ความมีชีวิตของละอองเรณูของลองกอง ลางสาด และดูกู / มงคล แซ่หลิม, จรัสศรี นวลศรี, อุไรวรรณ นามศรี

By: มงคล แซ่หลิมContributor(s): จรัสศรี นวลศรี | อุไรวรรณ นามศรีCall Number: INDEX Material type: ArticleArticleSubject(s): SCI-TECH | ผลไม้ -- วิจัย In: สงขลานครินทร์ ฉบับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (มกราคม-มีนาคม 2543) หน้า 35 - 41Summary: ศึกษาความมีชีวิตของละอองเรณูของลองกองจากต้นเพาะเมล็ด ลองกองจากกิ่งเสียบยอด ลางสาดพื้นเมือง ดูกูน้ำ และดูกูพื้นเมือง ระหว่างเดือนมีนาคม 2531 ถึงเดือนสิงหาคม 2541 ณ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และสวนเกษตรกร อำเภอนาทวี จังหวัดสงขลา โดยใช้ละอองเรณูจากระยะการเจริญของดอก 4ระยะ ตรวจสอบความมีชีวิตของละอองเรณูโดยการย้อมสีอะซีโตคาร์มีน 1% และตรวจสอบความงอกของละอองเรณูจากสูตรอาหารเพาะเลี้ยงละอองเรณูที่ประกอบด้วยน้ำตาลซูโครส 10% วุ้น 1% กรดโบริก 0.01 มก./ลิตร และแคลเซียมคลอไรด์ 1มก./ลิตร (มีต่อ)Summary: เพาะเลี้ยงที่อุณหภูมิ 30องศาเซลเซียส สภาพที่ให้แสงเป็นเวลา 24ชั่วโมง ผลการทดลองพบว่า ดูกูพื้นเมืองและลางสาดพื้นเมืองมีจำนวนละอองเรณูที่ย้อมติดสีในระยะดอกบาน 87.07 และ 7.78% ตามลำดับ แต่ไม่พบละอองเรณูที่ย้อมติดสีในลองกองจากต้นเพาะเมล็ด ลองกองจากกิ่งเสียบยอด และดูกูน้ำในระยะดอกบาน ผลการทดสอบความงอกของละอองเรณูพบว่า ละอองเรณูของดูกูพื้นเมืองในระยะดอกบานมีความงอกสูงสุด 3.95% และมีความยาวหลอดละอองเรณูสูงสุด 104.28 ไมโครเมตร ส่วนละอองเรณูของลองกองจากต้นเพาะเมล็ดลองกองจากกิ่งเสียบยอด ดูกูน้ำ และลางสาดพื้นเมือง ไม่สามารถงอกได้ภายใต้สภาพแวดล้อมเดียวกัน
Star ratings
    Average rating: 0.0 (0 votes)
No physical items for this record

ศึกษาความมีชีวิตของละอองเรณูของลองกองจากต้นเพาะเมล็ด ลองกองจากกิ่งเสียบยอด ลางสาดพื้นเมือง ดูกูน้ำ และดูกูพื้นเมือง ระหว่างเดือนมีนาคม 2531 ถึงเดือนสิงหาคม 2541 ณ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และสวนเกษตรกร อำเภอนาทวี จังหวัดสงขลา โดยใช้ละอองเรณูจากระยะการเจริญของดอก 4ระยะ ตรวจสอบความมีชีวิตของละอองเรณูโดยการย้อมสีอะซีโตคาร์มีน 1% และตรวจสอบความงอกของละอองเรณูจากสูตรอาหารเพาะเลี้ยงละอองเรณูที่ประกอบด้วยน้ำตาลซูโครส 10% วุ้น 1% กรดโบริก 0.01 มก./ลิตร และแคลเซียมคลอไรด์ 1มก./ลิตร (มีต่อ)

เพาะเลี้ยงที่อุณหภูมิ 30องศาเซลเซียส สภาพที่ให้แสงเป็นเวลา 24ชั่วโมง ผลการทดลองพบว่า ดูกูพื้นเมืองและลางสาดพื้นเมืองมีจำนวนละอองเรณูที่ย้อมติดสีในระยะดอกบาน 87.07 และ 7.78% ตามลำดับ แต่ไม่พบละอองเรณูที่ย้อมติดสีในลองกองจากต้นเพาะเมล็ด ลองกองจากกิ่งเสียบยอด และดูกูน้ำในระยะดอกบาน ผลการทดสอบความงอกของละอองเรณูพบว่า ละอองเรณูของดูกูพื้นเมืองในระยะดอกบานมีความงอกสูงสุด 3.95% และมีความยาวหลอดละอองเรณูสูงสุด 104.28 ไมโครเมตร ส่วนละอองเรณูของลองกองจากต้นเพาะเมล็ดลองกองจากกิ่งเสียบยอด ดูกูน้ำ และลางสาดพื้นเมือง ไม่สามารถงอกได้ภายใต้สภาพแวดล้อมเดียวกัน