ปัจจัยบางประการที่มีผลต่อการแยกโปรโตพลาสต์ส้มจุก (Citrus reticulata Blanco) และการปลูกถ่ายยีนด้วย Agrobacterium / โสภา ทวีคณะโชติ, สมปอง เตชะโต

By: โสภา ทวีคณะโชติContributor(s): สมปอง เตชะโตCall Number: INDEX Material type: ArticleArticleSubject(s): SCI-TECH | ส้มจุก -- การปลูกถ่ายยีน In: สงขลานครินทร์ ฉบับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ปีที่ 22 ฉบับที่ 1 (มกราคม - มีนาคม 2543) หน้า 15-23Summary: แยกโปรโตพลาสต์ส้มจุก (Cirtrus reticulata Blanco) จากแหล่งต่างๆ โดยนำใบอายุ 1 เดือน มาหั่นฝอยแล้วอินคิวเบทในสารละลายเอนไซม์ชนิดและความเข้มข้นต่างๆ เป็นเวลา 2,3 และ 4 ชั่วโมง บนเครื่องเขย่าเป็นไปมาที่ความเร็ว 40 รอบ/นาที สำหรับการปลูกถ่ายยีนทำโดยการเลี้ยงโปรโตพลาสต์ร่วมกับ Agrobacterium เป็นระยะเวลาต่างๆ จากผลการศึกษา พบว่า ใบจริงจากต้นกล้าที่เพาะเมล็ดในหลอดทดลองให้จำนวนโปรโตพลาสต์สูงสุด 3.07x10 (7) โปรโตพลาสต์/กรัม น้ำหนักสด ในขณะที่โปรโตพลาสต์ที่แยกได้จากใบจากการเพาะเลี้ยงลำต้นเหนือใบเลี้ยงมีความมีชีวิตสูงสุด 89.17% (มีต่อ)Summary: เมื่อแยกด้วยสารละลายเอนไซม์ที่ประกอบด้วยเซลลูเลสโอโนซกะ-อาร์เอส เข้มข้น 1.5% เพคโตไลเอส วาย-23 เข้มข้น 0.1% และมาเซอโรไซม์ อาร์-10 เข้มข้น 1.0% เอนไซม์ดังกล่าวละลายอยู่ในสารละลายแมนนิทอล 0.7 โมลาร์ การอินคิวเบทใบร่วมกับสารละลายเอนไซม์ เป็นเวลา 3 ชั่วโมง ให้จำนวนและความมีชีวิตโปรโตพลาสต์สูงสุด 9.20x10(7) โปรโตพลาสต์/กรัม น้ำหนักสด และ 81.43% ตามลำดับ เมื่อเปรียบเทียบระหว่างใบส้มจุกคู่ที่ 1 และคู่ที่ 2 พบว่าให้จำนวนและความมีชีวิตของโปรโตพลาสต์ไม่แตกต่างกันทางสถิติ สำหรับการปลูกถ่ายยืนโดยการเลี้ยงโปรโตพลาสต์ร่วมกับ Agrobacterium สายเชื้อ LBA4404 (pBI121) เป็นเวลา 5 นาที ให้ความมีชีวิตรอดมากที่สุด 64% หลังเพาะเลี้ยงเป็นเวลา 72 ชั่วโมง แต่ไม่พบการแบ่งเซลล์
Star ratings
    Average rating: 0.0 (0 votes)
No physical items for this record

แยกโปรโตพลาสต์ส้มจุก (Cirtrus reticulata Blanco) จากแหล่งต่างๆ โดยนำใบอายุ 1 เดือน มาหั่นฝอยแล้วอินคิวเบทในสารละลายเอนไซม์ชนิดและความเข้มข้นต่างๆ เป็นเวลา 2,3 และ 4 ชั่วโมง บนเครื่องเขย่าเป็นไปมาที่ความเร็ว 40 รอบ/นาที สำหรับการปลูกถ่ายยีนทำโดยการเลี้ยงโปรโตพลาสต์ร่วมกับ Agrobacterium เป็นระยะเวลาต่างๆ จากผลการศึกษา พบว่า ใบจริงจากต้นกล้าที่เพาะเมล็ดในหลอดทดลองให้จำนวนโปรโตพลาสต์สูงสุด 3.07x10 (7) โปรโตพลาสต์/กรัม น้ำหนักสด ในขณะที่โปรโตพลาสต์ที่แยกได้จากใบจากการเพาะเลี้ยงลำต้นเหนือใบเลี้ยงมีความมีชีวิตสูงสุด 89.17% (มีต่อ)

เมื่อแยกด้วยสารละลายเอนไซม์ที่ประกอบด้วยเซลลูเลสโอโนซกะ-อาร์เอส เข้มข้น 1.5% เพคโตไลเอส วาย-23 เข้มข้น 0.1% และมาเซอโรไซม์ อาร์-10 เข้มข้น 1.0% เอนไซม์ดังกล่าวละลายอยู่ในสารละลายแมนนิทอล 0.7 โมลาร์ การอินคิวเบทใบร่วมกับสารละลายเอนไซม์ เป็นเวลา 3 ชั่วโมง ให้จำนวนและความมีชีวิตโปรโตพลาสต์สูงสุด 9.20x10(7) โปรโตพลาสต์/กรัม น้ำหนักสด และ 81.43% ตามลำดับ เมื่อเปรียบเทียบระหว่างใบส้มจุกคู่ที่ 1 และคู่ที่ 2 พบว่าให้จำนวนและความมีชีวิตของโปรโตพลาสต์ไม่แตกต่างกันทางสถิติ สำหรับการปลูกถ่ายยืนโดยการเลี้ยงโปรโตพลาสต์ร่วมกับ Agrobacterium สายเชื้อ LBA4404 (pBI121) เป็นเวลา 5 นาที ให้ความมีชีวิตรอดมากที่สุด 64% หลังเพาะเลี้ยงเป็นเวลา 72 ชั่วโมง แต่ไม่พบการแบ่งเซลล์