่มอุตสาหกรรมที่จำหน่ายเครื่องจักที่ใช้ในขั้นตอนการขัดสีข้าว ดังนั้นอุตสาหกรรมโรงสีข้าวต้องมีการปรับตัว เพราะในอดีตเป็นการสร้างโรงสีข้าวแบบครบวงจร เมื่อเปลี่ยนมาเป็นข้าวกล้องขบวนการสีข้าวจะลดลง แต่ถ้ามีการผลิตข้าวกล้องมากขึ้น อุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับโรงสีข้าวก็สามารถที่จะขางเครื่องจักรได้เพิ่มขึ้นเช่นกัน เพียงแต่เป็นโรงสีที่มีความต้องการใช้เครื่องจักรแค่ขั้นตอนการกระเทาะเปลือกข้าวเท่านั้น เพราะฉะนั้นถ้าโครงการประสบความสำเร็จจะเกิดการเปลี่ยนแปลงในอุตสาหกรรมโรงสีข้าวของเมืองไทย