ความเชื่อถือได้ของการวินิจฉัยการเมาสุราโดยวิธีสังเกตอาการ / ชนิดา พลานุเวช ... [และคนอื่นๆ]

Contributor(s): ชนิดา พลานุเวชCall Number: INDEX Material type: ArticleArticleSubject(s): SCI-TECH | เครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ -- วิจัย In: วิจัยวิทยาศาสตร์การแพทย์ ปีที่ 14 ฉบับที่ 2 (กันยายน 2543) หน้า 77-85Summary: งานวิจัยนี้เป็นการศึกษาความเชื่อถือได้ของวิธีวินิจฉัยการเมาสุราโดยสังเกตอาการ และลักษณะภายนอกต่างๆ ของผู้ประสบอุบัติเหตุจราจร ที่มารับการรักษาพยาบาลที่ห้องฉุกเฉินของโรงพยาบาลตำรวจ เปรียบเทียบกับผลการตรวจสอบระดับแอลกอฮอล์ในเลือดโดยวิธีแกสโครมาโตกราฟี และใช้เกณฑ์ตัดสินตามพระราชบัญญัติจราจรทางบกว่า หากมีระดับแอลกอฮอล์ในเลือดสูงเกินกว่า 50 มิลลิกรัมต่อเลือด 100 มิลลิลิตร (มก.%) ถือว่าเมาสุรา มีผู้ป่วยทั้งหมดที่ศึกษาจำนวน 2,099 ราย ยินยอมให้เจาะเลือด 643 ราย ผลการศึกษาในผู้ป่วยที่ยินยอมให้เจาะเลือด จำนวน 643 ราย พบว่าวิธีสังเกตอาการ คาดการณ์ผลบวกได้ร้อยละ 84.1 และคาดการณ์ผลลบได้ร้อยละ 80.6 เมื่อนำวิธีนี้ไปใช้วินิจฉัยผู้ป่วยทั้งหมดจำนวน 2,099 ราย พบว่าเป็นผู้เมาสุราร้อยละ 23.3 เมื่อจำแนกตามสถานภาพการขับขี่พบว่า เป็นผู้ขับขี่เมาสุราร้อยละ 28.8 ผู้โดยสารเมาสุราร้อยละ 17.0 และคนเดินเท้าเมาสุราร้อยละ 11.6 ในจำนวนผู้ที่สังเกตอาการพบว่าเมาสุรา ยอมรับว่าได้ดื่มสุราก่อนเกิดอุบัติเหตุจราจรร้อยละ 86.5
Star ratings
    Average rating: 0.0 (0 votes)
No physical items for this record

งานวิจัยนี้เป็นการศึกษาความเชื่อถือได้ของวิธีวินิจฉัยการเมาสุราโดยสังเกตอาการ และลักษณะภายนอกต่างๆ ของผู้ประสบอุบัติเหตุจราจร ที่มารับการรักษาพยาบาลที่ห้องฉุกเฉินของโรงพยาบาลตำรวจ เปรียบเทียบกับผลการตรวจสอบระดับแอลกอฮอล์ในเลือดโดยวิธีแกสโครมาโตกราฟี และใช้เกณฑ์ตัดสินตามพระราชบัญญัติจราจรทางบกว่า หากมีระดับแอลกอฮอล์ในเลือดสูงเกินกว่า 50 มิลลิกรัมต่อเลือด 100 มิลลิลิตร (มก.%) ถือว่าเมาสุรา มีผู้ป่วยทั้งหมดที่ศึกษาจำนวน 2,099 ราย ยินยอมให้เจาะเลือด 643 ราย ผลการศึกษาในผู้ป่วยที่ยินยอมให้เจาะเลือด จำนวน 643 ราย พบว่าวิธีสังเกตอาการ คาดการณ์ผลบวกได้ร้อยละ 84.1 และคาดการณ์ผลลบได้ร้อยละ 80.6 เมื่อนำวิธีนี้ไปใช้วินิจฉัยผู้ป่วยทั้งหมดจำนวน 2,099 ราย พบว่าเป็นผู้เมาสุราร้อยละ 23.3 เมื่อจำแนกตามสถานภาพการขับขี่พบว่า เป็นผู้ขับขี่เมาสุราร้อยละ 28.8 ผู้โดยสารเมาสุราร้อยละ 17.0 และคนเดินเท้าเมาสุราร้อยละ 11.6 ในจำนวนผู้ที่สังเกตอาการพบว่าเมาสุรา ยอมรับว่าได้ดื่มสุราก่อนเกิดอุบัติเหตุจราจรร้อยละ 86.5