ประสิทธิผลของโปรแกรมส่งเสริมการมีส่วนร่วมของครอบครัวและอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านเพื่อชะลอโรคไตเรื้อรังในชุมชนเมือง จังหวัดขอนแก่น / แพรวทิพฑ์ สุธีรประเสริฐ

By: แพรวทิพฑ์ สุธีรประเสริฐContributor(s): วราทิพย์ แก่นการCall Number: INDEX Material type: ArticleArticleSubject(s): การมีส่วนร่วม -- ครอบครัวGenre/Form: โรคไตเรื้อรัง Online resources: บทความฉบับเต็มภาษาไทย In: การพยาบาลและการดูแลสุขภาพ ปีที่ 36 ฉบับที่ 4 (ตุลาคม – ธันวาคม 2561) หน้า 52-61Summary: โรคไตเรื้อรัง เป็นปัญหาสำคัญอันดับหนึ่งของระบบสาธารณสุขทั่วโลกรวมทั้งในประเทศไทย ทำให้เกิดผลกระทบด้านทรัพยากรและทำให้ผู้ป่วยทุกข์ ทรมาน คุณภาพชีวิตไม่ดีอีกทั้งยังเป็นปัจจัยเสี่ยงสำคัญของการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดซึ่งทำให้เสียชีวิตก่อนวัยอันควรโดยพบว่า อุบัติการณ์และความชุกของโรคไตเรื้อรังเพิ่มมากขึ้น สาเหตุของโรคไตเรื้อรังด้านปัจจัยส่วนบุคคล ได้แก่ การมีโรคร่วม เช่น โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิต ความรู้และพฤติกรรมด้านสุขภาพเกี่ยวกับการรับประทานอาหาร การใช้ยาอย่างไม่สมเหตุผลตามแผนการรักษาและการออกกำลังกาย นอกจากนี้ยังมีปัจจัยเกี่ยวข้องด้านวัฒนธรรม รายได้ ผู้ดูแล และระยะเวลาการเจ็บป่วย สำหรับประชากรที่ย้ายถิ่นฐานเข้ามาทำงานในชุมชนเมืองอาจมีปัญหาเรื่องสิทธิ์ค่ารักษา ค่าใช้จ่ายการบริการสุขภาพ สาเหตุดังกล่าวทำให้ไตเสื่อมเร็วขึ้น เกิดการเจ็บป่วยด้วยโรคไตเรื้อรังส่งผลกระทบต่อผู้ป่วยทั้งทางด้านร่างกาย จิตใจ อารมณ์ ครอบครัวและเศรษฐกิจ ในการรับผิดชอบค่าใช้จ่ายการรักษาพยาบาลที่เพิ่มมากขึ้นและมีคุณภาพชีวิตที่ไม่สมบูรณ์หากไม่รีบดำเนินการแก้ไขระดับคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังจะเริ่มลดลง ทำให้การดำเนินโรคจากไตเรื้อรังระยะที่ 2-3 เข้าสู่ภาวะไตวายเรื้อรังระยะสุดท้าย การช่วยให้ผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังมีคุณภาพชีวิตดีขึ้นคือ การชะลอความเสื่อมของไต และคงไว้ซึ่งการทำหน้าที่ของไตให้ยาวนานที่สุด
Star ratings
    Average rating: 0.0 (0 votes)
No physical items for this record

โรคไตเรื้อรัง เป็นปัญหาสำคัญอันดับหนึ่งของระบบสาธารณสุขทั่วโลกรวมทั้งในประเทศไทย ทำให้เกิดผลกระทบด้านทรัพยากรและทำให้ผู้ป่วยทุกข์ ทรมาน คุณภาพชีวิตไม่ดีอีกทั้งยังเป็นปัจจัยเสี่ยงสำคัญของการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดซึ่งทำให้เสียชีวิตก่อนวัยอันควรโดยพบว่า อุบัติการณ์และความชุกของโรคไตเรื้อรังเพิ่มมากขึ้น สาเหตุของโรคไตเรื้อรังด้านปัจจัยส่วนบุคคล ได้แก่ การมีโรคร่วม เช่น โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิต ความรู้และพฤติกรรมด้านสุขภาพเกี่ยวกับการรับประทานอาหาร การใช้ยาอย่างไม่สมเหตุผลตามแผนการรักษาและการออกกำลังกาย นอกจากนี้ยังมีปัจจัยเกี่ยวข้องด้านวัฒนธรรม รายได้ ผู้ดูแล และระยะเวลาการเจ็บป่วย สำหรับประชากรที่ย้ายถิ่นฐานเข้ามาทำงานในชุมชนเมืองอาจมีปัญหาเรื่องสิทธิ์ค่ารักษา ค่าใช้จ่ายการบริการสุขภาพ สาเหตุดังกล่าวทำให้ไตเสื่อมเร็วขึ้น เกิดการเจ็บป่วยด้วยโรคไตเรื้อรังส่งผลกระทบต่อผู้ป่วยทั้งทางด้านร่างกาย จิตใจ อารมณ์ ครอบครัวและเศรษฐกิจ ในการรับผิดชอบค่าใช้จ่ายการรักษาพยาบาลที่เพิ่มมากขึ้นและมีคุณภาพชีวิตที่ไม่สมบูรณ์หากไม่รีบดำเนินการแก้ไขระดับคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังจะเริ่มลดลง ทำให้การดำเนินโรคจากไตเรื้อรังระยะที่ 2-3 เข้าสู่ภาวะไตวายเรื้อรังระยะสุดท้าย การช่วยให้ผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังมีคุณภาพชีวิตดีขึ้นคือ การชะลอความเสื่อมของไต และคงไว้ซึ่งการทำหน้าที่ของไตให้ยาวนานที่สุด

Share