รัฐธรรมนูญของเรา

Call Number: INDEX Material type: ArticleArticleSubject(s): รัฐธรรมนูญ | SCI-TECH In: คณะวิทยาศาสตร์ ปีที่ 10 ฉบับที่ 9 (กรกฎมคม-กันยายน 2542) หน้า 46 - 54Summary: รัฐธรรมนูญใหม่กับศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540 เป็นรัฐธรรมนูญฉบับแรกของไทยที่บัญญัติรับรองศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์โดยบัญญัติว่า "ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์สิทธิและเสรีภาพของบุคคลย่อมได้รับความคุ้มครอง การใช้อำนาจโดยองค์กรของรัฐทุกองค์กร ต้องคำนึงถึงศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ สิทธิและเสรีภาพตามบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ (มาตรา 26) บุคคลย่อมอ้างศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ หรือใช้สิทธิและเสรีภาพของตนเองได้เท่าที่ละเมิดสิทธิ์และเสรีภาพของบุคคลอื่น ไม่เป็นปฏิปักษ์ต่อรัฐธรรมนูญ หรือไม่ขัดต่อศีลธรรมอันดีของประชาน (มาตรา 28) การที่รัฐธรรมนูญใหม่นี้บัญญัติเรื่องศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ได้เป็นครั้งแรก คงมิได้หมายความว่าที่แล้วๆ มา คนในสังคมไทยไม่เคยมีศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ และก็คงมิได้เริ่มมีเมื่อมีกฎหมายหรือรัฐธรรมนูญรับรอง หากแต่เป็นการรับรองสิ่งที่มีอยู่แล้วโดยธรรมชาติของมนุษย์และสังคมมนุษย์ เพื่อให้เกิดความตระหนักถึงความสำคัญ และอาจทำให้การพิจารณาถึงรูปธรรมของศักดิ์ศรีในความเป็นมนุษย์เป็นที่เข้าใจชัดเจนขึ้นด้วย ซึ่งเมื่อกล่าวถึงศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์อาจแฝงอยู่หลายบริบทได้แก่ (มีต่อ)Summary: ประการที่ 1 มีมนุษย์มีฐานะเป็นผู้ทรงสิทธิในชีวิตของตน มนุษย์จึงไม่สมควรที่จะต้องตกเป็นวัตถุหรือสมบัติครอบครองของบุคคลอื่น ดังนั้นบุคคลที่สำนึกถึงศักดิ์ศรีแห่งความเป็นมนุษย์ก็ย่อมจะไม่นำมนุษย์ด้วยกันมาซื้อขายหรือใช้แรงงานในลักษณะกดขี่เยี่ยงทาสหรือเครื่องจักร ประการที่2 มนุษย์มีฐานะเป็นผู้ที่พร้อมจะพัฒนาได้ พร้อมๆ กับมีศักยภาพที่จะรวมกับมนุษย์ผู้อื่นพัฒนาสังคมได้ มนุษย์จึงควรมีอิสระที่จะพัฒนาศักยภาพของตนเองการกักขัง หน่วงเหนี่ยวหรือบังคับตัดโอนอิสรภาพของมนุษย์โดยปราศจากเหตุผลทางประโยชน์สาธารณะที่มีน้ำหนักเพียงพอจึงไม่อาจกระทำได้ คงมีเพียงสัตว์เลี้ยงเท่านั้นที่อาจถูกมนุษย์ควบคุม มนุษย์ที่หวงแหนในอิสรภาพของตนย่อมต้องให้ความเคารพในความหวงแหนอิสรภาพของผู้อื่นด้วย ประการที่3 มนุษย์มีฐานะเป็นผู้ที่มีเกียรติภูมิของการกำเนิดเป็นมนุษย์และเกียรติภูมิจะดำเนินต่อไปได้ส่วนหนึ่งย่อมต้องอาศัยการยอมรับของสังคมมนุษย์ด้วยกัน ซึ่งก็ล้วนแสวงหาเกียรติภูมิทั้งนั้น มนุษย์ที่คำนึงถึงคุณค่าแห่งความภาคภูมิจึงไม่ควรเหยียดหยามบุคคลอื่นหรือจัดการให้บุคคลอื่นถูกประณามหยามเหยียดด้วยเหตุนี้ตามหลักการแห่งกฎหมายจึงกำหนดให้สิทธิบุคคลในเกียรติยศ ชื่อเสียงและความเป็นอยู่ส่วนตัวจะต้องได้รับการคุ้มครอง ประการที่4 มนุษย์แต่ละคนมีฐานะเป็นคนๆ หนึ่งเท่ากันกับมนุษบ์คนอื่นๆ แม้แต่ละคนมีศักยภาพไม่เท่ากัน แต่ก็พึงมีโอกาสแสดงหรือปฏิบัติในฐานะการเป็นมนุษย์ได้เท่าเทียมกัน จึงพึงได้รับการปฏิบัติในฐานะที่เป็นมนุษย์อย่างเสมอภาคกันด้วย
Star ratings
    Average rating: 0.0 (0 votes)
No physical items for this record

รัฐธรรมนูญใหม่กับศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540 เป็นรัฐธรรมนูญฉบับแรกของไทยที่บัญญัติรับรองศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์โดยบัญญัติว่า "ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์สิทธิและเสรีภาพของบุคคลย่อมได้รับความคุ้มครอง การใช้อำนาจโดยองค์กรของรัฐทุกองค์กร ต้องคำนึงถึงศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ สิทธิและเสรีภาพตามบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ (มาตรา 26) บุคคลย่อมอ้างศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ หรือใช้สิทธิและเสรีภาพของตนเองได้เท่าที่ละเมิดสิทธิ์และเสรีภาพของบุคคลอื่น ไม่เป็นปฏิปักษ์ต่อรัฐธรรมนูญ หรือไม่ขัดต่อศีลธรรมอันดีของประชาน (มาตรา 28) การที่รัฐธรรมนูญใหม่นี้บัญญัติเรื่องศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ได้เป็นครั้งแรก คงมิได้หมายความว่าที่แล้วๆ มา คนในสังคมไทยไม่เคยมีศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ และก็คงมิได้เริ่มมีเมื่อมีกฎหมายหรือรัฐธรรมนูญรับรอง หากแต่เป็นการรับรองสิ่งที่มีอยู่แล้วโดยธรรมชาติของมนุษย์และสังคมมนุษย์ เพื่อให้เกิดความตระหนักถึงความสำคัญ และอาจทำให้การพิจารณาถึงรูปธรรมของศักดิ์ศรีในความเป็นมนุษย์เป็นที่เข้าใจชัดเจนขึ้นด้วย ซึ่งเมื่อกล่าวถึงศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์อาจแฝงอยู่หลายบริบทได้แก่ (มีต่อ)

ประการที่ 1 มีมนุษย์มีฐานะเป็นผู้ทรงสิทธิในชีวิตของตน มนุษย์จึงไม่สมควรที่จะต้องตกเป็นวัตถุหรือสมบัติครอบครองของบุคคลอื่น ดังนั้นบุคคลที่สำนึกถึงศักดิ์ศรีแห่งความเป็นมนุษย์ก็ย่อมจะไม่นำมนุษย์ด้วยกันมาซื้อขายหรือใช้แรงงานในลักษณะกดขี่เยี่ยงทาสหรือเครื่องจักร ประการที่2 มนุษย์มีฐานะเป็นผู้ที่พร้อมจะพัฒนาได้ พร้อมๆ กับมีศักยภาพที่จะรวมกับมนุษย์ผู้อื่นพัฒนาสังคมได้ มนุษย์จึงควรมีอิสระที่จะพัฒนาศักยภาพของตนเองการกักขัง หน่วงเหนี่ยวหรือบังคับตัดโอนอิสรภาพของมนุษย์โดยปราศจากเหตุผลทางประโยชน์สาธารณะที่มีน้ำหนักเพียงพอจึงไม่อาจกระทำได้ คงมีเพียงสัตว์เลี้ยงเท่านั้นที่อาจถูกมนุษย์ควบคุม มนุษย์ที่หวงแหนในอิสรภาพของตนย่อมต้องให้ความเคารพในความหวงแหนอิสรภาพของผู้อื่นด้วย ประการที่3 มนุษย์มีฐานะเป็นผู้ที่มีเกียรติภูมิของการกำเนิดเป็นมนุษย์และเกียรติภูมิจะดำเนินต่อไปได้ส่วนหนึ่งย่อมต้องอาศัยการยอมรับของสังคมมนุษย์ด้วยกัน ซึ่งก็ล้วนแสวงหาเกียรติภูมิทั้งนั้น มนุษย์ที่คำนึงถึงคุณค่าแห่งความภาคภูมิจึงไม่ควรเหยียดหยามบุคคลอื่นหรือจัดการให้บุคคลอื่นถูกประณามหยามเหยียดด้วยเหตุนี้ตามหลักการแห่งกฎหมายจึงกำหนดให้สิทธิบุคคลในเกียรติยศ ชื่อเสียงและความเป็นอยู่ส่วนตัวจะต้องได้รับการคุ้มครอง ประการที่4 มนุษย์แต่ละคนมีฐานะเป็นคนๆ หนึ่งเท่ากันกับมนุษบ์คนอื่นๆ แม้แต่ละคนมีศักยภาพไม่เท่ากัน แต่ก็พึงมีโอกาสแสดงหรือปฏิบัติในฐานะการเป็นมนุษย์ได้เท่าเทียมกัน จึงพึงได้รับการปฏิบัติในฐานะที่เป็นมนุษย์อย่างเสมอภาคกันด้วย