ผลของแนวปฏิบัติการพยาบาลผู้ป่วยโรคเบาหวานที่มีภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำต่อการเกิดภาวะ น้ำตาลในเลือดต่ำซ้ำ ระยะเวลาที่นอนรักษาในโรงพยาบาล และการกลับเข้ารับการรักษาซ้ำ / นิภาพร มีชิน

By: นิภาพร มีชินContributor(s): ปัทมา สุริตCall Number: INDEX Material type: ArticleArticleSubject(s): โรคเบาหวาน -- ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำGenre/Form: การพยาบาล Online resources: บทความฉบับเต็มภาษาไทย In: การพยาบาลและการดูแลสุขภาพ ปีที่ 36 ฉบับที่ 3 (กรกฎาคม – กันยายน 2561) หน้า 1157-165Summary: ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ เป็นภาวะแทรกซ้อนที่สำคัญทางคลินิก1,2 พบได้บ่อยในผู้ป่วยโรคเบาหวานที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล3 โดยเฉพาะผู้ที่เป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2 พบอุบัติการณ์สูงถึงร้อยละ 3-294-6 ซึ่งเกิดจากหลายปัจจัย เช่น ความเจ็บป่วยวิกฤต ภาวะหัวใจล้มเหลว โรคตับ7ได้รับยาอินซูลิน หรือยากระตุ้นการหลั่งอินซูลิน7,8 ปรับเปลี่ยนอาหารที่ทำให้ปริมาณคาร์โบไฮเดรตลดลง งดอาหาร ปรับลดขนาดยาที่มีผลต่อระดับน้ำตาลในเลือดอย่างรวดเร็ว ปรับลดสารน้ำทางหลอดเลือดด่ำที่มีเดกซ์โตรสตามแผนการรักษา ไม่ได้รับประทานอาหารหรือรับประทานได้ในปริมาณลดลง คลื่นไส้ อาเจียน หรือเบื่ออาหาร คนที่เกิดภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำที่ไม่รุนแรงจะทำให้เกิดอาการไม่สุขสบาย หรือรบกวนการดำเนินชีวิตประจำวัน10หากไม่ได้รับการแก้ไขอย่างทันท่วงทีอาจนำไปสู่การเกิดภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำอย่างรุนแรงทำให้เกิดอันตราย ได้แก่ เกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด เซลล์สมองตาย สมองทำงานบกพร่องอย่างถาวร เกิดความพิการ และเสียชีวิต7 นอกจากนี้ยังสัมพันธ์กับระยะเวลาที่นอนรักษาในโรงพยาบาล และเพิ่มอัตราการเสียชีวิตถึง 3 เท่า
Star ratings
    Average rating: 0.0 (0 votes)
No physical items for this record

ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ เป็นภาวะแทรกซ้อนที่สำคัญทางคลินิก1,2 พบได้บ่อยในผู้ป่วยโรคเบาหวานที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล3 โดยเฉพาะผู้ที่เป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2 พบอุบัติการณ์สูงถึงร้อยละ 3-294-6 ซึ่งเกิดจากหลายปัจจัย เช่น ความเจ็บป่วยวิกฤต ภาวะหัวใจล้มเหลว โรคตับ7ได้รับยาอินซูลิน หรือยากระตุ้นการหลั่งอินซูลิน7,8 ปรับเปลี่ยนอาหารที่ทำให้ปริมาณคาร์โบไฮเดรตลดลง งดอาหาร ปรับลดขนาดยาที่มีผลต่อระดับน้ำตาลในเลือดอย่างรวดเร็ว ปรับลดสารน้ำทางหลอดเลือดด่ำที่มีเดกซ์โตรสตามแผนการรักษา ไม่ได้รับประทานอาหารหรือรับประทานได้ในปริมาณลดลง คลื่นไส้ อาเจียน หรือเบื่ออาหาร คนที่เกิดภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำที่ไม่รุนแรงจะทำให้เกิดอาการไม่สุขสบาย หรือรบกวนการดำเนินชีวิตประจำวัน10หากไม่ได้รับการแก้ไขอย่างทันท่วงทีอาจนำไปสู่การเกิดภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำอย่างรุนแรงทำให้เกิดอันตราย ได้แก่ เกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด เซลล์สมองตาย สมองทำงานบกพร่องอย่างถาวร เกิดความพิการ และเสียชีวิต7 นอกจากนี้ยังสัมพันธ์กับระยะเวลาที่นอนรักษาในโรงพยาบาล และเพิ่มอัตราการเสียชีวิตถึง 3 เท่า