เรื่องของหนู / เสริมศักดิ์ หงส์นาค

By: เสริมศักดิ์ หงส์นาคCall Number: INDEX Material type: ArticleArticleSubject(s): SCI-TECH | หนู -- พาหะนำโรค In: กีฏและสัตววิทยา ปีที่ 21 ฉบับที่ 4 (ตุลาคม-ธันวาคม 2542) หน้า 286-288Summary: หนูเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดเล็กมี 4 เท้า และมีฟันแทะ (incisor) และหนูก็ได้สร้างความหายนะมาสู่ประชากรในทวีปยุโรป เพราะเคยมีคนเสียชีวิตเนื่องจากกาฬโรคที่เกิดจากหนู สำหรับประเทศไทยมีการระบาทของโรคไข้ดีซ่าน (Leptospirosis หรือ Weils' s disease หรือ rice field worler' s fever) ซึ่งเกิดจากเชื้อ bacteria ที่ปะปนออกมากับปัสสาวะหนูและมูลหนู บางทีเรียกโรคนี้ว่า โรคเยี่ยวหนู การระบาดของโรคนี้มีมากตั้งแต่ปี 2539 ถึงปัจจุบัน (มีต่อ)Summary: โดยเฉพาะในภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีผู้ป่วยด้วยโรคนี้หลายพันคน นอกจากนี้ยังทำลายอาหาร และถ่ายทอดเชื้อโรคไปสู่อาหารที่มันกิน และเสียงร้องของหนูมีความหมายสำหรับหนูตัวอื่นๆ ในการเปลี่ยนสัญญาณให้ทราบว่ามีแหล่งอาหารหรืออันตรายได้ในระยะไกลๆ หางของหนูเป็นอวัยวะที่ช่วยให้เกิดความสมดุล ในขณะที่หนูปีนป่าย เท้าหน้าของหนูมีไว้จับเมล็ดพืชแทะกิน ในอนาคตประเทศไทยจะประสบปัญหากับสัตว์ชนิดนี้มากขึ้น (มีต่อ)Summary: ในสภาพไร่นา เมื่อมีระบบชลประทานดีขึ้น การปลูกพืชได้หลายครั้งต่อปี จะทำให้หนูนามีแหล่งอาหาร น้ำ อุดมสมบูรณ์ การระบาดจะเกิดได้มาก ในขณะสภาพเขตเมืองที่มีชุมชนหนาแน่น ระบบการกำจัดขยะเศษอาหารไม่ดีพอ บริเวณสถานีขนส่งมวลชนขนาดใหญ่ เช่น ระบบขนส่งมงลชนของรถไฟลอยฟ้า หรือรถไฟใต้ดิน รวมทั้งระบบสื่อสารเคเบิลใยแก้วนำแสง จะเป็นแหล่งที่อยู่อาศัย ที่หาอาหารของหนูบ้าน ซึ่งเคยเป็นปัญหาอย่างมากที่เกิดขึ้นในประเทศอื่นๆ มาแล้ว ดังนั้น การวางแผนระยะยาวในการควบคุมสัตว์ศัตรูชนิดนี้ จะต้องอาศัยความร่วมมือจากหน่วยงานหลายแห่งที่เกี่ยวข้อง
Star ratings
    Average rating: 0.0 (0 votes)
No physical items for this record

หนูเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดเล็กมี 4 เท้า และมีฟันแทะ (incisor) และหนูก็ได้สร้างความหายนะมาสู่ประชากรในทวีปยุโรป เพราะเคยมีคนเสียชีวิตเนื่องจากกาฬโรคที่เกิดจากหนู สำหรับประเทศไทยมีการระบาทของโรคไข้ดีซ่าน (Leptospirosis หรือ Weils' s disease หรือ rice field worler' s fever) ซึ่งเกิดจากเชื้อ bacteria ที่ปะปนออกมากับปัสสาวะหนูและมูลหนู บางทีเรียกโรคนี้ว่า โรคเยี่ยวหนู การระบาดของโรคนี้มีมากตั้งแต่ปี 2539 ถึงปัจจุบัน (มีต่อ)

โดยเฉพาะในภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีผู้ป่วยด้วยโรคนี้หลายพันคน นอกจากนี้ยังทำลายอาหาร และถ่ายทอดเชื้อโรคไปสู่อาหารที่มันกิน และเสียงร้องของหนูมีความหมายสำหรับหนูตัวอื่นๆ ในการเปลี่ยนสัญญาณให้ทราบว่ามีแหล่งอาหารหรืออันตรายได้ในระยะไกลๆ หางของหนูเป็นอวัยวะที่ช่วยให้เกิดความสมดุล ในขณะที่หนูปีนป่าย เท้าหน้าของหนูมีไว้จับเมล็ดพืชแทะกิน ในอนาคตประเทศไทยจะประสบปัญหากับสัตว์ชนิดนี้มากขึ้น (มีต่อ)

ในสภาพไร่นา เมื่อมีระบบชลประทานดีขึ้น การปลูกพืชได้หลายครั้งต่อปี จะทำให้หนูนามีแหล่งอาหาร น้ำ อุดมสมบูรณ์ การระบาดจะเกิดได้มาก ในขณะสภาพเขตเมืองที่มีชุมชนหนาแน่น ระบบการกำจัดขยะเศษอาหารไม่ดีพอ บริเวณสถานีขนส่งมวลชนขนาดใหญ่ เช่น ระบบขนส่งมงลชนของรถไฟลอยฟ้า หรือรถไฟใต้ดิน รวมทั้งระบบสื่อสารเคเบิลใยแก้วนำแสง จะเป็นแหล่งที่อยู่อาศัย ที่หาอาหารของหนูบ้าน ซึ่งเคยเป็นปัญหาอย่างมากที่เกิดขึ้นในประเทศอื่นๆ มาแล้ว ดังนั้น การวางแผนระยะยาวในการควบคุมสัตว์ศัตรูชนิดนี้ จะต้องอาศัยความร่วมมือจากหน่วยงานหลายแห่งที่เกี่ยวข้อง