ผลกระทบเขื่อนราษีไศล ดินเค็มจนปลูกข้าวไม่ได้

Material type: ArticleArticleSubject(s): SCI-TECH | เขื่อนราษีไศล In: โลกใบใหม่ ปีที่ 11 ฉบับที่ 126 (มีนาคม 2543) หน้า 20Summary: พบปัญหาดินเค็มในพื้นที่สร้างเขื่อนราษีไศล ชาวบ้านปลูกข้าวไม่ได้ เกิดวงเกลือเต็มที่นา ขณะที่ผลการศึกษาของกรมพัฒนาที่ดินก็ระบุว่าจะมีการแพร่กระจายของดินเค็มอย่างคาดไม่ถึง จากการศึกษาของกรมพัฒนาที่ดิน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ พบว่าใต้อ่างเก็บน้ำเขื่อนราษีไศลมีบริเวณขั้นหินรองรับอยู่ไม่น้อยกว่า 10 ตารางกิโลเมตร กรมพัฒนาที่ดินยังระบุอีกว่า ในอนาคตอาจจะมีการแพร่กระจายของน้ำ และดินเค็มอย่างคาดไม่ถึง (มีต่อ)Summary: ทั้งนี้ แม้แต่กรมพัฒนาและส่งเสริมพลังงานก็ทราบปัญหานี้ดี เพราะได้จ้างบริษัท รี ซอสส์ เอนจิเนียริ่งคอนซัลแตนท์ จำกัด เมื่อปี 2537 ซึ่งก็ชี้ชัดว่าการกักเก็บน้ำ จะส่งผลให้เกิดการละลายของชั้นหินเกลือทำให้เกิดความเค็มสูง ปัญหาดังกล่าวเริ่มปรากฎชัดเจนมากขึ้นแล้วเมื่อพื้นที่รอบอ่างเก็บน้ำที่เคยเป็นที่ปลูกข้าวของชาวบ้านเริ่มมีเกลือผุดขึ้นมาแล้ว โดยชาวบ้านพบว่า บริเวณรอบอ่างเก็บน้ำเขื่อนราษีไศล เริ่มมีปัญหาในเรื่องจุดเกลือ ซึ่งขึ้นเป็นวงกว้างมากขึ้นกว่าเดิม (มีต่อ)Summary: ปัจจุบันชาวบ้านท้ายเขื่อนเองก็ประสบปัญหาในเรื่องของดินเค็ม กระทั่งไม่สามารถทำการเกษตรได้ ด้านนายแฉล่ม คงโนนนอก ชาวบ้านที่ได้รับผลกระทบจากเกลือ บ้านแหล่งข้าว ต.ยางคำ อ.โพนทราย จ..ร้อยเอ็ด กล่าวปัญหาดินเค็มของชาวบ้านได้เริ่มประสบมานานแล้ว นับจากที่มีการดึงเอาน้ำจาแม่น้ำมูลมาใช้ เพื่อทำนาปรัง โดยในปี 2533 เกษตรได้ปลูกข้าวโพดหวานเพื่อส่งออก โดยใช้น้ำจากแม่น้ำมูลที่ผ่านคลองส่งน้ำเข้ามา แต่ปรากฏว่าข้าวโพดตาย
Star ratings
    Average rating: 0.0 (0 votes)
No physical items for this record

พบปัญหาดินเค็มในพื้นที่สร้างเขื่อนราษีไศล ชาวบ้านปลูกข้าวไม่ได้ เกิดวงเกลือเต็มที่นา ขณะที่ผลการศึกษาของกรมพัฒนาที่ดินก็ระบุว่าจะมีการแพร่กระจายของดินเค็มอย่างคาดไม่ถึง จากการศึกษาของกรมพัฒนาที่ดิน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ พบว่าใต้อ่างเก็บน้ำเขื่อนราษีไศลมีบริเวณขั้นหินรองรับอยู่ไม่น้อยกว่า 10 ตารางกิโลเมตร กรมพัฒนาที่ดินยังระบุอีกว่า ในอนาคตอาจจะมีการแพร่กระจายของน้ำ และดินเค็มอย่างคาดไม่ถึง (มีต่อ)

ทั้งนี้ แม้แต่กรมพัฒนาและส่งเสริมพลังงานก็ทราบปัญหานี้ดี เพราะได้จ้างบริษัท รี ซอสส์ เอนจิเนียริ่งคอนซัลแตนท์ จำกัด เมื่อปี 2537 ซึ่งก็ชี้ชัดว่าการกักเก็บน้ำ จะส่งผลให้เกิดการละลายของชั้นหินเกลือทำให้เกิดความเค็มสูง ปัญหาดังกล่าวเริ่มปรากฎชัดเจนมากขึ้นแล้วเมื่อพื้นที่รอบอ่างเก็บน้ำที่เคยเป็นที่ปลูกข้าวของชาวบ้านเริ่มมีเกลือผุดขึ้นมาแล้ว โดยชาวบ้านพบว่า บริเวณรอบอ่างเก็บน้ำเขื่อนราษีไศล เริ่มมีปัญหาในเรื่องจุดเกลือ ซึ่งขึ้นเป็นวงกว้างมากขึ้นกว่าเดิม (มีต่อ)

ปัจจุบันชาวบ้านท้ายเขื่อนเองก็ประสบปัญหาในเรื่องของดินเค็ม กระทั่งไม่สามารถทำการเกษตรได้ ด้านนายแฉล่ม คงโนนนอก ชาวบ้านที่ได้รับผลกระทบจากเกลือ บ้านแหล่งข้าว ต.ยางคำ อ.โพนทราย จ..ร้อยเอ็ด กล่าวปัญหาดินเค็มของชาวบ้านได้เริ่มประสบมานานแล้ว นับจากที่มีการดึงเอาน้ำจาแม่น้ำมูลมาใช้ เพื่อทำนาปรัง โดยในปี 2533 เกษตรได้ปลูกข้าวโพดหวานเพื่อส่งออก โดยใช้น้ำจากแม่น้ำมูลที่ผ่านคลองส่งน้ำเข้ามา แต่ปรากฏว่าข้าวโพดตาย