การศึกษาเบื้องต้นเกี่ยวกับผลกระทบจากนกที่มีต่อสิ่งแวดล้อมศิลปกรรม กรณีศึกษา : หมู่พระวิมาน พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร / โรจน์ คุณเอนก

By: โรจน์ คุณเอนกCall Number: INDEX Material type: ArticleArticleSubject(s): SCI-TECH | ศิลปกรรม -- การอนุรักษ์และการบำรุงรักษา In: วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ปีที่ 7 ฉบับที่ 2 (กรกฎาคม-ธันวาคม 2542) หน้า 65-71Summary: การศึกษาเบื้องต้นเกี่ยวกับผลกระทบของนกที่มีผลต่อการเสื่อมสภาพของหมู่พระวิมาน โดยศึกษาจำแนกชนิดของนกที่พบในบริเวณตัวอาคารหมู่พระวิมาน และศึกษาการเปลี่ยนแปลงจำนวนประชากรเฉพาะนกพิราบที่อาศัยเกาะอยู่ในบริเวณต่างๆ ของอาคารในรอบปี โดยการเดินสำรวจและนับจำนวนทั้งหมด (total count) ทั้งนี้นับอาทิตย์ละ 1 ครั้งเป็นเวลา 1 ปี ผลการศึกษาพบว่านกแสก (Bam Oul : Tyto alba) นกเขาใหญ่ (Spofted Dove : Steptopelia Chinensis) นกกางเขน (Orienfal magpie-Robin : Copsychus saularis) นกเอี้ยงหงอน (White-vented Myna : Acriddofhers javanicus) และนกกระจอก (Eurasian Tree-Sparrow :Passer montanus) (มีต่อ)Summary: ซึ่งพบกระจายอยู่ทั่วไปเสมอๆ ส่วนนกพิราบที่พบที่หมู่พระวิมานเป็นนกพิราบป่า (Rock Pigeon : Columba Livia) ที่มีจำนวนประชากรเปลี่ยนแปลงอยู่ในช่วงระหว่าง 86 ถึง 399 ตัว โดยมีจำนวนประชากรเฉลี่ย 173 ตัว ทั้งนี้ด้านที่มีนกพิราบอาศัยอยู่มากที่สุด คือด้านทิศใต้ และน้อยที่สุด คือภายในสวนกลางอาคารด้านทิศใต้ ซึ่งเมื่อทดสอบความแตกต่างของจำนวนนกพิราบในแต่ละทิศแล้วพบว่าไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับความเชื่อมั่น 95 เปอร์เซนต์ และหากมองในระดับด้านพบว่าด้านทิศใต้ของพระที่นั่งอิศราวินิจฉัยมีนกพิราบอาศัยอยู่มากที่สุด
Star ratings
    Average rating: 0.0 (0 votes)
No physical items for this record

การศึกษาเบื้องต้นเกี่ยวกับผลกระทบของนกที่มีผลต่อการเสื่อมสภาพของหมู่พระวิมาน โดยศึกษาจำแนกชนิดของนกที่พบในบริเวณตัวอาคารหมู่พระวิมาน และศึกษาการเปลี่ยนแปลงจำนวนประชากรเฉพาะนกพิราบที่อาศัยเกาะอยู่ในบริเวณต่างๆ ของอาคารในรอบปี โดยการเดินสำรวจและนับจำนวนทั้งหมด (total count) ทั้งนี้นับอาทิตย์ละ 1 ครั้งเป็นเวลา 1 ปี ผลการศึกษาพบว่านกแสก (Bam Oul : Tyto alba) นกเขาใหญ่ (Spofted Dove : Steptopelia Chinensis) นกกางเขน (Orienfal magpie-Robin : Copsychus saularis) นกเอี้ยงหงอน (White-vented Myna : Acriddofhers javanicus) และนกกระจอก (Eurasian Tree-Sparrow :Passer montanus) (มีต่อ)

ซึ่งพบกระจายอยู่ทั่วไปเสมอๆ ส่วนนกพิราบที่พบที่หมู่พระวิมานเป็นนกพิราบป่า (Rock Pigeon : Columba Livia) ที่มีจำนวนประชากรเปลี่ยนแปลงอยู่ในช่วงระหว่าง 86 ถึง 399 ตัว โดยมีจำนวนประชากรเฉลี่ย 173 ตัว ทั้งนี้ด้านที่มีนกพิราบอาศัยอยู่มากที่สุด คือด้านทิศใต้ และน้อยที่สุด คือภายในสวนกลางอาคารด้านทิศใต้ ซึ่งเมื่อทดสอบความแตกต่างของจำนวนนกพิราบในแต่ละทิศแล้วพบว่าไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับความเชื่อมั่น 95 เปอร์เซนต์ และหากมองในระดับด้านพบว่าด้านทิศใต้ของพระที่นั่งอิศราวินิจฉัยมีนกพิราบอาศัยอยู่มากที่สุด

Share