ความเป็นพิษของเมล็ดเล็บมือนาง / ทรงพล ชีวะพัฒน์, ปราณี ชวลิตธำรง, ปราณี จันทเพ็ชร

By: ทรงพล ชีวะพัฒน์Contributor(s): ปราณี ชวลิตธำรง | ปราณี จันทเพ็ชรCall Number: INDEX Material type: ArticleArticleSubject(s): สมุนไพร In: กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ปีที่ 40 ฉบับที่ 1 (มกราคม - มีนาคม 2541) หน้า 9-21Summary: เล็บมือนาง เป็นพืชสมุนไพรพบตามธรรมชาติและปลูกได้ในเขตร้อน ลักษณะเป็นพืชไม้เลื้อย กิ่งอ่อนมักมีขนปกคลุม ใบเดี่ยวติดกับลำต้นแบบตรงข้าม ก้านใบยาว 1-2 ซม. มีขน ใบมีรูปรีหรือรูปไข่ กว้าง 2-9 ซม. ยาว 5-18 ซม. ดอกออกเป็นช่อใหญ่ ก้านยาวคล้ายดอกปีบ แรกออกสีขาว ต่อมาเปลี่ยนเป็นสีแดงจัด มีผลกลมโตเป็นมะเฟือง คล้ายลูกมะเฟือง สีน้ำตาลแดงเป็นมัน มี 5 พู ขนาดกว้าง 0.5-1.25 ซม. ยาว 2-4 ซม. (มีต่อ)Summary: ภายในมีเมล็ดเป็นรูปกระสวยยาวประมาณ 2.5 ซม. ซึ่งเล็บมือนางสามารถขับพยาธิไส้เดือนได้ โดยการนำไปบุบพอแตกแล้วต้มเอาน้ำดื่ม แต่ถ้ามีประโยชน์แล้วสมุนไพรก็จะมีโทษด้วยคือ มีฤทธิ์กระตุ้นเซลล์ประสาททำให้เกิดอาการเกร็ง ชักกระตุกและตายได้เมื่อนำไปใช้ทดลองกับสัตว์
Star ratings
    Average rating: 0.0 (0 votes)
No physical items for this record

เล็บมือนาง เป็นพืชสมุนไพรพบตามธรรมชาติและปลูกได้ในเขตร้อน ลักษณะเป็นพืชไม้เลื้อย กิ่งอ่อนมักมีขนปกคลุม ใบเดี่ยวติดกับลำต้นแบบตรงข้าม ก้านใบยาว 1-2 ซม. มีขน ใบมีรูปรีหรือรูปไข่ กว้าง 2-9 ซม. ยาว 5-18 ซม. ดอกออกเป็นช่อใหญ่ ก้านยาวคล้ายดอกปีบ แรกออกสีขาว ต่อมาเปลี่ยนเป็นสีแดงจัด มีผลกลมโตเป็นมะเฟือง คล้ายลูกมะเฟือง สีน้ำตาลแดงเป็นมัน มี 5 พู ขนาดกว้าง 0.5-1.25 ซม. ยาว 2-4 ซม. (มีต่อ)

ภายในมีเมล็ดเป็นรูปกระสวยยาวประมาณ 2.5 ซม. ซึ่งเล็บมือนางสามารถขับพยาธิไส้เดือนได้ โดยการนำไปบุบพอแตกแล้วต้มเอาน้ำดื่ม แต่ถ้ามีประโยชน์แล้วสมุนไพรก็จะมีโทษด้วยคือ มีฤทธิ์กระตุ้นเซลล์ประสาททำให้เกิดอาการเกร็ง ชักกระตุกและตายได้เมื่อนำไปใช้ทดลองกับสัตว์