การวิจัยและประยุกต์ใช้ไคติน/ไคโตซานในประเทศไทย

Call Number: INDEX Material type: ArticleArticleSubject(s): SCI-TECH | สารไคติน | สารไคโตซาน | โพลิเมอร์ In: พลาสติก ปีที่ 17 ฉบับที่ 4 (กรกฎาคม - สิงหาคม 2544) หน้า 29Summary: สารไคติน / ไคโตซาน จัดอยู่ในกลุ่มคาโบไฮเดรตผสมที่ประกอบด้วยอนุพันธ์ของน้ำตาลกลูโคสที่มีธาตุไนโตรเจนติดอยู่ด้วย ทำให้มีคุณสมบัติที่โดดเด่นและหลากหลายมีประสิทธิภาพสูงในกิจกรรมชีวิตภาพ และยังย่อยสลายได้ตามธรรมชาติจึงเป็นสารที่มีความปลอดภัยในการใช้กับมนุษย์ สัตว์และสิ่งแวดล้อม ซึ่งสารตัวนี้เป็นโพลิเมอร์ที่มีประจุบวก แต่มีคุณสมบัติพิเศษที่สามารถทำปฏิกิริยาเคมีเชิงซ้อนได้ด้วย ทำให้สารไคติน/ ไคโตซาน (มีต่อ)Summary: มีลักษณะพิเศษในการนำมาใช้ดูดซับและจับตะกอนต่างๆ ในสารละลายแล้วนำสารกลับมาใช้ใหม่ได้ โครงสร้างทางเคมีของสารไคติน/ไคโตซานคล้ายคลึงกับเซลลูโลสคือ เป็นเส้นใยที่ยาว ไคตินที่เกิดในธรรมชาติมีโครงสร้างของผลึกที่แข็งแรงมีการจัดตัวของรูปแบบของผลึกเป็น 3 ลักษณะคือ แอลฟ่าไคติน, บีต้าไคติน และแกมม่าไคติน ส่วนไคตินที่เกิดขึ้นในเปลือกกุ้งและปู ส่วนใหญ่อยู่ในรูปแอลฟ่าไคติน (มีต่อ)Summary: ส่วนไคตินที่อยู่ในปลาหมึกพบว่า ส่วนใหญ่เป็นบีต้าไคตินในการจัดเรียงตัวของโครงสร้างตามธรรมชาติพบว่าแอลฟ่าไคติน มีคุณลักษณะของเสถียรภาพทางเคมีสูงกว่าบีต้าไคติน ดังนั้นจึงมีโอกาสที่บีต้าไคตินสามารถเปลี่ยนแปลงรูปแบบไปเป็นแอลฟ่าไคตินได้ในสารละลายของกรดเช่น กรดเกลือ เป็นต้น ส่วนแกมม่าไคตินเป็นโครงสร้างผสมระหว่างแอลฟ่ากับบีต้าไคตินนั่นเอง ไคตินเป็นโพลิเมอร์ที่เป็นสายยาวประกอบด้วยหน่วยย่อยที่เรียกว่าโมโนเมอร์ (Monomer) (มีต่อ)Summary: องค์ประกอบของหน่วยย่อยเป็นสารอนุพันธ์ของน้ำตาลกลูโคสมีชื่อว่า N-acetyl glucosamine ไคตินเป็นสารละลายยากและไม่ค่อยละลาย ส่วนไคโตซานเป็นโพลิเมอร์ของหน่วยย่อยที่ชื่อว่า glucosamine นั่นเอง มีการนำสารไคติน/ไคโตซานมาประยุกต์ใช้ในผลิตภัณฑ์และอุตสาหกรรมต่างๆ เช่น 1.ด้านการเกษตร 2.ด้านอาหาร 3.ด้านการแพทย์และเภสัชกรรม 4.ด้านเครื่องสำอางและผลิตภัณฑ์บำรุงผิว 5.ด้านอุตสาหกรรมสิ่งทอและกระดาษ 6.ด้านเทคโนโลยีชีวภาพ 7.ด้านการแยกทางชีวภาพ เป็นต้น
Star ratings
    Average rating: 0.0 (0 votes)
No physical items for this record

สารไคติน / ไคโตซาน จัดอยู่ในกลุ่มคาโบไฮเดรตผสมที่ประกอบด้วยอนุพันธ์ของน้ำตาลกลูโคสที่มีธาตุไนโตรเจนติดอยู่ด้วย ทำให้มีคุณสมบัติที่โดดเด่นและหลากหลายมีประสิทธิภาพสูงในกิจกรรมชีวิตภาพ และยังย่อยสลายได้ตามธรรมชาติจึงเป็นสารที่มีความปลอดภัยในการใช้กับมนุษย์ สัตว์และสิ่งแวดล้อม ซึ่งสารตัวนี้เป็นโพลิเมอร์ที่มีประจุบวก แต่มีคุณสมบัติพิเศษที่สามารถทำปฏิกิริยาเคมีเชิงซ้อนได้ด้วย ทำให้สารไคติน/ ไคโตซาน (มีต่อ)

มีลักษณะพิเศษในการนำมาใช้ดูดซับและจับตะกอนต่างๆ ในสารละลายแล้วนำสารกลับมาใช้ใหม่ได้ โครงสร้างทางเคมีของสารไคติน/ไคโตซานคล้ายคลึงกับเซลลูโลสคือ เป็นเส้นใยที่ยาว ไคตินที่เกิดในธรรมชาติมีโครงสร้างของผลึกที่แข็งแรงมีการจัดตัวของรูปแบบของผลึกเป็น 3 ลักษณะคือ แอลฟ่าไคติน, บีต้าไคติน และแกมม่าไคติน ส่วนไคตินที่เกิดขึ้นในเปลือกกุ้งและปู ส่วนใหญ่อยู่ในรูปแอลฟ่าไคติน (มีต่อ)

ส่วนไคตินที่อยู่ในปลาหมึกพบว่า ส่วนใหญ่เป็นบีต้าไคตินในการจัดเรียงตัวของโครงสร้างตามธรรมชาติพบว่าแอลฟ่าไคติน มีคุณลักษณะของเสถียรภาพทางเคมีสูงกว่าบีต้าไคติน ดังนั้นจึงมีโอกาสที่บีต้าไคตินสามารถเปลี่ยนแปลงรูปแบบไปเป็นแอลฟ่าไคตินได้ในสารละลายของกรดเช่น กรดเกลือ เป็นต้น ส่วนแกมม่าไคตินเป็นโครงสร้างผสมระหว่างแอลฟ่ากับบีต้าไคตินนั่นเอง ไคตินเป็นโพลิเมอร์ที่เป็นสายยาวประกอบด้วยหน่วยย่อยที่เรียกว่าโมโนเมอร์ (Monomer) (มีต่อ)

องค์ประกอบของหน่วยย่อยเป็นสารอนุพันธ์ของน้ำตาลกลูโคสมีชื่อว่า N-acetyl glucosamine ไคตินเป็นสารละลายยากและไม่ค่อยละลาย ส่วนไคโตซานเป็นโพลิเมอร์ของหน่วยย่อยที่ชื่อว่า glucosamine นั่นเอง มีการนำสารไคติน/ไคโตซานมาประยุกต์ใช้ในผลิตภัณฑ์และอุตสาหกรรมต่างๆ เช่น 1.ด้านการเกษตร 2.ด้านอาหาร 3.ด้านการแพทย์และเภสัชกรรม 4.ด้านเครื่องสำอางและผลิตภัณฑ์บำรุงผิว 5.ด้านอุตสาหกรรมสิ่งทอและกระดาษ 6.ด้านเทคโนโลยีชีวภาพ 7.ด้านการแยกทางชีวภาพ เป็นต้น