ประโยชน์ของอัตราค่าไฟฟ้าแบบ TOU

Call Number: INDEX Material type: ArticleArticleSubject(s): SCI-TECH | การใช้พลังงานไฟฟ้า | พลังงานไฟฟ้า In: นโยบายพลังงาน ฉบับที่ 52 (เมษายน - มิถุนายน 2544) หน้า 36-40Summary: อัตราค่าไฟฟ้าที่แตกต่างกันตามช่วงเวลาของการใช้ (Time of Use Rate : TOU) เป็นอัตราค่าไฟฟ้าที่สะท้อนถึงต้นทุนที่แท้จริง โดยค่าไฟฟ้าจะแพงในช่วงที่มีความต้องการใช้ไฟฟ้ามาก (Peak) และค่าไฟฟ้าจะถูกในช่วงที่มีการใช้ไฟฟ้าน้อย (Off Peak) อัตราค่าไฟฟ้านี้ได้กำหนดใช้มาตั้งแต่มกราคม 2540 แต่กำหนดให้เป็นอัตราทางเลือกสำหรับผู้ใช้ไฟฟ้ากิจการขนาดกลางและใหญ่และกิจการเฉพาะอย่าง (มีต่อ)Summary: โดยช่วง Peak ในขณะนั้นคือ วันจันทร์-วันเสาร์ เวลา 09.00 น.-22.00 น.) นอกนั้นเป็นช่วง Off Peak ปรากฏว่า จนถึงเดือนกันยายน 2543 มีผู้ใชัไฟฟ้าที่เลือกใช้อัตรานี้ประมาณ 562 ราย แบ่งเป็นเขตการไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) 121 ราย และการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) 434 ราย ตั้งแต่เดือนตุลาคม 2543 รัฐบาลได้กำหนดโครงสร้างอัตราค่าไฟฟ้าใหม่ (มีต่อ)Summary: และอัตราค่าไฟฟ้า TOU ใหม่นี้ได้ขยายช่วง Off Peak เพิ่มขึ้นโดยกำหนดให้วันเสาร์และวันหยุดราชการทั้งวันเป็นช่วง Off Peak อัตราค่าไฟฟ้า TOU มีผลต่อระบบไฟฟ้าในภาพรวม คือ ทำให้ค่าตัวประกอบการใช้ไฟฟ้า (Load Factor : LF) ของประเทศสูงขึ้นอย่างชัดเจน โดยในช่วง 8 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2544 (ตุลาคม 2543 - พฤษภาคม 2544) ค่าเฉลี่ย LF ในรอบเดือนอยู่ที่ระดับร้อยละ 78.73 สูงกว่าช่วงเดียวกันของปี 2543 ซึ่งอยู่ที่ระดับร้อยละ 76-90 (มีต่อ)Summary: ทั้งนี้เป็นผลมาจากการใช้พลังงานไฟฟ้าช่วง Off Peak มากขึ้น ช่วยกระจายการใช้ไฟฟ้าไปในแต่ละช่วงเวลาอย่างสม่ำเสมอ ทำให้โรงไฟฟ้าเดินเครื่องไฟฟ้าอย่างสม่ำเสมอ ซึ่งส่งผลให้เกิดการใช้ทรัพยากร (โรงไฟฟ้าและระบบไฟฟ้า) และระบบไฟฟ้าอย่างมีประสิทธิภาพ ผลที่ได้รับคือ ค่าไฟฟ้าที่ต่ำลงอันเนื่องมาจากการชะลอการสร้างโรงไฟฟ้า ชะลอการขยายระบบไฟฟ้าและการใช้เชื้อเพลิงอย่างมีประสิทธิภาพ
Star ratings
    Average rating: 0.0 (0 votes)
No physical items for this record

อัตราค่าไฟฟ้าที่แตกต่างกันตามช่วงเวลาของการใช้ (Time of Use Rate : TOU) เป็นอัตราค่าไฟฟ้าที่สะท้อนถึงต้นทุนที่แท้จริง โดยค่าไฟฟ้าจะแพงในช่วงที่มีความต้องการใช้ไฟฟ้ามาก (Peak) และค่าไฟฟ้าจะถูกในช่วงที่มีการใช้ไฟฟ้าน้อย (Off Peak) อัตราค่าไฟฟ้านี้ได้กำหนดใช้มาตั้งแต่มกราคม 2540 แต่กำหนดให้เป็นอัตราทางเลือกสำหรับผู้ใช้ไฟฟ้ากิจการขนาดกลางและใหญ่และกิจการเฉพาะอย่าง (มีต่อ)

โดยช่วง Peak ในขณะนั้นคือ วันจันทร์-วันเสาร์ เวลา 09.00 น.-22.00 น.) นอกนั้นเป็นช่วง Off Peak ปรากฏว่า จนถึงเดือนกันยายน 2543 มีผู้ใชัไฟฟ้าที่เลือกใช้อัตรานี้ประมาณ 562 ราย แบ่งเป็นเขตการไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) 121 ราย และการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) 434 ราย ตั้งแต่เดือนตุลาคม 2543 รัฐบาลได้กำหนดโครงสร้างอัตราค่าไฟฟ้าใหม่ (มีต่อ)

และอัตราค่าไฟฟ้า TOU ใหม่นี้ได้ขยายช่วง Off Peak เพิ่มขึ้นโดยกำหนดให้วันเสาร์และวันหยุดราชการทั้งวันเป็นช่วง Off Peak อัตราค่าไฟฟ้า TOU มีผลต่อระบบไฟฟ้าในภาพรวม คือ ทำให้ค่าตัวประกอบการใช้ไฟฟ้า (Load Factor : LF) ของประเทศสูงขึ้นอย่างชัดเจน โดยในช่วง 8 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2544 (ตุลาคม 2543 - พฤษภาคม 2544) ค่าเฉลี่ย LF ในรอบเดือนอยู่ที่ระดับร้อยละ 78.73 สูงกว่าช่วงเดียวกันของปี 2543 ซึ่งอยู่ที่ระดับร้อยละ 76-90 (มีต่อ)

ทั้งนี้เป็นผลมาจากการใช้พลังงานไฟฟ้าช่วง Off Peak มากขึ้น ช่วยกระจายการใช้ไฟฟ้าไปในแต่ละช่วงเวลาอย่างสม่ำเสมอ ทำให้โรงไฟฟ้าเดินเครื่องไฟฟ้าอย่างสม่ำเสมอ ซึ่งส่งผลให้เกิดการใช้ทรัพยากร (โรงไฟฟ้าและระบบไฟฟ้า) และระบบไฟฟ้าอย่างมีประสิทธิภาพ ผลที่ได้รับคือ ค่าไฟฟ้าที่ต่ำลงอันเนื่องมาจากการชะลอการสร้างโรงไฟฟ้า ชะลอการขยายระบบไฟฟ้าและการใช้เชื้อเพลิงอย่างมีประสิทธิภาพ