ความเครียดจากการดูแลผู้ป่วยระยะท้ายและการเผชิญความเครียดของญาติผู้ดูแลในหอผู้ป่วยที่มีการดูแลแบบประคับประคอง / ทรงสุดา ยงพัฒนจิตร

By: ทรงสุดา ยงพัฒนจิตรContributor(s): สุปรีดา มั่นคง | นุชนาฏ สุทธิCall Number: INDEX Material type: ArticleArticleSubject(s): การดูแลผู้ป่วยGenre/Form: ความเครียด Online resources: บทความฉบับเต็มภาษาไทย In: สภาการพยาบาล ปีที่ 35 ฉบับที่ 2 (เมษายน – มิถุนายน 2563) หน้า 116-131Summary: การดูแลแบบประคับประคอง เป็นการดูแลเพื่อทำให้คุณภาพชีวิตของผู้ป่วยระยะท้ายและครอบครัวดีขึ้น โดยการป้องกันและลดความทุกข์ทรมาน ให้การดูแลรักษาผู้ป่วยเพื่อบรรเทาอาการปวดและปัญหาต่าง ๆ ทางด้านร่างกาย จิตสังคม และจิตวิญญาณ4 การดูแลไม่ได้จำกัดอยู่ที่ผู้ป่วยระยะท้าย แต่เป็นการดูแลเริ่มตั้งแต่เจ็บป่วย เมื่อการดำเนินโรคเปลี่ยนแปลงไปตามเวลา สัดส่วนของการดูแลแบบประคับประคองต่อการรักษาเพื่อยืดชีวิตจะค่อย ๆ เพิ่มขึ้นจนถึงวาระสุดท้าย ในประเทศไทยในช่วงแรกการดูแลแบบประคับประคอง จัดขึ้นจากการดูแลเฉพาะกลุ่ม เช่น วัดพระบาทน้ำพุ เป็นต้น ต่อมาได้พัฒนาระบบการดูแลแบบประคับประคอง โดยมี 4 รูปแบบ ดังนี้ 1) รูปแบบบริการการดูแลแบบประคับประคองในโรงพยาบาล มีทั้งบริการการดูแลแบบประคับประคองสำหรับผู้ป่วยนอก และดูแลแบบประคับประคองสำหรับผู้ป่วยใน สำหรับบริการแบบผู้ป่วยในมี 2 ลักษณะ คือ มีหอผู้ป่วยที่ให้การดูแลแบบประคับประคองโดยเฉพาะ และไม่มีหอผู้ป่วยที่ให้ การดูแลแบบประคับประคองโดยเฉพาะ 2) รูปแบบบริการศูนย์ดูแลกลางวัน 3) รูปแบบบริการดูแลที่บ้าน เป็นรูปแบบการบริการในชุมชน โดยเจ้าหน้าที่จากโรงพยาบาลหรือบุคลากรที่เป็นอาสาสมัครในชุมชน และ 4) รูปแบบบริการสถานดูแลผู้ป่วยแบบ hospice สถานบริการแต่ละรูปแบบล้วนมีบทบาท เอกลักษณ์ที่แตกต่างกันไปตามความเหมาะสมกับบริบทการดูแลผู้ป่วย
Star ratings
    Average rating: 0.0 (0 votes)
No physical items for this record

การดูแลแบบประคับประคอง เป็นการดูแลเพื่อทำให้คุณภาพชีวิตของผู้ป่วยระยะท้ายและครอบครัวดีขึ้น โดยการป้องกันและลดความทุกข์ทรมาน ให้การดูแลรักษาผู้ป่วยเพื่อบรรเทาอาการปวดและปัญหาต่าง ๆ ทางด้านร่างกาย จิตสังคม และจิตวิญญาณ4 การดูแลไม่ได้จำกัดอยู่ที่ผู้ป่วยระยะท้าย แต่เป็นการดูแลเริ่มตั้งแต่เจ็บป่วย เมื่อการดำเนินโรคเปลี่ยนแปลงไปตามเวลา สัดส่วนของการดูแลแบบประคับประคองต่อการรักษาเพื่อยืดชีวิตจะค่อย ๆ เพิ่มขึ้นจนถึงวาระสุดท้าย ในประเทศไทยในช่วงแรกการดูแลแบบประคับประคอง จัดขึ้นจากการดูแลเฉพาะกลุ่ม เช่น วัดพระบาทน้ำพุ เป็นต้น ต่อมาได้พัฒนาระบบการดูแลแบบประคับประคอง โดยมี 4 รูปแบบ ดังนี้ 1) รูปแบบบริการการดูแลแบบประคับประคองในโรงพยาบาล มีทั้งบริการการดูแลแบบประคับประคองสำหรับผู้ป่วยนอก และดูแลแบบประคับประคองสำหรับผู้ป่วยใน สำหรับบริการแบบผู้ป่วยในมี 2 ลักษณะ คือ มีหอผู้ป่วยที่ให้การดูแลแบบประคับประคองโดยเฉพาะ และไม่มีหอผู้ป่วยที่ให้ การดูแลแบบประคับประคองโดยเฉพาะ 2) รูปแบบบริการศูนย์ดูแลกลางวัน 3) รูปแบบบริการดูแลที่บ้าน เป็นรูปแบบการบริการในชุมชน โดยเจ้าหน้าที่จากโรงพยาบาลหรือบุคลากรที่เป็นอาสาสมัครในชุมชน และ 4) รูปแบบบริการสถานดูแลผู้ป่วยแบบ hospice สถานบริการแต่ละรูปแบบล้วนมีบทบาท เอกลักษณ์ที่แตกต่างกันไปตามความเหมาะสมกับบริบทการดูแลผู้ป่วย