ไอ้บุญทอง การศึกษาภาพสะท้อนวัฒนธรรมหนองขาวเพื่อการอนุรักษ์และส่งเสริมวัฒนธรรมชุมชนหนองขาวผ่านละครพื้นบ้าน คมสัน ศรีบุญเรือง

By: คมสัน ศรีบุญเรืองCall Number: INDEX Material type: ArticleArticleSubject(s): นิทานพื้นบ้าน | ละครพื้นฐาน In: วิจัยวัฒนธรรม ปีที่ 5 ฉบับที่ 2 (มกราคม-มิถุนายน 2566) หน้า 58-73Summary: นิทานพื้นบ้าน เป็นนิทานประเภทหนึ่ง เป็นเรื่องราวที่เล่าสืบต่อกันมาซึ่งอาจไม่มีบันทึกเป็นหลักฐาน เนื่องจากสมัยโบราณไม่มีความบันเทิงในรูปแบบอื่นในสังคมหลายวัฒนธรรมใช้การเล่าเรื่องสู่กันฟังซึ่งมักเป็นเรื่องราวจากจินตนาการแสดงความเชื่อของชาวบ้าน นิทานพื้นบ้านมักได้รับการบันทึกหรือตีพิมพ์ภายหลังและมักหาต้นกำเนิดไม่ได้ และมีการแต่งแต้มเรื่องราวเพิ่มเติมตามจินตนาการของผู้เล่า นิทานพื้นบ้านที่โด่งดัง อย่างเช่น ซินเดอเรลลา เจ้าชายกบ แจ๊คผู้ฆ่ายักษ์ เจ้าหญิงนิทรา นิทานของไทยเช่น พิกุลทอง พยาคันคาก แก้วหน้าม้า ละครจักร ๆ วงศ์ ๆ เป็นชื่อเรียกละครโทรทัศน์ไทยที่ว่ากันว่าเกือบทั้งหมดมาจากนิทานพื้นบ้าน เล่ากันแบบปากต่อปากหรือมุขปาฐะ จะแตกต่างกันในรายละเอียดที่คนเล่าสอดแทรกสิ่งที่ตัวเองรู้ในแต่ละท้องถิ่น มักมีโครงเรื่องคล้าย ๆ กัน เช่น เจ้าชายพลัดพรากจากบ้านเมือง ต้องออกเดินทางผจญภัย พบนางเอก และต่อสู่กับตัวร้ายซึ่งส่วนมากคือยักษ์ หรืออาจมีเนื้อหาในเชิง พระเอกถูกใส่ร้ายเป็นตัวกาลกิณีบ้านเมือง ต้องถูกเนรเทศเข้าป่า ได้เรียนวิชากับพระอาจารย์หรือฤๅษี ก่อนมาเจอกับนางเอก และกลับมากอบกู้บ้านเมืองสำเร็จ กล่าวคือมีเนื้อหา "เรียนวิชา-ฆ่ายักษ์-ลักนาง" เป็นส่วนใหญ่
Star ratings
    Average rating: 0.0 (0 votes)
No physical items for this record

นิทานพื้นบ้าน เป็นนิทานประเภทหนึ่ง เป็นเรื่องราวที่เล่าสืบต่อกันมาซึ่งอาจไม่มีบันทึกเป็นหลักฐาน เนื่องจากสมัยโบราณไม่มีความบันเทิงในรูปแบบอื่นในสังคมหลายวัฒนธรรมใช้การเล่าเรื่องสู่กันฟังซึ่งมักเป็นเรื่องราวจากจินตนาการแสดงความเชื่อของชาวบ้าน นิทานพื้นบ้านมักได้รับการบันทึกหรือตีพิมพ์ภายหลังและมักหาต้นกำเนิดไม่ได้ และมีการแต่งแต้มเรื่องราวเพิ่มเติมตามจินตนาการของผู้เล่า นิทานพื้นบ้านที่โด่งดัง อย่างเช่น ซินเดอเรลลา เจ้าชายกบ แจ๊คผู้ฆ่ายักษ์ เจ้าหญิงนิทรา นิทานของไทยเช่น พิกุลทอง พยาคันคาก แก้วหน้าม้า ละครจักร ๆ วงศ์ ๆ เป็นชื่อเรียกละครโทรทัศน์ไทยที่ว่ากันว่าเกือบทั้งหมดมาจากนิทานพื้นบ้าน เล่ากันแบบปากต่อปากหรือมุขปาฐะ จะแตกต่างกันในรายละเอียดที่คนเล่าสอดแทรกสิ่งที่ตัวเองรู้ในแต่ละท้องถิ่น มักมีโครงเรื่องคล้าย ๆ กัน เช่น เจ้าชายพลัดพรากจากบ้านเมือง ต้องออกเดินทางผจญภัย พบนางเอก และต่อสู่กับตัวร้ายซึ่งส่วนมากคือยักษ์ หรืออาจมีเนื้อหาในเชิง พระเอกถูกใส่ร้ายเป็นตัวกาลกิณีบ้านเมือง ต้องถูกเนรเทศเข้าป่า ได้เรียนวิชากับพระอาจารย์หรือฤๅษี ก่อนมาเจอกับนางเอก และกลับมากอบกู้บ้านเมืองสำเร็จ กล่าวคือมีเนื้อหา "เรียนวิชา-ฆ่ายักษ์-ลักนาง" เป็นส่วนใหญ่