โบราณคดีเขาปลายบัด : Archaeology of Khao Plai Bat นภสิทธิ์ บุญล้อม, กมลวรรณ นิธินันทน์

By: นภสิทธิ์ บุญล้อมContributor(s): กมลวรรณ นิธินันทน์Call Number: TestINDEX Material type: ArticleArticleSubject(s): โบราณคดี -- การสำรวจ | แหล่งโบราณคดีสมัยประวัติศาสตร์ -- การอนุรักษ์และการบำรุงรักษา | บุรีรัมย์ In: ศิลปากร ปีที่ 59 ฉบับที่ 2 (มีนาคม - เมษายน) 2559 หน้า 37 - 51Summary: จากข้อมูลและหลักฐานจากปราสาทพนมรุ้ง เป็นข้อสรุปที่ชัดเจนว่าเป็นการก่อสร้างตามคติ ความเชื่อทางศาสนา เรื่องการจําลองจักรวาลลงบน พื้นโลก ลักษณะเป็นการเปรียบเทียบเชิงสัญลักษณ์ เปรียบปราสาทประธานเป็นเขาไกลาสหรือเขา พระสุเมรุ ศูนย์กลางของจักรวาล อันเป็นที่ประทับ ของเทพเจ้า คือองค์พระศิวะมหาเทพในศาสนาฮินดู ลัทธิไศวนิกาย ถึงแม้ว่าข้อมูลที่ได้จากการศึกษา ปราสาทปลายบัด 1 และปราสาทปลายบัด 2 ในคราวนี้ยังไม่พบหลักฐานชิ้นสําคัญที่จะยืนยันได้ชัดเจน แต่จากตําแหน่งที่ตั้งปัจจุบันของโบราณสถานปราสาท ปลายบัด 1 และปราสาทปลายบัด 2 และการศึกษา วิเคราะห์เปรียบเทียบในเบื้องต้น สันนิษฐานได้ว่า ปราสาทปลายบัด 1 และปราสาทปลายบัด 2 น่าจะ เป็นรูปแบบของเทวสถานหรือเทวาลัยแบบเดียวกัน กับปราสาทพนมรุ้ง เฉพาะปราสาทปลายบัด 1 นั้น การวิเคราะห์จากรูปแบบศิลปกรรม และส่วนประดับ อาคารสถาปัตยกรรมที่สําคัญ ซึ่งพบจากการขุดแต่ง ทางโบราณคดี เช่น ทับหลังจํานวน 3 ชิ้นจากทั้งหมด 4 ชิ้น ที่แสดงรูปแบบลักษณะทางศิลปกรรมแบบ บาปวน อยู่ในราวครึ่งหลังพุทธศตวรรษที่ 16 ตามเนื้อความในจารึกที่พบ ได้แก่ จารึก ปลายบัด 2 ระบุศักราช มหาศักราช 847 ซึ่ง ตรงกับพุทธศักราช 1468 รัชกาลของพระเจ้า อีสานวรมันที่ 2 แห่งอาณาจักรกัมพูชาและจารึก กรอบประตู ปราสาทปลายบัด 1 ที่ระบุศักราช มหาศักราช 843 ซึ่งตรงกับ พุทธศักราช 1464 รัชกาลของพระเจ้าศรีหรรษวรมันที่ 1 แต่จากตัว อาคารโบราณสถานที่เหลืออยู่ถึงปัจจุบัน และโบราณ วัตถุที่พบจากการขุดแต่งและขุดค้นในครั้งนี้ยังไม่ สอดคล้องกับอายุสมัยที่ระบุในจารึก แต่อย่างน้อยที่สุดก็อาจกล่าวได้ว่า บริเวณพื้นที่เขาปลายบัดแห่งนี้ได้ ใช้เป็นที่ตั้งของศาสนสถานสําคัญตั้งแต่ประมาณ กลางพุทธศตวรรษที่ 15 เป็นต้นมา ผลจากการดําเนินงานขุดแต่งโบราณสถาน ปราสาทปลายบัด 1 ทําให้เห็นได้ชัดเจนว่าโบราณ สถานนี้มีองค์ประกอบอย่างไรบ้าง ส่วนปราสาท ปลายบัด 2 นั้น ยังไม่ได้รับการขุดแต่ง เป็นเนินดินที่ ปกคลุมพื้นที่โบราณสถาน และมีร่องรอยของหินที่ใช้ ในการก่อสร้างโบราณสถาน ซึ่งพังทลายลงมาจํานวน มากที่ถูกฝังอยู่ใต้ชั้นดิน จําเป็นที่จะต้องได้รับการ ขุดแต่งศึกษาหลักฐาน จะทําให้สามารถเห็นได้ชัดเจน ถึงรูปแบบของสิ่งก่อสร้าง ซึ่งกรมศิลปากรจะได้ ดําเนินการขุดแต่งศึกษาปราสาทปลายบัด 2 เพื่อนํา ข้อมูลที่ค้นพบครบถ้วนสมบูรณ์มาเผยแพร่ เป็นประโยชน์ ต่อการศึกษาและการวางแผนเพื่อการอนุรักษ์มรดก ทางศิลปวัฒนธรรมของชาติที่ถูกต้องเหมาะสมต่อไป อีกทั้งการศึกษาด้านโบราณคดีที่เขาปลายบัดก็ยังคง ต้องมีการดําเนินการต่อไป เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ ด้านต่าง ๆ ที่เชื่อมโยงกับศาสนสถานทั้งสองแห่ง ไม่ว่าจะเป็นในด้านสภาพภูมิศาสตร์ แหล่งน้ำเส้นทางการคมนาคมและความเกี่ยวเนื่องกับชุมชนที่อยู่อาศัยรอบภูเขานี้
Star ratings
    Average rating: 0.0 (0 votes)
No physical items for this record

จากข้อมูลและหลักฐานจากปราสาทพนมรุ้ง เป็นข้อสรุปที่ชัดเจนว่าเป็นการก่อสร้างตามคติ ความเชื่อทางศาสนา เรื่องการจําลองจักรวาลลงบน พื้นโลก ลักษณะเป็นการเปรียบเทียบเชิงสัญลักษณ์ เปรียบปราสาทประธานเป็นเขาไกลาสหรือเขา พระสุเมรุ ศูนย์กลางของจักรวาล อันเป็นที่ประทับ ของเทพเจ้า คือองค์พระศิวะมหาเทพในศาสนาฮินดู ลัทธิไศวนิกาย ถึงแม้ว่าข้อมูลที่ได้จากการศึกษา ปราสาทปลายบัด 1 และปราสาทปลายบัด 2 ในคราวนี้ยังไม่พบหลักฐานชิ้นสําคัญที่จะยืนยันได้ชัดเจน แต่จากตําแหน่งที่ตั้งปัจจุบันของโบราณสถานปราสาท ปลายบัด 1 และปราสาทปลายบัด 2 และการศึกษา วิเคราะห์เปรียบเทียบในเบื้องต้น สันนิษฐานได้ว่า ปราสาทปลายบัด 1 และปราสาทปลายบัด 2 น่าจะ เป็นรูปแบบของเทวสถานหรือเทวาลัยแบบเดียวกัน กับปราสาทพนมรุ้ง เฉพาะปราสาทปลายบัด 1 นั้น การวิเคราะห์จากรูปแบบศิลปกรรม และส่วนประดับ อาคารสถาปัตยกรรมที่สําคัญ ซึ่งพบจากการขุดแต่ง ทางโบราณคดี เช่น ทับหลังจํานวน 3 ชิ้นจากทั้งหมด 4 ชิ้น ที่แสดงรูปแบบลักษณะทางศิลปกรรมแบบ บาปวน อยู่ในราวครึ่งหลังพุทธศตวรรษที่ 16 ตามเนื้อความในจารึกที่พบ ได้แก่ จารึก ปลายบัด 2 ระบุศักราช มหาศักราช 847 ซึ่ง ตรงกับพุทธศักราช 1468 รัชกาลของพระเจ้า อีสานวรมันที่ 2 แห่งอาณาจักรกัมพูชาและจารึก กรอบประตู ปราสาทปลายบัด 1 ที่ระบุศักราช มหาศักราช 843 ซึ่งตรงกับ พุทธศักราช 1464 รัชกาลของพระเจ้าศรีหรรษวรมันที่ 1 แต่จากตัว อาคารโบราณสถานที่เหลืออยู่ถึงปัจจุบัน และโบราณ วัตถุที่พบจากการขุดแต่งและขุดค้นในครั้งนี้ยังไม่ สอดคล้องกับอายุสมัยที่ระบุในจารึก แต่อย่างน้อยที่สุดก็อาจกล่าวได้ว่า บริเวณพื้นที่เขาปลายบัดแห่งนี้ได้ ใช้เป็นที่ตั้งของศาสนสถานสําคัญตั้งแต่ประมาณ กลางพุทธศตวรรษที่ 15 เป็นต้นมา ผลจากการดําเนินงานขุดแต่งโบราณสถาน ปราสาทปลายบัด 1 ทําให้เห็นได้ชัดเจนว่าโบราณ สถานนี้มีองค์ประกอบอย่างไรบ้าง ส่วนปราสาท ปลายบัด 2 นั้น ยังไม่ได้รับการขุดแต่ง เป็นเนินดินที่ ปกคลุมพื้นที่โบราณสถาน และมีร่องรอยของหินที่ใช้ ในการก่อสร้างโบราณสถาน ซึ่งพังทลายลงมาจํานวน มากที่ถูกฝังอยู่ใต้ชั้นดิน จําเป็นที่จะต้องได้รับการ ขุดแต่งศึกษาหลักฐาน จะทําให้สามารถเห็นได้ชัดเจน ถึงรูปแบบของสิ่งก่อสร้าง ซึ่งกรมศิลปากรจะได้ ดําเนินการขุดแต่งศึกษาปราสาทปลายบัด 2 เพื่อนํา ข้อมูลที่ค้นพบครบถ้วนสมบูรณ์มาเผยแพร่ เป็นประโยชน์ ต่อการศึกษาและการวางแผนเพื่อการอนุรักษ์มรดก ทางศิลปวัฒนธรรมของชาติที่ถูกต้องเหมาะสมต่อไป อีกทั้งการศึกษาด้านโบราณคดีที่เขาปลายบัดก็ยังคง ต้องมีการดําเนินการต่อไป เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ ด้านต่าง ๆ ที่เชื่อมโยงกับศาสนสถานทั้งสองแห่ง ไม่ว่าจะเป็นในด้านสภาพภูมิศาสตร์ แหล่งน้ำเส้นทางการคมนาคมและความเกี่ยวเนื่องกับชุมชนที่อยู่อาศัยรอบภูเขานี้

Share