การวัดสมบัติเชิงไฟฟ้าของยูโรเปียติตาเนต / ธงชัย พันธ์เมธาฤทธิ์, กาญจนา เกษเพชร

By: ธงชัย พันธ์เมธาฤทธิ์Contributor(s): กาญจนา เกษเพชรCall Number: INDEX Material type: ArticleArticleSubject(s): SCI-TECH | ไฟฟ้า -- วิจัย In: สงขลานครินทร์ ฉบับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ปีที่ 21 ฉบับที่ 4 (ตุลาคม-ธันวาคม 2542) หน้า 483 - 489Summary: การศึกษานี้เกี่ยวข้องกับการวัดสมบัติเชิงไฟฟ้าสำหรับ EU2 Ti2 O7 และทดสอบประยุกต์ใช้งานเป็นสวิทซ์ความร้อนการทดลองโดยจากการคำนวณน้ำหนัก ชั่งสาร บดผสมสาร อัดผงเป็นก้อนรูปจาน นำไปเผาแคลไซเนชัน และซินเตอริง โดยใช้อัตราการเร่ง 3 องศาเซลเซียส และอุณหภูมิการเผาทั้งสองกรณี 1100 องศาเซลเซียส สารที่เตรียมได้เป็นรูปจานบางๆ มีลักษณะแข็งและเปราะ สารที่ได้มีพาหะไฟฟ้าหลักเป็นอิเล็กตรอน เมื่อถ่ายภาพด้วย XRD (มีต่อ)Summary: พบว่ายอด (peak) ของระนาบมีลักษณะคมชัดซึ่งแสดงส่วนผสมของสารถูกต้องและมีสารเจือปนอยู่น้อย กราฟวงการล้าสนามประจุของสารมีรูปทรงรีแสดงว่าสารแสดงสมบัติของความจุ ความต้านทานในวงจรไฟฟ้ากระแสตรงที่วัดได้มีค่าค่อนข้างสูงในย่าน M ความสัมพันธ์กระแส-แรงดันในช่วง 0-1000 VCD เป็นแบบไม่โอห์มมิก ผลการวัดแสดงค่าอิมพีแดนซ์ (Z) ความต้านทาน (R) ตัวประกอบการสูญเสีย (D) ความจุ (Cp) และค่าคงที่ไดอิเล็กตริง (Er) ในวงจรไฟสลับพบว่ามีค่าลดลงในขณะที่ความถี่เพิ่มขึ้น แต่ความต้านทานความจุ (x)- ความนำไฟฟ้า (G) ความนำไฟฟ้า (G) มีค่าเพิ่มขึ้น ในขณะที่ความถี่เพิ่มขึ้น เมื่อนำสารไปเผาในเตาหลอมพบว่า สารมีความต้านทานลดลง ในขณะที่อุณหภูมิเพิ่มขึ้นโดยจะมีการลดลงอย่างรวดเร็วที่อุณหภูมิในช่วง 620-800 องศาเซลเซียส แสดงว่าสารเป็นเซรามิกส์กึ่งตัวนำและเป็นเทอร์มิสเตอร์ที่มีสัมประสิทธิ์อุณหภูมิเป็นลบ การทำงานของสวิทซ์ที่สามารถต่อวงจรเนื่องจากผลจากการลดค่าความต้านทานเป็นการยืนยันว่าสารสามารถทำงานเป็นสวิทซ์ความร้อนในช่วงอุณหภูมินี้ได้
Star ratings
    Average rating: 0.0 (0 votes)
No physical items for this record

การศึกษานี้เกี่ยวข้องกับการวัดสมบัติเชิงไฟฟ้าสำหรับ EU2 Ti2 O7 และทดสอบประยุกต์ใช้งานเป็นสวิทซ์ความร้อนการทดลองโดยจากการคำนวณน้ำหนัก ชั่งสาร บดผสมสาร อัดผงเป็นก้อนรูปจาน นำไปเผาแคลไซเนชัน และซินเตอริง โดยใช้อัตราการเร่ง 3 องศาเซลเซียส และอุณหภูมิการเผาทั้งสองกรณี 1100 องศาเซลเซียส สารที่เตรียมได้เป็นรูปจานบางๆ มีลักษณะแข็งและเปราะ สารที่ได้มีพาหะไฟฟ้าหลักเป็นอิเล็กตรอน เมื่อถ่ายภาพด้วย XRD (มีต่อ)

พบว่ายอด (peak) ของระนาบมีลักษณะคมชัดซึ่งแสดงส่วนผสมของสารถูกต้องและมีสารเจือปนอยู่น้อย กราฟวงการล้าสนามประจุของสารมีรูปทรงรีแสดงว่าสารแสดงสมบัติของความจุ ความต้านทานในวงจรไฟฟ้ากระแสตรงที่วัดได้มีค่าค่อนข้างสูงในย่าน M ความสัมพันธ์กระแส-แรงดันในช่วง 0-1000 VCD เป็นแบบไม่โอห์มมิก ผลการวัดแสดงค่าอิมพีแดนซ์ (Z) ความต้านทาน (R) ตัวประกอบการสูญเสีย (D) ความจุ (Cp) และค่าคงที่ไดอิเล็กตริง (Er) ในวงจรไฟสลับพบว่ามีค่าลดลงในขณะที่ความถี่เพิ่มขึ้น แต่ความต้านทานความจุ (x)- ความนำไฟฟ้า (G) ความนำไฟฟ้า (G) มีค่าเพิ่มขึ้น ในขณะที่ความถี่เพิ่มขึ้น เมื่อนำสารไปเผาในเตาหลอมพบว่า สารมีความต้านทานลดลง ในขณะที่อุณหภูมิเพิ่มขึ้นโดยจะมีการลดลงอย่างรวดเร็วที่อุณหภูมิในช่วง 620-800 องศาเซลเซียส แสดงว่าสารเป็นเซรามิกส์กึ่งตัวนำและเป็นเทอร์มิสเตอร์ที่มีสัมประสิทธิ์อุณหภูมิเป็นลบ การทำงานของสวิทซ์ที่สามารถต่อวงจรเนื่องจากผลจากการลดค่าความต้านทานเป็นการยืนยันว่าสารสามารถทำงานเป็นสวิทซ์ความร้อนในช่วงอุณหภูมินี้ได้