ตลาดอสังหาริมทรัพย์ไทยปรับตัวสู่ระบบเศรษฐกิจใหม่ใช้ภูมิปัญญาและเทคโนโลยีสร้างจุดขาย

Call Number: INDEX Material type: ArticleArticleSubject(s): SCI-TECH | อสังหาริมทรัพย์ | การจัดการขาย In: วิศวกรรมสาร ปีที่ 53 เล่มที่ 10 (ตุลาคม 2543) หน้า 44-47Summary: จากภาวะวิกฤตที่เกิดขึ้นกับภาคอสังหาริมทรัพย์เมื่อหลายปีก่อน ปรกอบกับสถานการณ์ทางเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศตกต่ำอย่างต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน ทำให้ภาคอสังหาริมทรัพย์ยังไม่ฟื้นตัว โครงการบ้านจัดสรร ทาวน์เฮาส์ คอนโดมิเนียม หรือบ้านเดี่ยวที่ก่อสร้างแล้วเสร็จ ยังค้างอยู่ในตลาดเป็นจำนวนมาก ทั้งนี้ไม่รวมถึงบ้านหรือโครงการต่างๆ ที่ยังก่อสร้างไม่เสร็จ และกลายเป็นโครงการร้างไปในที่สุด สถานการณ์เช่นนี้นับว่ามีความรุนแรงมาก แม้ว่าหลายฝ่ายจะร่วมกันผลักดันด้วยวิธีการต่างๆ มากมาย เพื่อให้ภาคอสังหาริมทรัพย์เคลื่อนไหวในทิศทางที่ดีก็ตาม (มีต่อ)Summary: แต่ก็เกิดผลกระทบทั้งด้านบวกและด้านลบ ยังไม่ใช่การแก้ไขปัญหาที่ตรงจุดอย่างแท้จริง วิธีทางหนึ่งที่สำคัญในการทำให้หลุดพ้นจากความตกต่ำของธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ปัจจุบันคือ พยายามผลักดันธุรกิจให้เข้าสู่ตลาดบนและตลาดต่างประเทศ ซึ่งมีกำลังซื้อสูงและยังให้ผลตอบแทนในระดับสูง อีกทางหนึ่งคือ การสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินทรัพย์ โดยปรับธุรกิจให้เข้าสู่ระบบเศรษฐกิจใหม่ โดยใช้ภูมิปัญญาและเทคโนโนโลยีสร้างจุดขายของสินค้าให้แตกต่างและหลุดจากอสังหาริมทรัพย์ทั่วๆ ไป (มีต่อ)Summary: สำหรับเทคโนโลยีที่ถูกนำใช้สร้างมูลค่าเพิ่มคือ เทคโนโลยีสารสนเทศ เทคโนโลยีชีวภาพ และเทคโนโลยีการประหยัดพลังงาน ปัญหาที่เกิดขึ้นกับภาคอสังหาริมทรัพย์ในวันนี้ได้พัฒนาเป็นปัญหาในเชิงของโครงสร้างทางเศรษฐกิจมากกว่าที่จะเป็นปัญหาที่เกิดจากการดำเนินงานทางธุรกิจโดยตรง ทำให้ผู้ประกอบการธุรกิจพัฒนาอสังหาริมทรัพย์จำนวนไม่น้อย ต้องการให้ภาครัฐมีการแก้ปัญหาทั้งระบบอย่างเบ็ดเสร็จ เพื่อเป็นแนวทางในการฟื้นฟูภาคอสังหาริมทรัพย์ไทยให้หลุดพ้นจากภาวะตกต่ำโดยเร็วที่สุด
Star ratings
    Average rating: 0.0 (0 votes)
No physical items for this record

จากภาวะวิกฤตที่เกิดขึ้นกับภาคอสังหาริมทรัพย์เมื่อหลายปีก่อน ปรกอบกับสถานการณ์ทางเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศตกต่ำอย่างต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน ทำให้ภาคอสังหาริมทรัพย์ยังไม่ฟื้นตัว โครงการบ้านจัดสรร ทาวน์เฮาส์ คอนโดมิเนียม หรือบ้านเดี่ยวที่ก่อสร้างแล้วเสร็จ ยังค้างอยู่ในตลาดเป็นจำนวนมาก ทั้งนี้ไม่รวมถึงบ้านหรือโครงการต่างๆ ที่ยังก่อสร้างไม่เสร็จ และกลายเป็นโครงการร้างไปในที่สุด สถานการณ์เช่นนี้นับว่ามีความรุนแรงมาก แม้ว่าหลายฝ่ายจะร่วมกันผลักดันด้วยวิธีการต่างๆ มากมาย เพื่อให้ภาคอสังหาริมทรัพย์เคลื่อนไหวในทิศทางที่ดีก็ตาม (มีต่อ)

แต่ก็เกิดผลกระทบทั้งด้านบวกและด้านลบ ยังไม่ใช่การแก้ไขปัญหาที่ตรงจุดอย่างแท้จริง วิธีทางหนึ่งที่สำคัญในการทำให้หลุดพ้นจากความตกต่ำของธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ปัจจุบันคือ พยายามผลักดันธุรกิจให้เข้าสู่ตลาดบนและตลาดต่างประเทศ ซึ่งมีกำลังซื้อสูงและยังให้ผลตอบแทนในระดับสูง อีกทางหนึ่งคือ การสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินทรัพย์ โดยปรับธุรกิจให้เข้าสู่ระบบเศรษฐกิจใหม่ โดยใช้ภูมิปัญญาและเทคโนโนโลยีสร้างจุดขายของสินค้าให้แตกต่างและหลุดจากอสังหาริมทรัพย์ทั่วๆ ไป (มีต่อ)

สำหรับเทคโนโลยีที่ถูกนำใช้สร้างมูลค่าเพิ่มคือ เทคโนโลยีสารสนเทศ เทคโนโลยีชีวภาพ และเทคโนโลยีการประหยัดพลังงาน ปัญหาที่เกิดขึ้นกับภาคอสังหาริมทรัพย์ในวันนี้ได้พัฒนาเป็นปัญหาในเชิงของโครงสร้างทางเศรษฐกิจมากกว่าที่จะเป็นปัญหาที่เกิดจากการดำเนินงานทางธุรกิจโดยตรง ทำให้ผู้ประกอบการธุรกิจพัฒนาอสังหาริมทรัพย์จำนวนไม่น้อย ต้องการให้ภาครัฐมีการแก้ปัญหาทั้งระบบอย่างเบ็ดเสร็จ เพื่อเป็นแนวทางในการฟื้นฟูภาคอสังหาริมทรัพย์ไทยให้หลุดพ้นจากภาวะตกต่ำโดยเร็วที่สุด