การรับสารพิษจากการพ่นสารเคมีป้องกันกำจัดศัตรูพืช / ไพศาล รัตนเสถียร

By: ไพศาล รัตนเสถียรCall Number: INDEX Material type: ArticleArticleSubject(s): สารเคมี -- การป้องกัน | สารเคมี | แมลงศัตรูพืช -- การควบคุม | SCI-TECH In: กีฏและสัตววิทยา ปีที่ 20 ฉบับที่ 4 (ตุลาคม-ธันวาคม 2541) หน้า 272 - 281Summary: การพ่นสารเคมีป้องกันกำจัดศัตรูพืชแต่ละครั้งนั้น เกษตรหรือผู้รับจ้างพ่นต้องสัมผัสหรือได้รับสารเคมีอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ เนื่องจากสารพิษสามารถเข้าสู่ร่างกายได้ 3ทางด้วยกัน คือ ซึมผ่านผิวหนัง,ผ่านทางระบบหายใจ และได้จากอาหารที่รับประทาน การได้รับพิษจากการพ่นสารเคมีนั้นมีมากหรือน้อยเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุเช่น 1. สัมผัสกับสารเคมีขณะขนย้ายหรือขณะบรรจุหีบห่อ การขนย้ายสารเคมีจากโรงงานผู้ผลิตไปยังร้ายค้า หรือจากร้านค้าสู่เกษตรเป็นทางหนึ่งที่ผู้เกี่ยวข้องหรือเกษตรได้รับสารพิษโดยเฉพาะการขนย้ายสารเคมีที่บรรจุในขวดแก้วต้องระมัดระวังอย่างยิ่งเนื่องจากขวดแก้วอาจแตกได้ การขนส่งสารเคมีพร้อมกับอาหารและอุปรณ์อื่นๆก็ต้องระวังเช่นกัน เพราะภาชนะบรรจุสารเคมีอาจแตกหรือชำรุดทำให้สารเคมีปนเปื้อนกับอุปรณ์เครื่องใช้ได้ (มีต่อ)Summary: 2. สัมผัสกับสารเคมีขณะปฏิบัติงาน เกษตรผู้พ่นสารเคมีส่วนมากจะไม่ค่อยระมัดระวังในการพ่นมากนัก ส่วนใหญ่จะใส่เฉพาะเสื้อแขนยาวกางเกงขายาวเท่านั้นไม่ใส่รองเท้า หรือบางคนอาจใส่หมวกใช้ผ้าขาวม้าพันปิดปาก ไม่ใส่หน้ากากในการป้องกันสารเคมี และวิธีการพ่นสารเคมีน้นจะเดินพ่นไปข้างหน้ากวาดหรือส่ายหัวฉีดไปมา แม้ว่าจะมีกระแสลมพัดสวนมาก็ตาม บางครั้งจะทำการพ่นสวนกับทิศทางลม ทำให้คนพ่นและคนที่อยู่ข้างเคียงได้รับสารเคมีหมดทุกคนเป็นระยะเวลานานประมาณ 2-3 ชั่วโมงต่อการปฏิบัติงานแต่ละครั้ง นอกจากนี้ยังพบว่าเกษตรกรจะใช้มือเปล่าจับขวดและเปิดฝาขวด การผสมสารเคมีและการตวงวัดก็ปฏิบัติทำนองเดียวกัน จะไม่ค่อยอ่านคำแนะนำและวิธีการใช้แต่จะปฏิบัติตามเพื่อนบ้านหรือคำแนะนำจากร้านค้าเป็นส่วนใหญ่ นอกจากนี้เครื่องพ่นก็เป็นปัจจัยสำคัญเช่นกัน คือจะต้องดูแลเครื่องพ่นไม่ให้เกิดการชำรุด ต้องบำรุงรักษาามิให้มีรอยรั่วซึมของเครื่องพ่น 3. สัมผัสกับสารเคมีขณะกำลังชำระล้างอุปกรณ์และทำความสะอาดเสื้อผ้าชุดป้องกัน การทำความสะอาดเครื่องพ่นเป็นอีกทางหนึ่งที่เกษตรจะได้รับสารพิษได้ นอกจากนั้นหากขาดความรอบคอบอาจเป็นสาเหตุทำให้สภาพแวดล้อม เช่น แหล่งน้ำเป็นแหล่งสะสมสารพิษได้ (มีต่อ)Summary: ข้อเสนอแนะแนวทางแก้ไข 1. ให้ความรู้เกี่ยวกับสารเคมีต่อเกษตรกรอย่างเข้มและต่อเนื่อง เพื่อให้เกษตรตระหนักและเข้าใจอันตรายที่อาจเกิดขึ้น และสามารถเลือกใช้สารเคมีที่ถูกต้องและปลอดภัย 2. ให้ความรู้ด้านการใช้เครื่องมือพ่นและอุปกรณ์ต่างๆ อย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพตลอดจนการบำรุงดูแลรักษา 3. ให้ความรู้ในด้านการใช้อุปกรณ์ป้องกันตนเอง เช่น หน้ากาก ถุงมือ ชุดเสื้อป้องกัน เป็นต้น 4. ให้ความรู้ในด้านเทคนิคการใช้สารเคมีหรือการพ่นสารเคมี ที่ถูกต้องและเหมาะสมเพื่อให้เกษตรกรรับทราบและเรียนรู้การพ่นสารเคมีที่มีประสิทธิภาพและปลอดภัยต่อตัวเกษตรกรเอง 5. ให้ความรู้ด้านการจัดการกับสารเคมีหรือสารเคมีที่เสื่อมสภาพ หรือการจัดการเก็บภาชนะที่บรรจุสารเคมี
Star ratings
    Average rating: 0.0 (0 votes)
No physical items for this record

การพ่นสารเคมีป้องกันกำจัดศัตรูพืชแต่ละครั้งนั้น เกษตรหรือผู้รับจ้างพ่นต้องสัมผัสหรือได้รับสารเคมีอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ เนื่องจากสารพิษสามารถเข้าสู่ร่างกายได้ 3ทางด้วยกัน คือ ซึมผ่านผิวหนัง,ผ่านทางระบบหายใจ และได้จากอาหารที่รับประทาน การได้รับพิษจากการพ่นสารเคมีนั้นมีมากหรือน้อยเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุเช่น 1. สัมผัสกับสารเคมีขณะขนย้ายหรือขณะบรรจุหีบห่อ การขนย้ายสารเคมีจากโรงงานผู้ผลิตไปยังร้ายค้า หรือจากร้านค้าสู่เกษตรเป็นทางหนึ่งที่ผู้เกี่ยวข้องหรือเกษตรได้รับสารพิษโดยเฉพาะการขนย้ายสารเคมีที่บรรจุในขวดแก้วต้องระมัดระวังอย่างยิ่งเนื่องจากขวดแก้วอาจแตกได้ การขนส่งสารเคมีพร้อมกับอาหารและอุปรณ์อื่นๆก็ต้องระวังเช่นกัน เพราะภาชนะบรรจุสารเคมีอาจแตกหรือชำรุดทำให้สารเคมีปนเปื้อนกับอุปรณ์เครื่องใช้ได้ (มีต่อ)

2. สัมผัสกับสารเคมีขณะปฏิบัติงาน เกษตรผู้พ่นสารเคมีส่วนมากจะไม่ค่อยระมัดระวังในการพ่นมากนัก ส่วนใหญ่จะใส่เฉพาะเสื้อแขนยาวกางเกงขายาวเท่านั้นไม่ใส่รองเท้า หรือบางคนอาจใส่หมวกใช้ผ้าขาวม้าพันปิดปาก ไม่ใส่หน้ากากในการป้องกันสารเคมี และวิธีการพ่นสารเคมีน้นจะเดินพ่นไปข้างหน้ากวาดหรือส่ายหัวฉีดไปมา แม้ว่าจะมีกระแสลมพัดสวนมาก็ตาม บางครั้งจะทำการพ่นสวนกับทิศทางลม ทำให้คนพ่นและคนที่อยู่ข้างเคียงได้รับสารเคมีหมดทุกคนเป็นระยะเวลานานประมาณ 2-3 ชั่วโมงต่อการปฏิบัติงานแต่ละครั้ง นอกจากนี้ยังพบว่าเกษตรกรจะใช้มือเปล่าจับขวดและเปิดฝาขวด การผสมสารเคมีและการตวงวัดก็ปฏิบัติทำนองเดียวกัน จะไม่ค่อยอ่านคำแนะนำและวิธีการใช้แต่จะปฏิบัติตามเพื่อนบ้านหรือคำแนะนำจากร้านค้าเป็นส่วนใหญ่ นอกจากนี้เครื่องพ่นก็เป็นปัจจัยสำคัญเช่นกัน คือจะต้องดูแลเครื่องพ่นไม่ให้เกิดการชำรุด ต้องบำรุงรักษาามิให้มีรอยรั่วซึมของเครื่องพ่น 3. สัมผัสกับสารเคมีขณะกำลังชำระล้างอุปกรณ์และทำความสะอาดเสื้อผ้าชุดป้องกัน การทำความสะอาดเครื่องพ่นเป็นอีกทางหนึ่งที่เกษตรจะได้รับสารพิษได้ นอกจากนั้นหากขาดความรอบคอบอาจเป็นสาเหตุทำให้สภาพแวดล้อม เช่น แหล่งน้ำเป็นแหล่งสะสมสารพิษได้ (มีต่อ)

ข้อเสนอแนะแนวทางแก้ไข 1. ให้ความรู้เกี่ยวกับสารเคมีต่อเกษตรกรอย่างเข้มและต่อเนื่อง เพื่อให้เกษตรตระหนักและเข้าใจอันตรายที่อาจเกิดขึ้น และสามารถเลือกใช้สารเคมีที่ถูกต้องและปลอดภัย 2. ให้ความรู้ด้านการใช้เครื่องมือพ่นและอุปกรณ์ต่างๆ อย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพตลอดจนการบำรุงดูแลรักษา 3. ให้ความรู้ในด้านการใช้อุปกรณ์ป้องกันตนเอง เช่น หน้ากาก ถุงมือ ชุดเสื้อป้องกัน เป็นต้น 4. ให้ความรู้ในด้านเทคนิคการใช้สารเคมีหรือการพ่นสารเคมี ที่ถูกต้องและเหมาะสมเพื่อให้เกษตรกรรับทราบและเรียนรู้การพ่นสารเคมีที่มีประสิทธิภาพและปลอดภัยต่อตัวเกษตรกรเอง 5. ให้ความรู้ด้านการจัดการกับสารเคมีหรือสารเคมีที่เสื่อมสภาพ หรือการจัดการเก็บภาชนะที่บรรจุสารเคมี