สภาวะที่เหมาะสมในการผลิตเซลลูโลสจากแบคทีเรียจากน้ำเปลือแตงโมโดยเชื้อ Komagataeibacter sp. PAP1 ดวงใจ โอชัยกุล

By: ดวงใจ โอชัยกุลCall Number: INDEX Material type: ArticleArticleGenre/Form: เซลลูโลสจากแบคทีเรีย | เปลือกแตงโม Online resources: บทความฉบับเต็มภาษาไทย In: วิทยาศาสตร์ มศว ปีที่ 36 ฉบับที่ 1 (มกราคม-มิถุนายน 2563) หน้า 205-218Summary: เซลลูโลสจากแบคทีเรียสามารถผลิตได้จากจุลินทรีย์หลายชนิด โดยใช้วัตถุดิบที่เป็นผลพลอยได้ทางการเกษตร งานวิจัยมีจุดประสงค์ที่จะใช้เปลือกแตงโมซึ่งเป็นของเหลือทิ้งมาเป็นวัตถุดิบราคาถูกในการผลิตเซลลูโลสจากแบคทีเรียโดยใช้ Komagataeibacter sp. PAP1 และศึกษาคุณสมบัติของกระดาษที่ได้จากเซลลูโลสที่ได้จากการเลี้ยงเชื้อในอาหารน้ำเปลือกแตงโมและอาหารมาตรฐาน Hestrin-Schramm (HS medium) น้ำเปลือกแตงโมสามารถนำมาใช้ผลิตเซลลูโลสจากแบคทีเรียได้อย่างดี สภาวะที่เหมาะสมในการผลิตเซลลูโลสจากแบคทีเรียโดยใช้น้ำเปลือกแตงโมเป็นอาหารเลี้ยงเชื้อ มีการเติมน้ำตาลแมนนิทอลความเข้มข้นร้อยละ 5 (น้ำหนักต่อปริมาตร) เติมไดแอมโมเนียมฟอสเฟตความเข้มข้นร้อยละ 0.1 (น้ำหนักต่อปริมาตร) และปรับพีเอชเริ่มต้น 6.0 บ่มที่อุณหภูมิ 30 องศาเซลเซียส นาน 7 วัน โดยให้ผลผลิตเซลลูโลส 6.20 ± 0.25 กรัมต่อลิตร ซึ่งสูงกว่าการเพาะเลี้ยงในอาหารมาตรฐาน HS 1.94 เท่า กระดาษที่ได้จากการเพาะเลี้ยงในน้ำเปลือกแตงโมจะมีค่าความแข็งแรงสูงกว่ากระดาษที่ได้จากการเพาะเลี้ยงในอาหารมาตรฐาน HS การศึกษานี้แสดงให้เห็นว่าเปลือกแตงโมสามารถนำมาใช้ผลิตเซลลูโลสจากแบคทีเรียได้และมีต้นทุนที่ถูกลง
Star ratings
    Average rating: 0.0 (0 votes)
No physical items for this record

เซลลูโลสจากแบคทีเรียสามารถผลิตได้จากจุลินทรีย์หลายชนิด โดยใช้วัตถุดิบที่เป็นผลพลอยได้ทางการเกษตร งานวิจัยมีจุดประสงค์ที่จะใช้เปลือกแตงโมซึ่งเป็นของเหลือทิ้งมาเป็นวัตถุดิบราคาถูกในการผลิตเซลลูโลสจากแบคทีเรียโดยใช้ Komagataeibacter sp. PAP1 และศึกษาคุณสมบัติของกระดาษที่ได้จากเซลลูโลสที่ได้จากการเลี้ยงเชื้อในอาหารน้ำเปลือกแตงโมและอาหารมาตรฐาน Hestrin-Schramm (HS medium) น้ำเปลือกแตงโมสามารถนำมาใช้ผลิตเซลลูโลสจากแบคทีเรียได้อย่างดี สภาวะที่เหมาะสมในการผลิตเซลลูโลสจากแบคทีเรียโดยใช้น้ำเปลือกแตงโมเป็นอาหารเลี้ยงเชื้อ มีการเติมน้ำตาลแมนนิทอลความเข้มข้นร้อยละ 5 (น้ำหนักต่อปริมาตร) เติมไดแอมโมเนียมฟอสเฟตความเข้มข้นร้อยละ 0.1 (น้ำหนักต่อปริมาตร) และปรับพีเอชเริ่มต้น 6.0 บ่มที่อุณหภูมิ 30 องศาเซลเซียส นาน 7 วัน โดยให้ผลผลิตเซลลูโลส 6.20 ± 0.25 กรัมต่อลิตร ซึ่งสูงกว่าการเพาะเลี้ยงในอาหารมาตรฐาน HS 1.94 เท่า กระดาษที่ได้จากการเพาะเลี้ยงในน้ำเปลือกแตงโมจะมีค่าความแข็งแรงสูงกว่ากระดาษที่ได้จากการเพาะเลี้ยงในอาหารมาตรฐาน HS การศึกษานี้แสดงให้เห็นว่าเปลือกแตงโมสามารถนำมาใช้ผลิตเซลลูโลสจากแบคทีเรียได้และมีต้นทุนที่ถูกลง