การประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา : มโนทัศน์ ที่จำเป็นต้องทบทวน / ธเนศ ขำเกิด

By: ธเนศ ขำเกิดCall Number: INDEX Material type: ArticleArticleSubject(s): SCI-TECH | การศึกษา -- การประกันคุณภาพ In: ส่งเสริมเทคโนโลยี ปีที่ 27 ฉบับที่ 154 (ธันวาคม 2543 - มกราคม 2544) หน้า 181-184Summary: จากพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 หมวดที่ 6 กำหนดให้มีระบบประกันคุณภาพการศึกษาเพื่อพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาทุกระดับโดยหน่วยงานต้นสังกัดและสถานศึกษาจะต้องจัดระบบประกันคุณภาพภายใน และประเมินคุณภาพภายในสถานศึกษาทุกปี พร้อมทั้งให้มีการประเมินคุณภาพภายนอก (มีต่อ)Summary: โดยองค์กรประกันคุณภาพการศึกษาที่เป็นองค์การมหาชนในสถานศึกษาทุกแห่งอย่างน้อย 1 ครั้ง ทุก 5 ปี ทำให้หน่วยงานที่มีสถานะศึกษาในสังกัดเกิดการตื่นตัว อาทิเช่น สำนักงานคณะกรรมการประถมศึกษาแห่งชาติ (สปช.) กรมสามัญศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาเอกชน (สช.) รวมทั้งสถาบันอุดมศึกษาหรือหน่วยงานทางการศึกษาอื่นๆ (มีต่อ)Summary: ในปีแรกของการดำเนินการแต่ละหน่วยงานต่างก็พยายามสร้างสรรค์รูปแบบการประกันคุณภาพ ตามสภาพความพร้อมและความต้องการของตนเอง โดยใช้มาตรฐานการศึกษาเป็นตัวนำไปสู่ระบบการประกันคุณภาพ บนพื้นฐานแนวคิดที่ยึดผู้เรียนเป็นสำคัญ มุ่งกระจายอำนาจทางการศึกษาให้สถานศึกษาเป็นฐานในการบริหารจัดการ (มีต่อ)Summary: โดยสถานศึกษาต้องแสดงความรับผิดชอบที่ตรวจสอบได้ ภายใต้ระบบประกันคุณภาพการศึกษา 3 ระบบคือ 1.การควบคุมคุณภาพการศึกษา 2.การตรวจสอบทบทวนและปรับปรุงคุณภาพการศึกษา และ 3.การประเมินและรับรองคุณภาพการศึกษา
Star ratings
    Average rating: 0.0 (0 votes)
No physical items for this record

จากพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 หมวดที่ 6 กำหนดให้มีระบบประกันคุณภาพการศึกษาเพื่อพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาทุกระดับโดยหน่วยงานต้นสังกัดและสถานศึกษาจะต้องจัดระบบประกันคุณภาพภายใน และประเมินคุณภาพภายในสถานศึกษาทุกปี พร้อมทั้งให้มีการประเมินคุณภาพภายนอก (มีต่อ)

โดยองค์กรประกันคุณภาพการศึกษาที่เป็นองค์การมหาชนในสถานศึกษาทุกแห่งอย่างน้อย 1 ครั้ง ทุก 5 ปี ทำให้หน่วยงานที่มีสถานะศึกษาในสังกัดเกิดการตื่นตัว อาทิเช่น สำนักงานคณะกรรมการประถมศึกษาแห่งชาติ (สปช.) กรมสามัญศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาเอกชน (สช.) รวมทั้งสถาบันอุดมศึกษาหรือหน่วยงานทางการศึกษาอื่นๆ (มีต่อ)

ในปีแรกของการดำเนินการแต่ละหน่วยงานต่างก็พยายามสร้างสรรค์รูปแบบการประกันคุณภาพ ตามสภาพความพร้อมและความต้องการของตนเอง โดยใช้มาตรฐานการศึกษาเป็นตัวนำไปสู่ระบบการประกันคุณภาพ บนพื้นฐานแนวคิดที่ยึดผู้เรียนเป็นสำคัญ มุ่งกระจายอำนาจทางการศึกษาให้สถานศึกษาเป็นฐานในการบริหารจัดการ (มีต่อ)

โดยสถานศึกษาต้องแสดงความรับผิดชอบที่ตรวจสอบได้ ภายใต้ระบบประกันคุณภาพการศึกษา 3 ระบบคือ 1.การควบคุมคุณภาพการศึกษา 2.การตรวจสอบทบทวนและปรับปรุงคุณภาพการศึกษา และ 3.การประเมินและรับรองคุณภาพการศึกษา