สู่ยุคโครงสร้าง ดอกเบี้ยต่ำ / ประสิทธิ์ ตินารักษ์

By: ประสิทธิ์ ตินารักษ์Call Number: INDEX Material type: ArticleArticleSubject(s): ธนาคารและการธนาคาร | SCI-TECH In: ข่าวช่าง ปีที่ 27 ฉบับที่ 322 (มีนาคม 2542) หน้า 64 - 66Summary: อัตราดอกเบี้ยเป็น "ค่าเช่าเงิน" แบงค์เช่าเงินจากประชาชนไปใก้คนกู้เงินเช่าไปลงทุน ดังนั้นอัตราดอกเบี้ยจึงสะท้อนค่าของเงินในแต่ละช่วง ในขณะเดียวกันอัตราเงินเฟ้อก็สะท้อนค่าเงินด้วยเมื่อเทียบกับสินค้าและบริการ รัฐบาลมุ่งมั่นที่จะบริการอัตราเงินเฟ้อให้ต่ำหรืออย่างน้อยตัวเลขทางการต้องต่ำ ทั้งนี้เพื่อให้ค่าเงินเมื่อเทียบกับสินค้าไม่ลดลงเร็วเกิน อันไม่ทำให้ผู้มีเงินเปลี่ยนไปถือครองสินทรัพย์อื่นๆ หรืออสังหาริมทรัพย์มากเกินไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งในภาวะอัตราดอกเบี้ยต่ำ นอกจากนี้ในยุคโลกไร้พรมแดนการไหลเวียนของเงินสกุลต่างๆ สะดวกมากขึ้นและสร้างเกณฑ์อัตราแลกเปลี่ยนลอยตัวขึ้นส่วนใหญ่ของโลก การบริหารค่าเงินจึงต้องคำนึงถึงอัตราแลกเปลี่ยนไปพร้อมๆ กัน การคำนึงถึงอัตราเงินเฟ้อและคำนึงอัตราดอกเบี้ย เพื่อมิให้ค่าเงินเปรียบเทียบระหว่างประเทศต่ำหรือสูงเกินจริง ทั้งนี้เพื่อหวังผลในการป้องกันเงินไหลออกหรือไหลเข้าประเทศผิดปกติเกินความจำเป็นในการใช้สอยเพื่อภาคการผลิตที่เป็นจริง การซื้อขายเงินและบริการหรือลงทุนตามปกติในตลาดทั้งเกี่ยวกับเงินและทุนที่ยังไม่ได้ผลิต คือพยายามทำให้กำไรและความเสี่ยงเกี่ยวกับอัตราแลกเปลี่ยนไม่แกว่งจนมากเกินไม่ใช่เรื่องง่าย (มีต่อ)Summary: แต่ต้องดำเนินการหลักการพื้นฐานก็คือ อัตราแลกเปลี่ยนต้องสะท้อนพื้นฐานเศรษฐกิจที่เป็นจริง หรือในขั้นต้นที่ยังไม่อิงถึงภาคการผลิตที่เป็นจริงการคิดตัวเลขเฉพาะในส่วนของ ดอกเบี้ยเงินเฟ้อก็เกี่ยวข้องกับอัตราแลกเปลี่ยนแล้ว ทั้งนี้เพราะการเปรียบเทียบอัตราดอกเบี้ยระหว่างประเทศนั้น จะต้องเอาอัตราดอกเบี้ยลบด้วยอัตราเงินเฟ้อก่อน และยังต้องบวกด้วยค่าใช้จ่ายในการนำเงินเข้าเงินออกและการประกันความเสี่ยงในอัตราแลกเปลี่ยน ซึ่งรวมแล้วประมาณ 2.5-3% อัตราดอกเบี้ย อัตราแลกเปลี่ยนและอัตราเงินเฟ้อ สามอัตราดังกล่าวจึงเป็น "สามอัด-สามแรง" ที่จะต้องได้ดุลยภาพกันเสมอ แต่ทั้งหมดนี้ล้วนยืนอยู่บนภาคการผลิตที่แท้จริง บริการสนับสนุนภาคการผลิต มิใช่บ่อนเซาะทำลายการผลิตสินค้าและบริการ จากที่กล่าวมาทั้งหมดมุ่งชี้ว่าโครงสร้างอัตราดอกเบี้ยสูงหรือต่ำ จึงไม่ใช่เรื่องของแต่ละประเทศ หรือไม่ใช่เรื่องของประเทศไทยประเทศเดียว หากเป็นเรื่องของอัตราดอกเบี้ยโลก ข้อสรุปจึงระบุได้ว่าเมืองไทยเข้ายุคโครงสร้างดอกเบี้ยต่ำ ความหมายก็คือ เมื่อต้นทุนการเงินต่ำ การลงทุนต่างๆ จะเริ่มมากขึ้นๆ แต่สำหรับผู้กู้ที่ติดภาระหนี้เสียทั้งหลายยังไม่ได้ผลประโยชน์จากการนี้เต็มที่นัก ทางเลือกที่มีทางเดียวคือล้างหนี้เก่าเสีย จะไประดมเงินทางไหนจะต้องลองอย่างไรเป็นอีกเรื่องหนึ่ง ข้อสรุปสำหรับยุคโครงสร้างดอกเบี้ยต่ำ คือ รับล้างหนี้เก่า เอาประโยชน์จากหนี้ใหม่ดอกต่ำ
Star ratings
    Average rating: 0.0 (0 votes)
No physical items for this record

อัตราดอกเบี้ยเป็น "ค่าเช่าเงิน" แบงค์เช่าเงินจากประชาชนไปใก้คนกู้เงินเช่าไปลงทุน ดังนั้นอัตราดอกเบี้ยจึงสะท้อนค่าของเงินในแต่ละช่วง ในขณะเดียวกันอัตราเงินเฟ้อก็สะท้อนค่าเงินด้วยเมื่อเทียบกับสินค้าและบริการ รัฐบาลมุ่งมั่นที่จะบริการอัตราเงินเฟ้อให้ต่ำหรืออย่างน้อยตัวเลขทางการต้องต่ำ ทั้งนี้เพื่อให้ค่าเงินเมื่อเทียบกับสินค้าไม่ลดลงเร็วเกิน อันไม่ทำให้ผู้มีเงินเปลี่ยนไปถือครองสินทรัพย์อื่นๆ หรืออสังหาริมทรัพย์มากเกินไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งในภาวะอัตราดอกเบี้ยต่ำ นอกจากนี้ในยุคโลกไร้พรมแดนการไหลเวียนของเงินสกุลต่างๆ สะดวกมากขึ้นและสร้างเกณฑ์อัตราแลกเปลี่ยนลอยตัวขึ้นส่วนใหญ่ของโลก การบริหารค่าเงินจึงต้องคำนึงถึงอัตราแลกเปลี่ยนไปพร้อมๆ กัน การคำนึงถึงอัตราเงินเฟ้อและคำนึงอัตราดอกเบี้ย เพื่อมิให้ค่าเงินเปรียบเทียบระหว่างประเทศต่ำหรือสูงเกินจริง ทั้งนี้เพื่อหวังผลในการป้องกันเงินไหลออกหรือไหลเข้าประเทศผิดปกติเกินความจำเป็นในการใช้สอยเพื่อภาคการผลิตที่เป็นจริง การซื้อขายเงินและบริการหรือลงทุนตามปกติในตลาดทั้งเกี่ยวกับเงินและทุนที่ยังไม่ได้ผลิต คือพยายามทำให้กำไรและความเสี่ยงเกี่ยวกับอัตราแลกเปลี่ยนไม่แกว่งจนมากเกินไม่ใช่เรื่องง่าย (มีต่อ)

แต่ต้องดำเนินการหลักการพื้นฐานก็คือ อัตราแลกเปลี่ยนต้องสะท้อนพื้นฐานเศรษฐกิจที่เป็นจริง หรือในขั้นต้นที่ยังไม่อิงถึงภาคการผลิตที่เป็นจริงการคิดตัวเลขเฉพาะในส่วนของ ดอกเบี้ยเงินเฟ้อก็เกี่ยวข้องกับอัตราแลกเปลี่ยนแล้ว ทั้งนี้เพราะการเปรียบเทียบอัตราดอกเบี้ยระหว่างประเทศนั้น จะต้องเอาอัตราดอกเบี้ยลบด้วยอัตราเงินเฟ้อก่อน และยังต้องบวกด้วยค่าใช้จ่ายในการนำเงินเข้าเงินออกและการประกันความเสี่ยงในอัตราแลกเปลี่ยน ซึ่งรวมแล้วประมาณ 2.5-3% อัตราดอกเบี้ย อัตราแลกเปลี่ยนและอัตราเงินเฟ้อ สามอัตราดังกล่าวจึงเป็น "สามอัด-สามแรง" ที่จะต้องได้ดุลยภาพกันเสมอ แต่ทั้งหมดนี้ล้วนยืนอยู่บนภาคการผลิตที่แท้จริง บริการสนับสนุนภาคการผลิต มิใช่บ่อนเซาะทำลายการผลิตสินค้าและบริการ จากที่กล่าวมาทั้งหมดมุ่งชี้ว่าโครงสร้างอัตราดอกเบี้ยสูงหรือต่ำ จึงไม่ใช่เรื่องของแต่ละประเทศ หรือไม่ใช่เรื่องของประเทศไทยประเทศเดียว หากเป็นเรื่องของอัตราดอกเบี้ยโลก ข้อสรุปจึงระบุได้ว่าเมืองไทยเข้ายุคโครงสร้างดอกเบี้ยต่ำ ความหมายก็คือ เมื่อต้นทุนการเงินต่ำ การลงทุนต่างๆ จะเริ่มมากขึ้นๆ แต่สำหรับผู้กู้ที่ติดภาระหนี้เสียทั้งหลายยังไม่ได้ผลประโยชน์จากการนี้เต็มที่นัก ทางเลือกที่มีทางเดียวคือล้างหนี้เก่าเสีย จะไประดมเงินทางไหนจะต้องลองอย่างไรเป็นอีกเรื่องหนึ่ง ข้อสรุปสำหรับยุคโครงสร้างดอกเบี้ยต่ำ คือ รับล้างหนี้เก่า เอาประโยชน์จากหนี้ใหม่ดอกต่ำ