ดาบสองคม เรื่องของสารเคมีจากต้นยิว / สุธาทิพ ภมรประวัติ, ระพีพรรณ ประจันตเสน

By: สุธาทิพ ภมรประวัติContributor(s): ระพีพรรณ ประจันตเสนCall Number: INDEX Material type: ArticleArticleSubject(s): สารเคมี | SCI-TECH In: คณะวิทยาศาสตร์ ปีที่ 10 ฉบับที่ 9 (กรกฎาคม-กันยายน 2542) หน้า 6 - 7Summary: Taxol เป็นสารจำพวกโดเทอร์ฟีนที่สกัดแยกได้เป็นครั้งแรกจากเปลือกต้นแปซิฟิคยิว Pacific yew (Taxus brevifolia Nutt วงศ์ Taxaceae) ซึ่งเป็นไม้ยืนต้นโตช้า พบในป่าทางตะวันตกเฉียงเหนือของประเทศแคนาดาและสหรัฐอเมริกา ภายหลังจึงมีการค้นพบในต้นยิวชนิดอื่นๆ เช่น European yew Taxol ถูกค้นพบโดยการสุ่มเก็บตัวอย่างพืชจากธรรมชาติ แล้วนำมาสกัดโดย Wall และคณะในปี ค.ศ. 1971 ในปี ค.ศ. 1992 องค์การอาหารและยายอมรับว่า taxol ที่มาจากต้นแปซิฟิคยิว ใช้รักษาโรคมะเร็งในรังไข่ได้ ในปี 1994 ได้มีการใช้ taxol ในการทดลองรักษามะเร็งเต้านมในระยะขั้นกระจาย แต่ผลของการรักษายังไม่เป็นที่น่าพอใจ Taxol เป็นสารที่มีโครงสร้างแตกต่างกันไปจากโดเทอร์วีนที่พบแล้วอื่นๆ กล่าวคือมีโครงสร้างเป็น tricyclic 6-8-6 ring system และสารประกอบ functional group มากมาย นอกจากจะมีโครงสร้างแปลกใหม่ออกไปแล้ว สารนี้ยังมีกลไกการออกฤทธิ์แตกต่างไปจากสารยับยั้งการแบ่งเซลล์อื่นๆ โดย taxol มีคุณสมบัติในการสนับสนุนการสร้าง microtuble และหยุดการสลายตัวของ microtuble ไปเป็น tubulin ยังผลให้ขบวนการแบ่งตัวของเซลล์หยุดลง ในการทดลองกับเซลล์มะเร็งที่เลี้ยงในหลอดทดลองพบว่า taxol มีผลทั้งกับ soil tumour และเซลล์มะเร็งเม็ดเลือดขาว (มีต่อ)Summary: การพัฒนา Taxol กระทำด้วยความร่วมมือระหว่างสถาบันมะเร็งแห่งสหรัฐอเมริกาและบริษัท Bristol-Myer Sguibb อุปสรรคสำคัญในการพัฒนายาชนิดนี้คือ ปริมาณสารที่อยู่จำกัดในธรรมชาติในการสกัด taxol ให้ได้ปริมาณสาร 2.5 กก. เพื่อใช้ในการทดลองทางคลีนิกต้องใช้เปลือกต้นแปซิฟิคยิวถึง 27 ตัน ซึ่งได้จากการโค่นต้นแปซิฟิคยิว 12,000ตัน ตั้งแต่ ค.ศ. 1991 ได้มีการทดลองปลูกต้นแปซิฟิคยิว จำนวน 7 แสนต้นในเมืองโอลิมเปีย มลรัฐวอชิงตัน สหรัฐอเมริกา ปัจจุบันนี้มีต้นแปซิฟิคยิวที่ปลูกไว้แล้วกว่า 10 ล้านต้น ทั้งนี้เพื่อให้เพียงพอต่อความต้องการของตลาด โดยเริ่มเก็บเกี่ยวเปลือกมาใช้สกัดสารได้ในปี ค.ศ. 1995 เนื่องจากสารนี้มีปริมาณสารต่ำในพืชดังกล่าวแล้วจึงมีผู้พยายามค้นหาแหล่งใหม่ของ taxol พบว่าในใบของต้นแปซิฟิคยิวและยิวชนิดอื่นๆ มีสาร baccatin ที่สามารถนำมาเป็นสารตั้งต้นในการสังเคราะห์ taxol ได้ นับเป็นการค้นพบที่สำคัญ่เนื่องจากมนุษย์สามารถนำใบซึ่งสามารถผลิใหม่ได้รวดเร็วมาใช้ทำไม่ต้องทำลายต้นยิวซึ่งมีอายุนับร้อยปีเพียงแคเพื่อนำเปลือกไม้มารักษาโรค ปัจจุบันมีผุ้สามารถผลิตสาร taxol ได้จากเซลล์เลี้ยงที่ได้จากส่วนใบ กิ่ง และรากของต้นแปซิฟิคยิว จึงทำให้ทำลายต้นแปซิฟิคยิว เพื่อนำเปลือกไม้ไปสกัดทำยาลดน้อยลงไปมาก นอกจากนี้ยังมีความพยายามที่เปลี่ยนโครงสร้างของ taxol เพื่อให้ได้สารที่มีฤทธิ์แรงกว่าสารที่ได้จากธรรมชาติอีกด้วย
Star ratings
    Average rating: 0.0 (0 votes)
No physical items for this record

Taxol เป็นสารจำพวกโดเทอร์ฟีนที่สกัดแยกได้เป็นครั้งแรกจากเปลือกต้นแปซิฟิคยิว Pacific yew (Taxus brevifolia Nutt วงศ์ Taxaceae) ซึ่งเป็นไม้ยืนต้นโตช้า พบในป่าทางตะวันตกเฉียงเหนือของประเทศแคนาดาและสหรัฐอเมริกา ภายหลังจึงมีการค้นพบในต้นยิวชนิดอื่นๆ เช่น European yew Taxol ถูกค้นพบโดยการสุ่มเก็บตัวอย่างพืชจากธรรมชาติ แล้วนำมาสกัดโดย Wall และคณะในปี ค.ศ. 1971 ในปี ค.ศ. 1992 องค์การอาหารและยายอมรับว่า taxol ที่มาจากต้นแปซิฟิคยิว ใช้รักษาโรคมะเร็งในรังไข่ได้ ในปี 1994 ได้มีการใช้ taxol ในการทดลองรักษามะเร็งเต้านมในระยะขั้นกระจาย แต่ผลของการรักษายังไม่เป็นที่น่าพอใจ Taxol เป็นสารที่มีโครงสร้างแตกต่างกันไปจากโดเทอร์วีนที่พบแล้วอื่นๆ กล่าวคือมีโครงสร้างเป็น tricyclic 6-8-6 ring system และสารประกอบ functional group มากมาย นอกจากจะมีโครงสร้างแปลกใหม่ออกไปแล้ว สารนี้ยังมีกลไกการออกฤทธิ์แตกต่างไปจากสารยับยั้งการแบ่งเซลล์อื่นๆ โดย taxol มีคุณสมบัติในการสนับสนุนการสร้าง microtuble และหยุดการสลายตัวของ microtuble ไปเป็น tubulin ยังผลให้ขบวนการแบ่งตัวของเซลล์หยุดลง ในการทดลองกับเซลล์มะเร็งที่เลี้ยงในหลอดทดลองพบว่า taxol มีผลทั้งกับ soil tumour และเซลล์มะเร็งเม็ดเลือดขาว (มีต่อ)

การพัฒนา Taxol กระทำด้วยความร่วมมือระหว่างสถาบันมะเร็งแห่งสหรัฐอเมริกาและบริษัท Bristol-Myer Sguibb อุปสรรคสำคัญในการพัฒนายาชนิดนี้คือ ปริมาณสารที่อยู่จำกัดในธรรมชาติในการสกัด taxol ให้ได้ปริมาณสาร 2.5 กก. เพื่อใช้ในการทดลองทางคลีนิกต้องใช้เปลือกต้นแปซิฟิคยิวถึง 27 ตัน ซึ่งได้จากการโค่นต้นแปซิฟิคยิว 12,000ตัน ตั้งแต่ ค.ศ. 1991 ได้มีการทดลองปลูกต้นแปซิฟิคยิว จำนวน 7 แสนต้นในเมืองโอลิมเปีย มลรัฐวอชิงตัน สหรัฐอเมริกา ปัจจุบันนี้มีต้นแปซิฟิคยิวที่ปลูกไว้แล้วกว่า 10 ล้านต้น ทั้งนี้เพื่อให้เพียงพอต่อความต้องการของตลาด โดยเริ่มเก็บเกี่ยวเปลือกมาใช้สกัดสารได้ในปี ค.ศ. 1995 เนื่องจากสารนี้มีปริมาณสารต่ำในพืชดังกล่าวแล้วจึงมีผู้พยายามค้นหาแหล่งใหม่ของ taxol พบว่าในใบของต้นแปซิฟิคยิวและยิวชนิดอื่นๆ มีสาร baccatin ที่สามารถนำมาเป็นสารตั้งต้นในการสังเคราะห์ taxol ได้ นับเป็นการค้นพบที่สำคัญ่เนื่องจากมนุษย์สามารถนำใบซึ่งสามารถผลิใหม่ได้รวดเร็วมาใช้ทำไม่ต้องทำลายต้นยิวซึ่งมีอายุนับร้อยปีเพียงแคเพื่อนำเปลือกไม้มารักษาโรค ปัจจุบันมีผุ้สามารถผลิตสาร taxol ได้จากเซลล์เลี้ยงที่ได้จากส่วนใบ กิ่ง และรากของต้นแปซิฟิคยิว จึงทำให้ทำลายต้นแปซิฟิคยิว เพื่อนำเปลือกไม้ไปสกัดทำยาลดน้อยลงไปมาก นอกจากนี้ยังมีความพยายามที่เปลี่ยนโครงสร้างของ taxol เพื่อให้ได้สารที่มีฤทธิ์แรงกว่าสารที่ได้จากธรรมชาติอีกด้วย