สนามราชมังคลากีฬาสถาน เหรียญทองที่ไม่ได้มอบ

Call Number: INDEX Material type: ArticleArticleSubject(s): สนามกีฬา -- ไทย | SCI-TECH In: ข่าวช่าง ปีที่ 27 ฉบับที่ 322 (มีนาคม 2542) หน้า 22 - 29Summary: สนามกีฬาราชมังคลากีฬาสถาน เป็นไปตามแผนงานของการกีฬาแห่งประเทศไทย ที่ต้องการสร้างสนามกีฬาครบวงจรเพื่อใช้ประโยชน์ในด้านกีฬาและการพักผ่อนของคนไทย และได้ดำเนินการวางแผนมาตั้งแต่ปี 2531 โดยได้ผลักดันให้สนามกีฬาแห่งนี้เข้าเป็นหนึ่งใน 49 โครงการเฉลิมพระเกียรติของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว 5 รอบ จัดอยู่ในโครงการอันดับที่ 3 ถือว่าให้ความสำคัญอย่างสูงกับโครงการก่อสร้างสนามกีฬา เมื่อสนามกีฬาได้รับการบรรจุให้อยู่ในโครงการเฉลิมพระเกียรติจึงกลายเป็นโครงการที่ได้รับการเอาใจใส่ดูแลเป็นพิเศษ เงื่อนไขต่างๆ ของสนามกีฬาแห่งนี้ต้องแสดงถึงความเป็นไทย และเน้นให้คนไทยเป็นผู้ออกแบบก่อสร้างทั้งหมด เงื่อนไขทั้งหมดนี้กลายเป็นอุปสรรคใหญ่สำหรับผู้รับเหมาเพราะ งานสนามกีฬาขนาดใหญ่ระดับประเทศนี้ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนในประเทศไทย ห้างหุ้นส่วนจำกัด วิวัฒน์ก่อสร้างที่ประมูลงานได้ จึงรับภาระหนักเพื่อให้สนามกีฬาแห่งนี้เป็นไปตามเงื่อนไขที่วางไว้ และต้องออกมาทันเวลาตามงบประมาณที่ให้ งบประมาณก็เป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้โครงการนี้แทบเกิดขึ้นไม่ได้เลย หากมองการลงทุนของภาคเอกชน 630 ล้านลาทกับสนามกีฬาที่ยิ่งใหญ่และยากเช่นนี้มองไม่เห็นถึงผลกำไรหรือแม้แต่คำว่าเท่าทุน (มีต่อ)Summary: ห้างหุ้นส่วนจำกัดวิวัฒน์ก่อสร้าง ใช้เวลาเกือบ 7 ปี จึงสามารถสร้างสนามราชมังคลากีฬาสถานเสร็จสมบูรณ์ สนามกีฬาราชมังคลาสถาน ได้สร้างประวัติศาสตร์ไว้หลายประการตั้งแต่ระยะเวลาการก่อสร้างโครงการซึ่งถือได้ว่าเกือบจะนานที่สุดในโลก โดยเริ่มก่อสร้างตั้งแต่ปี 2531 มาแล้วเสร็จปี 2538 ระยะเวลา7ปีเต็ม ไม่นับระยะเวลาก่อนหน้าที่ต้องเตรียมการหรือวางแผน ผ่านมือมาหลายรัฐบาลจนสุดท้ายมาเสร็จสิ้นในสมัยรัฐบาลประชาธิปัตย์ ภายหลังสนามกีฬาสร้างเสร็จเรียบร้อยได้มีโอกาสเปิดสนามต้อนรับมหกรรมกีฬาเอเชียนเกมส์ ครั้งที่ 13 ได้รับความชื่นชมจากประชาชนว่าสวยงามเชิดหน้าชูตาประเทศไทย เป็นที่ยอมรับถึงฝีมือความสามารถของผู้รับเหมาก่อสร้างไทย ท่ามกลางปัญหาอุปสรรคนานัปการนี้ผู้ที่เหนื่อยยากลำบากไม่แพ้วิวัฒน์ฯคือคุณอรุณ ชัยเสรี และศ.ดร. ปณิธาน ลักคุณะประสิทธิ์ ซึ่งทั้งสองคนเป็นแรงงานสำคัญในการช่วยเหลือแก้ไขปัญหา รวมถึงให้คำแนะนำแก่วิวัฒน์ฯ ทำให้งานสามารถเดินต่อไปได้ตลอดเวลาของการก่อสร้าง ประวัติความเป็นมาของผู้เกี่ยวข้องที่ผลักดันให้สนามนี้เสร็จสิ้นด้วยดีหาอ่านไม่ได้ ไม่มีใครรู้ ทุกคนรู้เพียงแต่ว่า สนามกีฬาแห่งนี้สร้างมายาวนานแต่ไม่มีใครรู้ว่าภายใต้ระยะเวลาที่ยาวนานนี้ซ้อนอะไรไว้บ้าง
Star ratings
    Average rating: 0.0 (0 votes)
No physical items for this record

สนามกีฬาราชมังคลากีฬาสถาน เป็นไปตามแผนงานของการกีฬาแห่งประเทศไทย ที่ต้องการสร้างสนามกีฬาครบวงจรเพื่อใช้ประโยชน์ในด้านกีฬาและการพักผ่อนของคนไทย และได้ดำเนินการวางแผนมาตั้งแต่ปี 2531 โดยได้ผลักดันให้สนามกีฬาแห่งนี้เข้าเป็นหนึ่งใน 49 โครงการเฉลิมพระเกียรติของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว 5 รอบ จัดอยู่ในโครงการอันดับที่ 3 ถือว่าให้ความสำคัญอย่างสูงกับโครงการก่อสร้างสนามกีฬา เมื่อสนามกีฬาได้รับการบรรจุให้อยู่ในโครงการเฉลิมพระเกียรติจึงกลายเป็นโครงการที่ได้รับการเอาใจใส่ดูแลเป็นพิเศษ เงื่อนไขต่างๆ ของสนามกีฬาแห่งนี้ต้องแสดงถึงความเป็นไทย และเน้นให้คนไทยเป็นผู้ออกแบบก่อสร้างทั้งหมด เงื่อนไขทั้งหมดนี้กลายเป็นอุปสรรคใหญ่สำหรับผู้รับเหมาเพราะ งานสนามกีฬาขนาดใหญ่ระดับประเทศนี้ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนในประเทศไทย ห้างหุ้นส่วนจำกัด วิวัฒน์ก่อสร้างที่ประมูลงานได้ จึงรับภาระหนักเพื่อให้สนามกีฬาแห่งนี้เป็นไปตามเงื่อนไขที่วางไว้ และต้องออกมาทันเวลาตามงบประมาณที่ให้ งบประมาณก็เป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้โครงการนี้แทบเกิดขึ้นไม่ได้เลย หากมองการลงทุนของภาคเอกชน 630 ล้านลาทกับสนามกีฬาที่ยิ่งใหญ่และยากเช่นนี้มองไม่เห็นถึงผลกำไรหรือแม้แต่คำว่าเท่าทุน (มีต่อ)

ห้างหุ้นส่วนจำกัดวิวัฒน์ก่อสร้าง ใช้เวลาเกือบ 7 ปี จึงสามารถสร้างสนามราชมังคลากีฬาสถานเสร็จสมบูรณ์ สนามกีฬาราชมังคลาสถาน ได้สร้างประวัติศาสตร์ไว้หลายประการตั้งแต่ระยะเวลาการก่อสร้างโครงการซึ่งถือได้ว่าเกือบจะนานที่สุดในโลก โดยเริ่มก่อสร้างตั้งแต่ปี 2531 มาแล้วเสร็จปี 2538 ระยะเวลา7ปีเต็ม ไม่นับระยะเวลาก่อนหน้าที่ต้องเตรียมการหรือวางแผน ผ่านมือมาหลายรัฐบาลจนสุดท้ายมาเสร็จสิ้นในสมัยรัฐบาลประชาธิปัตย์ ภายหลังสนามกีฬาสร้างเสร็จเรียบร้อยได้มีโอกาสเปิดสนามต้อนรับมหกรรมกีฬาเอเชียนเกมส์ ครั้งที่ 13 ได้รับความชื่นชมจากประชาชนว่าสวยงามเชิดหน้าชูตาประเทศไทย เป็นที่ยอมรับถึงฝีมือความสามารถของผู้รับเหมาก่อสร้างไทย ท่ามกลางปัญหาอุปสรรคนานัปการนี้ผู้ที่เหนื่อยยากลำบากไม่แพ้วิวัฒน์ฯคือคุณอรุณ ชัยเสรี และศ.ดร. ปณิธาน ลักคุณะประสิทธิ์ ซึ่งทั้งสองคนเป็นแรงงานสำคัญในการช่วยเหลือแก้ไขปัญหา รวมถึงให้คำแนะนำแก่วิวัฒน์ฯ ทำให้งานสามารถเดินต่อไปได้ตลอดเวลาของการก่อสร้าง ประวัติความเป็นมาของผู้เกี่ยวข้องที่ผลักดันให้สนามนี้เสร็จสิ้นด้วยดีหาอ่านไม่ได้ ไม่มีใครรู้ ทุกคนรู้เพียงแต่ว่า สนามกีฬาแห่งนี้สร้างมายาวนานแต่ไม่มีใครรู้ว่าภายใต้ระยะเวลาที่ยาวนานนี้ซ้อนอะไรไว้บ้าง