ยางดองเหล้า : หนึ่งในการรักษาโรคด้วยพืชสมุนไพร

Call Number: INDEX Material type: ArticleArticleSubject(s): SCI-TECH | สมุนไพร | ยาสมุนไพร In: โลกใบใหม่ ปีที่ 11 ฉบับที่ 126 (มีนาคม 2543) หน้า 31 - 33Summary: ยาดองเหล้า ถือเป็นภูมิปัญญาทางแพทย์แผนไทย ที่สืบทอดกันมาจากบรรพชน งานวิจัยเรื่อง "การศึกษาพืชสมุนไพรที่ใช้เป็นยาดองเหล้าในภาคเหนือของไทย" ถือเป็นความพยายามในการสืบสานองค์ความรู้แขนงนี้ไว้อย่างเป็นระบบ สามารถเก็บรวบรวมตำรับยาดองเหล้าถึง 91 สูตร จากหมอยาพื้นบ้านทางภาคเหนือ และจำแนกพันธุ์พืชที่นำมาดองได้ถึง 209 ชนิด นอกจากนี้ยังได้นำกล้าสมุนไพรมาทดลองปลูกและขยายพันธุ์ในสวนพฤกษศาสตร์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ (มีต่อ)Summary: จากการศึกษาพบว่า เหล้าจะเป็นตัวดึงยาออกจากสมุนไพร และช่วยไม่ให้บูดเสีย ซึ่งจากการตรวจค้นเอกสารที่เกี่ยวข้องพบว่า พืชสมุนไพรหลายชนิดที่นำมาใช้ดองเหล้ามีสรรพคุณจริงในการบำรุงร่างกาย มีบางตำรับที่ใช้บำรุงโลหิตสำหรับสตรีหลังคลอด และบางตำรับสามารถใช้รักษาผู้ป่วยที่เป็นโรคอัมพาตและเหน็บชาได้ อย่างไรก็ตาม ทีมงานวิจัยมีความเห็นในเรื่องนี้ว่า พืชที่มีความเป็นพิษไม่ควรนำมาปรุงเป็นยา ก่อนที่จะได้รับการวิจัยตรวจสอบว่าปลอดภัย และควรมีการรณรงค์ ให้ชาวบ้านและหมอยาท้องถิ่นพื้นบ้านนำพืชสมุนไพรออกจากป่าสำหรับพอใช้ในการปรุงยาแต่ละครั้งเท่านั้น ตลอดจนส่งเสริมให้เกิดการอนุรักษ์พืชสมุนไพรที่มีประโยชน์ให้คงอยู่ในท้องถิ่นตลอดไป
Star ratings
    Average rating: 0.0 (0 votes)
No physical items for this record

ยาดองเหล้า ถือเป็นภูมิปัญญาทางแพทย์แผนไทย ที่สืบทอดกันมาจากบรรพชน งานวิจัยเรื่อง "การศึกษาพืชสมุนไพรที่ใช้เป็นยาดองเหล้าในภาคเหนือของไทย" ถือเป็นความพยายามในการสืบสานองค์ความรู้แขนงนี้ไว้อย่างเป็นระบบ สามารถเก็บรวบรวมตำรับยาดองเหล้าถึง 91 สูตร จากหมอยาพื้นบ้านทางภาคเหนือ และจำแนกพันธุ์พืชที่นำมาดองได้ถึง 209 ชนิด นอกจากนี้ยังได้นำกล้าสมุนไพรมาทดลองปลูกและขยายพันธุ์ในสวนพฤกษศาสตร์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ (มีต่อ)

จากการศึกษาพบว่า เหล้าจะเป็นตัวดึงยาออกจากสมุนไพร และช่วยไม่ให้บูดเสีย ซึ่งจากการตรวจค้นเอกสารที่เกี่ยวข้องพบว่า พืชสมุนไพรหลายชนิดที่นำมาใช้ดองเหล้ามีสรรพคุณจริงในการบำรุงร่างกาย มีบางตำรับที่ใช้บำรุงโลหิตสำหรับสตรีหลังคลอด และบางตำรับสามารถใช้รักษาผู้ป่วยที่เป็นโรคอัมพาตและเหน็บชาได้ อย่างไรก็ตาม ทีมงานวิจัยมีความเห็นในเรื่องนี้ว่า พืชที่มีความเป็นพิษไม่ควรนำมาปรุงเป็นยา ก่อนที่จะได้รับการวิจัยตรวจสอบว่าปลอดภัย และควรมีการรณรงค์ ให้ชาวบ้านและหมอยาท้องถิ่นพื้นบ้านนำพืชสมุนไพรออกจากป่าสำหรับพอใช้ในการปรุงยาแต่ละครั้งเท่านั้น ตลอดจนส่งเสริมให้เกิดการอนุรักษ์พืชสมุนไพรที่มีประโยชน์ให้คงอยู่ในท้องถิ่นตลอดไป