ดร.ประพันธ์ ผาสุขยืด เลขาธิการสมาคมวิศวกรรมสถานฯ ต้องสร้างสายพันธุ์ใหม่ "วิศวกร 2000" / ประพันธ์ ผาสุขยืด

By: ประพันธ์ ผาสุขยืดCall Number: INDEX Material type: ArticleArticleSubject(s): วิศวกร | SCI-TECH In: ข่าวช่าง ปีที่ 27 ฉบับที่ 325 (มิถุนายน 2542) หน้า 49-50Summary: ท่ามกลางกระแสเปิดการค้าเสรี การปรับตัวของวิชาชีพต่างๆ เพื่อรองรับการเข้ามาของต่างชาติเพื่อให้การค้าของโลกไร้พรมแดนอย่างแท้จริง ก็ต้องทำอย่างมีกระบวนการ อาชีพวิศวกรก็เป็นหนึ่งในวิชาชีพที่ต้องเร่งปรับตัวโดยเร็ว เพราะกระแสของวิศวกรต่างชาติที่หวังจะเข้ามาแย่งคนไทยนั้นมีมาเป็นระลอกและคงจะถาโถมเข้ามาอย่างเต็มกำลังในช่วงต่อไป กระบวนการจัดตั้ง "สภาวิศวกร" ที่เร่งผลักดันมาโดยใช้เวลามากกว่า 8 ปีนั้น ก็เป็นหนึ่งในวิธีการที่จะยกวิทยะฐานะของวิศวกรไทยให้เทียบชั้นกับเมืองนอกได้อย่างเท่าเทียม ที่ผ่านมาวิศวกรของไทย จะถูกเน้นสอนด้านทฤษฎีวิศวกรรมเป็นหลัก จนลืมที่จะใส่ใจในเรื่องด้านสังคมศาสตร์หรือทางด้านโลกที่วิศวกรเรียนจบแล้วจะต้องเข้าไปใช้ชีวิตอยู่ และสิ่งซึ่งวิศวกรจะต้องเรียนรู้ไปพร้อมกันก็คือ หลักการในการทำงานร่วมกับผู้อื่น สิ่งที่ต้องเน้นเป็นอย่างมากหลังจากก่อตั้งสภาวิศวกรขึ้นมาก็คือ จะต้องพยายามสร้าง "วิศวกรพันธุ์ใหม่" ขึ้นมา โดยบทบาทของวิศวกรจะต้องมีมากกว่านี้ไม่ใช่ทำงานเพียงมุ่งหวังให้นายพอใจเท่านั้น หรือให้คุ้มค่ากับเงินที่ได้รับ แต่จะต้องดูไปถึงส่วนรวมด้วยว่าจะสามารถคืนอะไรกลับสู่สังคมได้บ้าง (มีต่อ)Summary: "วิศวกรพันธุ์ใหม่" ในนิยามของ ดร.ประพันธ์นั้น จะต้องเริ่มตั้งแต่การศึกษาอบรมแต่แรกเริ่มสำหรับคนที่มาเรียนทางสาขานี้ ซึ่งแต่ก่อนนี้คณะกรรมการควบคุมมาตรฐานวิชาชีพด้านวิศวกรรมหรือ กว. จะมีบทบาทเข้ามาดูแลอยู่ด้วยไม่นับรวมถึงเมื่อวิศวกรออกมาทำงานแล้ว กว.ก็ยังมีบทบาทในการชี้เป็นชี้ตายให้กับวิศวกรได้อีก ดังนั้นเมื่อมีสภาวิศวกรเกิดการปรับปรุงหลักสูตรการศึกษาเพื่อให้สอดคล้องกับวิศวกรรมไทยในยุค 2000 มากที่สุด วิศวกรที่จบออกมาแล้วจะต้องไขว่คว้าหาความรู้จากวงนอกมาใส่ตัวเองให้มากที่สุด ในต่างประเทศนั้นวิศวกรส่วนใหญ่อาศัยการปฏิบัติงานจริง นอกจากเป็นสนามทดลองประสิทธิภาพของตัวเองแล้ว ยังเป็นแหล่งเพิ่มพูนความรู้ความสามารถของตนไปในตัวด้วย อย่างไรก็ตาม สภาวะการรับงานของวิศวกรรมในช่วงต่อไปกำลังเป็นบทเรียนที่หลายฝ่ายต่างตระหนักมากขึ้นว่า หากสถานการณ์เศรษฐกิจพลิกฟื้นกลับมาแล้วการเติบโตในหมู่วิศวกรรุ่นใหม่ในยุคฟองสบู่แตก โดยพยายามสร้างเงินเดือนให้มากขึ้นด้วยการย้ายงานบ่อยๆ นั้นน่าจะหมดไปเสียที เนื่องด้วยบทเรียนที่ผ่านมานั้นจะทำให้ทุกฝ่ายต้องตระหนักว่าไม่อยากให้สิ่งเหล่านี้ได้เกิดขึ้นมาอีก
Star ratings
    Average rating: 0.0 (0 votes)
No physical items for this record

ท่ามกลางกระแสเปิดการค้าเสรี การปรับตัวของวิชาชีพต่างๆ เพื่อรองรับการเข้ามาของต่างชาติเพื่อให้การค้าของโลกไร้พรมแดนอย่างแท้จริง ก็ต้องทำอย่างมีกระบวนการ อาชีพวิศวกรก็เป็นหนึ่งในวิชาชีพที่ต้องเร่งปรับตัวโดยเร็ว เพราะกระแสของวิศวกรต่างชาติที่หวังจะเข้ามาแย่งคนไทยนั้นมีมาเป็นระลอกและคงจะถาโถมเข้ามาอย่างเต็มกำลังในช่วงต่อไป กระบวนการจัดตั้ง "สภาวิศวกร" ที่เร่งผลักดันมาโดยใช้เวลามากกว่า 8 ปีนั้น ก็เป็นหนึ่งในวิธีการที่จะยกวิทยะฐานะของวิศวกรไทยให้เทียบชั้นกับเมืองนอกได้อย่างเท่าเทียม ที่ผ่านมาวิศวกรของไทย จะถูกเน้นสอนด้านทฤษฎีวิศวกรรมเป็นหลัก จนลืมที่จะใส่ใจในเรื่องด้านสังคมศาสตร์หรือทางด้านโลกที่วิศวกรเรียนจบแล้วจะต้องเข้าไปใช้ชีวิตอยู่ และสิ่งซึ่งวิศวกรจะต้องเรียนรู้ไปพร้อมกันก็คือ หลักการในการทำงานร่วมกับผู้อื่น สิ่งที่ต้องเน้นเป็นอย่างมากหลังจากก่อตั้งสภาวิศวกรขึ้นมาก็คือ จะต้องพยายามสร้าง "วิศวกรพันธุ์ใหม่" ขึ้นมา โดยบทบาทของวิศวกรจะต้องมีมากกว่านี้ไม่ใช่ทำงานเพียงมุ่งหวังให้นายพอใจเท่านั้น หรือให้คุ้มค่ากับเงินที่ได้รับ แต่จะต้องดูไปถึงส่วนรวมด้วยว่าจะสามารถคืนอะไรกลับสู่สังคมได้บ้าง (มีต่อ)

"วิศวกรพันธุ์ใหม่" ในนิยามของ ดร.ประพันธ์นั้น จะต้องเริ่มตั้งแต่การศึกษาอบรมแต่แรกเริ่มสำหรับคนที่มาเรียนทางสาขานี้ ซึ่งแต่ก่อนนี้คณะกรรมการควบคุมมาตรฐานวิชาชีพด้านวิศวกรรมหรือ กว. จะมีบทบาทเข้ามาดูแลอยู่ด้วยไม่นับรวมถึงเมื่อวิศวกรออกมาทำงานแล้ว กว.ก็ยังมีบทบาทในการชี้เป็นชี้ตายให้กับวิศวกรได้อีก ดังนั้นเมื่อมีสภาวิศวกรเกิดการปรับปรุงหลักสูตรการศึกษาเพื่อให้สอดคล้องกับวิศวกรรมไทยในยุค 2000 มากที่สุด วิศวกรที่จบออกมาแล้วจะต้องไขว่คว้าหาความรู้จากวงนอกมาใส่ตัวเองให้มากที่สุด ในต่างประเทศนั้นวิศวกรส่วนใหญ่อาศัยการปฏิบัติงานจริง นอกจากเป็นสนามทดลองประสิทธิภาพของตัวเองแล้ว ยังเป็นแหล่งเพิ่มพูนความรู้ความสามารถของตนไปในตัวด้วย อย่างไรก็ตาม สภาวะการรับงานของวิศวกรรมในช่วงต่อไปกำลังเป็นบทเรียนที่หลายฝ่ายต่างตระหนักมากขึ้นว่า หากสถานการณ์เศรษฐกิจพลิกฟื้นกลับมาแล้วการเติบโตในหมู่วิศวกรรุ่นใหม่ในยุคฟองสบู่แตก โดยพยายามสร้างเงินเดือนให้มากขึ้นด้วยการย้ายงานบ่อยๆ นั้นน่าจะหมดไปเสียที เนื่องด้วยบทเรียนที่ผ่านมานั้นจะทำให้ทุกฝ่ายต้องตระหนักว่าไม่อยากให้สิ่งเหล่านี้ได้เกิดขึ้นมาอีก