การตอบสนองของถั่วเหลืองที่มีอายุแตกต่างกันต่อการเริ่มต้นให้น้ำในช่วงการเจริญเติบโตระยะต่างๆ / วันชัย ถนอมทรัพย์ ... [และคนอื่นๆ]

Contributor(s): วันชัย ถนอมทรัพย์Call Number: INDEX Material type: ArticleArticleSubject(s): ถั่วเหลือง | ถั่วเหลือง -- ระยะการเจริญเติบโต | SCI-TECH In: วิชาการเกษตร ปีที่ 17 ฉบับที่ 1 (มกราคม-เมษายน 2542) หน้า 15 - 25Summary: การทดลองเพื่อตรวจสอบการตอบสนองของถั่วเหลืองที่มีอายุการสุกแก่แตกต่างกัน 3 พันธุ์ ต่อการเริ่มต้นให้น้ำในช่วงการเจริญเติบโตระยะต่างๆ 4 ระยะ บนดินชนิด silty clay loam ที่ศูนย์วิจัยพืชไร่ชัยนาท ระหว่างธันวาคม 2538-มีนาคม 2539 และทำการทดลองซ้ำบนพื้นที่เดียวกันระหว่าง 8มกราคม-20เมษายน 2540 ผลการทดลองของทั้งสองฤดูเป็นไปในแนวเดียวกัน จำนวนครั้งการให้น้ำตลอดฤดูปลูกสำหรับการทดลองปี 2538/39 มีค่า 3-6ครั้ง และการทดลองปี 2540 มีค่า 3-7ครั้ง ปริมาณน้ำที่ให้ตลอดฤดูปลูกมีค่า 124-237 และ 124-282 มม. สำหรับการทดลองปี 2538/39 และ2540 ตามลำดับ ถั่วเหลืองทั้ง 3 พันธุ์ ตอบสนองต่อระยะเวลาการเริ่มต้นให้น้ำในแนวเดียวกัน leaf area index, leaf area duration และ crop growth rate ลดลง อย่างมีนัยสำคัญในทุกระดับของระยะเวลาการเริ่มต้นให้น้ำ โดยค่าดังกล่าวลดลงเมื่อการให้น้ำเริ่มต้นช้า การเริ่มต้นให้น้ำที่ระยะ V4,R1และ R3 ให้ผลผลิตลดลงโดยเฉลี่ย 12-17,26-33 และ 29-44% ตามลำดับ เมื่อเปรียบเทียบกับการให้น้ำเต็มที่ โดยจำนวนฝักต่อต้น เป็นองค์ประกอบผลผลิตหลักที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงผลผลิต การเปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสำคัญของขนาดเมล็ดต่อระยะเวลาการเริ่มต้นให้น้ำพบเฉพาะการทดลองปี 2538/39 ขณะที่จำนวนเมล็ดต่อฝัก ไม่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสำคัญทั้งสองการทดลอง ถั่วเหลืองทั้ง3พันธุ์ ให้ผลผลิตแตกต่างกันทางสถิติเฉพาะการทดลองปี 2540 โดยพันธุ์สจ. 5 ให้ผลผลิตสูงกว่าสุโขทัย 2 และนครสวรรค์ 1 โดยเฉลี่ย 6 และ 18% ตามลำดับ ในส่วนขององค์ประกอบผลผลิตพบว่า นครสวรรค์ 1 มีขนาดเมล็ดใหญ่สุด ขณะที่ สจ.4และสุโขทัย 2 มีจำนวนฝัก ต่อต้น และเมล็ดต่อฝัก สุงสุดตามลำดับ
Star ratings
    Average rating: 0.0 (0 votes)
No physical items for this record

การทดลองเพื่อตรวจสอบการตอบสนองของถั่วเหลืองที่มีอายุการสุกแก่แตกต่างกัน 3 พันธุ์ ต่อการเริ่มต้นให้น้ำในช่วงการเจริญเติบโตระยะต่างๆ 4 ระยะ บนดินชนิด silty clay loam ที่ศูนย์วิจัยพืชไร่ชัยนาท ระหว่างธันวาคม 2538-มีนาคม 2539 และทำการทดลองซ้ำบนพื้นที่เดียวกันระหว่าง 8มกราคม-20เมษายน 2540 ผลการทดลองของทั้งสองฤดูเป็นไปในแนวเดียวกัน จำนวนครั้งการให้น้ำตลอดฤดูปลูกสำหรับการทดลองปี 2538/39 มีค่า 3-6ครั้ง และการทดลองปี 2540 มีค่า 3-7ครั้ง ปริมาณน้ำที่ให้ตลอดฤดูปลูกมีค่า 124-237 และ 124-282 มม. สำหรับการทดลองปี 2538/39 และ2540 ตามลำดับ ถั่วเหลืองทั้ง 3 พันธุ์ ตอบสนองต่อระยะเวลาการเริ่มต้นให้น้ำในแนวเดียวกัน leaf area index, leaf area duration และ crop growth rate ลดลง อย่างมีนัยสำคัญในทุกระดับของระยะเวลาการเริ่มต้นให้น้ำ โดยค่าดังกล่าวลดลงเมื่อการให้น้ำเริ่มต้นช้า การเริ่มต้นให้น้ำที่ระยะ V4,R1และ R3 ให้ผลผลิตลดลงโดยเฉลี่ย 12-17,26-33 และ 29-44% ตามลำดับ เมื่อเปรียบเทียบกับการให้น้ำเต็มที่ โดยจำนวนฝักต่อต้น เป็นองค์ประกอบผลผลิตหลักที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงผลผลิต การเปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสำคัญของขนาดเมล็ดต่อระยะเวลาการเริ่มต้นให้น้ำพบเฉพาะการทดลองปี 2538/39 ขณะที่จำนวนเมล็ดต่อฝัก ไม่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสำคัญทั้งสองการทดลอง ถั่วเหลืองทั้ง3พันธุ์ ให้ผลผลิตแตกต่างกันทางสถิติเฉพาะการทดลองปี 2540 โดยพันธุ์สจ. 5 ให้ผลผลิตสูงกว่าสุโขทัย 2 และนครสวรรค์ 1 โดยเฉลี่ย 6 และ 18% ตามลำดับ ในส่วนขององค์ประกอบผลผลิตพบว่า นครสวรรค์ 1 มีขนาดเมล็ดใหญ่สุด ขณะที่ สจ.4และสุโขทัย 2 มีจำนวนฝัก ต่อต้น และเมล็ดต่อฝัก สุงสุดตามลำดับ