การประกอบอาชีพส่วนตัวของบัณฑิตสาขาสังคมศาสตร์ / เพ็ญแข แสงแก้ว

By: เพ็ญแข แสงแก้วCall Number: INDEX Material type: ArticleArticleSubject(s): SCI-TECH | บัณฑิต -- การมีงานทำ | บัณฑิต -- วิจัย In: วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ปีที่ 7 ฉบับที่ 2 (กรกฎาคม-ธันวาคม 2542) หน้า 72-84Summary: การวิจัยเรื่องการประกอบอาชีพส่วนตัวของบัณฑิตสาขาสังคมศาสตร์นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวโน้มของการประกอบอาชีพส่วนตัวของบัณฑิตใหม่สาขาสังคมศาสตร์ ศึกษาเปรียบเทียบคุณลักษณะทั่วไปและคุณลักษณะของความเป็นผู้ประกอบการของบัณฑิตสาขาสังคมศาสตร์ที่ประกอบอาชีพส่วนตัวและอาชีพอื่น ศึกษาสถานภาพการประกอบอาชีพของบัณฑิตสาขาสังคมศาสตร์ และศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการจำแนกบัณฑิตสาขาสังคมศาสตร์ออกเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มอาชีพส่วนตัว และกลุ่มอาชีพอื่น (มีต่อ)Summary: ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ อัตราการประกอบอาชีพส่วนตัวของบัณฑิตใหม่สาขาสังคมศาสตร์ในอดีตช่วงปี พ.ศ. 2522-2539 อยู่ในระดับที่ต่ำมาก (ร้อยละ 3.4-7.92 เท่านั้น) และจากการพยากรณ์คาดว่า อัตราการประกอบอาชีพส่วนตัวของบัณฑิตใหม่สาขาสังคมศาสตร์ ปี 2540 ลดลงเหลือร้อยละ 1.90 เท่านั้น จากการสำรวจพบว่า การประกอบอาชีพของบัณฑิตสาขาสังคมศาสตร์ขึ้นอยู่กับคุณลักษณะทางประชากร และภูมิหลังทางครอบครัวได้แก่ เขตที่อยู่อาศัย อายุ สถานภาพสมรส การศึกษาของมารดา และสัดส่วนของจำนวนพี่-น้อง ที่ประกอบอาชีพส่วนตัว (มีต่อ)Summary: นอกจากนี้ยังพบว่า คุณลักษณะความเป็นผู้ประกอบการโดยรวมของบัณฑิตที่ประกอบอาชีพส่วนตัวไม่ได้สูงกว่าบัณฑิตที่ประกอบอาชีพอื่นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ บัณฑิตที่ประกอบอาชีพส่วนตัวส่วนใหญ่เข้าสู่อาชีพนี้เพราะ ต้องช่วยกิจการของครอบครัว โดยนำความรู้ที่เรียนมาประยุกต์ใช้กับงานได้ไม่มากนัก และจากผลการวิเคราะห์จำแนกประเภทพบว่า ตัวแปรทั้ง 14 ตัวแปรได้แก่ เพศ อายุ การเป็นบุตรคนแรก เกรดเฉลี่ย การมีเชื้อจีน การประกอบอาชีพส่วนตัวของบิดา การประกอบอาชีพส่วนตัวของพี่-น้อง (มีต่อ)Summary: การศึกษาโดยเฉลี่ยของบิดา-มารดา การศึกษาโดยเฉลี่ยของพี่-น้อง การเปลี่ยนอาชีพ เป้าหมายในการประกอบอาชีพ ความชอบอาชีพส่วนตัว และความพร้อมในด้านเงินทุน สามารถจำแนกบัณฑิตสาขาสังคมศาสตร์ออกเป็น 2 กลุ่มอาชีพดังกล่าว ได้ถูกต้องร้อยละ 87.8 การวิจัยครั้งนี้ได้ข้อเสนอแนะว่าควรสร้างหรือปรับปรุงหลักสูตรเพื่อให้บัณฑิตได้มีพื้นความรู้และทักษะที่จะนำไปใช้ในการประกอบอาชีพส่วนตัวได้อย่างมีศักยภาพ นอกจากนี้รัฐและเอกชนควรร่วมมือกัน ในการจัดฝึกอบรมเพื่อเป็นการเตรียมบัณฑิตเข้าสู่อาชีพส่วนตัวด้วยความมั่นใจมากขึ้น และรัฐควรจัดหาแหล่งเงินทุนเพื่อให้บัณฑิตกู้ยืมเงินในอัตราดอกเบี้ยต่ำไปก่อตั้งกิจการได้ด้วยตนเอง
Star ratings
    Average rating: 0.0 (0 votes)
No physical items for this record

การวิจัยเรื่องการประกอบอาชีพส่วนตัวของบัณฑิตสาขาสังคมศาสตร์นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวโน้มของการประกอบอาชีพส่วนตัวของบัณฑิตใหม่สาขาสังคมศาสตร์ ศึกษาเปรียบเทียบคุณลักษณะทั่วไปและคุณลักษณะของความเป็นผู้ประกอบการของบัณฑิตสาขาสังคมศาสตร์ที่ประกอบอาชีพส่วนตัวและอาชีพอื่น ศึกษาสถานภาพการประกอบอาชีพของบัณฑิตสาขาสังคมศาสตร์ และศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการจำแนกบัณฑิตสาขาสังคมศาสตร์ออกเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มอาชีพส่วนตัว และกลุ่มอาชีพอื่น (มีต่อ)

ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ อัตราการประกอบอาชีพส่วนตัวของบัณฑิตใหม่สาขาสังคมศาสตร์ในอดีตช่วงปี พ.ศ. 2522-2539 อยู่ในระดับที่ต่ำมาก (ร้อยละ 3.4-7.92 เท่านั้น) และจากการพยากรณ์คาดว่า อัตราการประกอบอาชีพส่วนตัวของบัณฑิตใหม่สาขาสังคมศาสตร์ ปี 2540 ลดลงเหลือร้อยละ 1.90 เท่านั้น จากการสำรวจพบว่า การประกอบอาชีพของบัณฑิตสาขาสังคมศาสตร์ขึ้นอยู่กับคุณลักษณะทางประชากร และภูมิหลังทางครอบครัวได้แก่ เขตที่อยู่อาศัย อายุ สถานภาพสมรส การศึกษาของมารดา และสัดส่วนของจำนวนพี่-น้อง ที่ประกอบอาชีพส่วนตัว (มีต่อ)

นอกจากนี้ยังพบว่า คุณลักษณะความเป็นผู้ประกอบการโดยรวมของบัณฑิตที่ประกอบอาชีพส่วนตัวไม่ได้สูงกว่าบัณฑิตที่ประกอบอาชีพอื่นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ บัณฑิตที่ประกอบอาชีพส่วนตัวส่วนใหญ่เข้าสู่อาชีพนี้เพราะ ต้องช่วยกิจการของครอบครัว โดยนำความรู้ที่เรียนมาประยุกต์ใช้กับงานได้ไม่มากนัก และจากผลการวิเคราะห์จำแนกประเภทพบว่า ตัวแปรทั้ง 14 ตัวแปรได้แก่ เพศ อายุ การเป็นบุตรคนแรก เกรดเฉลี่ย การมีเชื้อจีน การประกอบอาชีพส่วนตัวของบิดา การประกอบอาชีพส่วนตัวของพี่-น้อง (มีต่อ)

การศึกษาโดยเฉลี่ยของบิดา-มารดา การศึกษาโดยเฉลี่ยของพี่-น้อง การเปลี่ยนอาชีพ เป้าหมายในการประกอบอาชีพ ความชอบอาชีพส่วนตัว และความพร้อมในด้านเงินทุน สามารถจำแนกบัณฑิตสาขาสังคมศาสตร์ออกเป็น 2 กลุ่มอาชีพดังกล่าว ได้ถูกต้องร้อยละ 87.8 การวิจัยครั้งนี้ได้ข้อเสนอแนะว่าควรสร้างหรือปรับปรุงหลักสูตรเพื่อให้บัณฑิตได้มีพื้นความรู้และทักษะที่จะนำไปใช้ในการประกอบอาชีพส่วนตัวได้อย่างมีศักยภาพ นอกจากนี้รัฐและเอกชนควรร่วมมือกัน ในการจัดฝึกอบรมเพื่อเป็นการเตรียมบัณฑิตเข้าสู่อาชีพส่วนตัวด้วยความมั่นใจมากขึ้น และรัฐควรจัดหาแหล่งเงินทุนเพื่อให้บัณฑิตกู้ยืมเงินในอัตราดอกเบี้ยต่ำไปก่อตั้งกิจการได้ด้วยตนเอง