นักวิทยาศาสตร์ดีเด่น รศ.ดร.ภิญโญ พานิชพันธ์

Call Number: INDEX Material type: ArticleArticleSubject(s): บุคคลดีเด่น | SCI-TECH In: คณะวิทยาศาสตร์ ปีที่ 10 ฉบับที่ 9 (กรกฎาคม-กันยายน 2542) หน้า 12 - 14Summary: รศ.ดร.ภิญโญ พานิชพันธ์ ปัจจุบันอายุ 55 ปี สมรสกับนางเทลมา มีบุตรชายหญิงอย่างละ 1 คน สำเร็จการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาจากโรงเรียนอัสสัมชัญ กรุงเทพฯ ได้สอบเข้าศึกษาได้ที่คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล แต่ต่อมาด้วยการสนับสนุนของ ศ.ดร. สตางค์ มงคลสุข จึงไปศึกษาต่อปริญญาตรีที่ประเทศออสเตรเลีย ได้รับ B. Sc. Hons สาขาชีวเคมีจากมหาวิทยาลัย Queebstand ในพ.ศ. 2508 จากนั้นได้กลับมาเข้ารับราชการเป็นอาจารย์ที่ภาควิชาชีวเคมี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล และลาไปศึกษาต่อระดับปริญญาเอกที่ประเทศอังกฤษ จนสำเร็จ Ph.D. สาขา Biophysics จาก King' College, University of London, U.K. ในพ.ศ.2516 และกลับมารับราชการต่อที่ภาควิชาชีวเคมีจนตราบทุกวันนี้ งานบริหารที่สำคัญคือได้เป็นรองคณบดีฝ่ายวิชาการและวางแผน (2531-2534) เป็นผู้ก่อตั้งและเป็นหัวหน้าศูนย์เครื่องมือรวมคนแรก (2535-2536) เป็นหัวหน้าภาควิชาชีวเคมี (2539-2541) (มีต่อ)Summary: ในด้านการทำงานได้ปฏิบัติงานด้านวิชาการทั้งด้านการสอน การวิจัย รวมทั้งด้านการบริหารและบริการสังคมอย่างครบถ้วน ในด้านการสอนทั้งระดับบัณฑิตศึกษาและปริญญาตรีมีความสนใจและเอาใจใส่ในการเรียนการสอนและสอนได้อย่างทันสมัยและถูกต้องตามวิชาการเป็นแบบอย่างของผู้ที่มีความสามารถในการสอน นอกจากนี้ยังผลงานทางด้านการเรียนการสอนและวิทยาศาสตร์ศึกษาในวารสารระดับนานาชาติ จำนวน 15 เรื่อง จากที่มีความสนใจอย่างจริงจังในด้านนี้จึงได้รับเป็นผู้ประสานงานของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัยใน "โครงการชุดการวิจัยการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย อุดมศึกษาตอนต้น" ซึ่งจะมีหน้าที่ส่งเสริมและสนับสนุนาการวิจัยด้านการเรียนการสอนของครูและอาจารย์ทั่วประเทศ ในด้านการวิจัยนอกเหนือจากด้านวิทยาศาสตร์ศึกษา มีผลงานวิจัยที่สำคัญที่ทำให้ได้รับรางวัลมหาวิทยาลัยมหิดล สาขาการประดิษฐ์ พ.ศ. 2541 คือชุดตรวจสอบภาคสนามสำหรับไอโอดีนในเกลือ (I-Kit) ซึ่งเป็นผลงานที่ใช้ความรู้พื้นฐานทางเคมีและชีวเคมีมาประดิษฐ์เป็นสูตรนำยาตรวจสอบที่มีความแม่นยำ คงทน เหนือกว่าของที่มีอยู่ ในปัจจุบันที่นำเข้ามาจากต่างประเทศ นอกจากนี้ผลงานวิจัยที่ผ่านมาเป็นการศึกษากลไกการทำงานของยาฆ่าเชื้อมาเลเรีย และกลไกการทำลายของวิตามินบีหนึ่งโดยสารอินทรีย์และอนินทรีย์ ซึ่งทำให้ได้รับรางวัลนักวิจัยดีเด่นของมหาวิทยาลัยมหิดลเมื่อปี พ.ศ. 2525
Star ratings
    Average rating: 0.0 (0 votes)
No physical items for this record

รศ.ดร.ภิญโญ พานิชพันธ์ ปัจจุบันอายุ 55 ปี สมรสกับนางเทลมา มีบุตรชายหญิงอย่างละ 1 คน สำเร็จการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาจากโรงเรียนอัสสัมชัญ กรุงเทพฯ ได้สอบเข้าศึกษาได้ที่คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล แต่ต่อมาด้วยการสนับสนุนของ ศ.ดร. สตางค์ มงคลสุข จึงไปศึกษาต่อปริญญาตรีที่ประเทศออสเตรเลีย ได้รับ B. Sc. Hons สาขาชีวเคมีจากมหาวิทยาลัย Queebstand ในพ.ศ. 2508 จากนั้นได้กลับมาเข้ารับราชการเป็นอาจารย์ที่ภาควิชาชีวเคมี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล และลาไปศึกษาต่อระดับปริญญาเอกที่ประเทศอังกฤษ จนสำเร็จ Ph.D. สาขา Biophysics จาก King' College, University of London, U.K. ในพ.ศ.2516 และกลับมารับราชการต่อที่ภาควิชาชีวเคมีจนตราบทุกวันนี้ งานบริหารที่สำคัญคือได้เป็นรองคณบดีฝ่ายวิชาการและวางแผน (2531-2534) เป็นผู้ก่อตั้งและเป็นหัวหน้าศูนย์เครื่องมือรวมคนแรก (2535-2536) เป็นหัวหน้าภาควิชาชีวเคมี (2539-2541) (มีต่อ)

ในด้านการทำงานได้ปฏิบัติงานด้านวิชาการทั้งด้านการสอน การวิจัย รวมทั้งด้านการบริหารและบริการสังคมอย่างครบถ้วน ในด้านการสอนทั้งระดับบัณฑิตศึกษาและปริญญาตรีมีความสนใจและเอาใจใส่ในการเรียนการสอนและสอนได้อย่างทันสมัยและถูกต้องตามวิชาการเป็นแบบอย่างของผู้ที่มีความสามารถในการสอน นอกจากนี้ยังผลงานทางด้านการเรียนการสอนและวิทยาศาสตร์ศึกษาในวารสารระดับนานาชาติ จำนวน 15 เรื่อง จากที่มีความสนใจอย่างจริงจังในด้านนี้จึงได้รับเป็นผู้ประสานงานของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัยใน "โครงการชุดการวิจัยการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย อุดมศึกษาตอนต้น" ซึ่งจะมีหน้าที่ส่งเสริมและสนับสนุนาการวิจัยด้านการเรียนการสอนของครูและอาจารย์ทั่วประเทศ ในด้านการวิจัยนอกเหนือจากด้านวิทยาศาสตร์ศึกษา มีผลงานวิจัยที่สำคัญที่ทำให้ได้รับรางวัลมหาวิทยาลัยมหิดล สาขาการประดิษฐ์ พ.ศ. 2541 คือชุดตรวจสอบภาคสนามสำหรับไอโอดีนในเกลือ (I-Kit) ซึ่งเป็นผลงานที่ใช้ความรู้พื้นฐานทางเคมีและชีวเคมีมาประดิษฐ์เป็นสูตรนำยาตรวจสอบที่มีความแม่นยำ คงทน เหนือกว่าของที่มีอยู่ ในปัจจุบันที่นำเข้ามาจากต่างประเทศ นอกจากนี้ผลงานวิจัยที่ผ่านมาเป็นการศึกษากลไกการทำงานของยาฆ่าเชื้อมาเลเรีย และกลไกการทำลายของวิตามินบีหนึ่งโดยสารอินทรีย์และอนินทรีย์ ซึ่งทำให้ได้รับรางวัลนักวิจัยดีเด่นของมหาวิทยาลัยมหิดลเมื่อปี พ.ศ. 2525