การตอบสนองต่อสนามไฟฟ้าภายนอกของโคพอลีเมอร์ของโพลีไวนิลลิดีนฟลูออไรด์ / ศุภสโรช หมื่นสิทธิ์, จารุณี เอกดิลก

By: ศุภสโรช หมื่นสิทธิ์Contributor(s): จารุณี เอกดิลกCall Number: INDEX Material type: ArticleArticleSubject(s): SCI-TECH | ไฟฟ้า -- วิจัย In: สงขลานครินทร์ ฉบับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ปีที่ 22 ฉบับที่ 2 (เมษายน-มิถุนายน 2543) หน้า 229 - 234Summary: จากการศึกษานี้พบว่าสารตัวอย่างของ PVDF/TrFE มีการตอบสนองต่อสนามไฟฟ้าภายนอกในลักษณะที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวของวัสดุเฟอร์โรอิเล็กตริก โดยที่มีค่าสนามโพลิงและสนามโคเออซีพประมาณ 55 MVm-1 และ 170 MVm-1 ตามลำดับ นอกจากนั้น พบว่าขนาดของโพลาไรเซซันตกค้างขึ้นกับแอมปลิจูด และความถี่ของสัญญาณที่ให้แก่สารตัวอย่าง สังเกตได้ว่าแม้ว่าสารตัวอย่างทั้งหมดที่ใช้ในการศึกษามีลักษณะเป็นฟิล์มบางแต่ความหนาที่แตกต่างกันมีบทบาทต่อวิธีการทดสอบที่ใช้ตลอดจนผลการทดลองที่ได้ (มีต่อ)Summary: อย่างไรก็ตามการมีลักษณะเป็นฟิล์มบางช่วยให้ไม่จำเป็นต้องใช้สนามไฟฟ้าสูงๆ ในการกลับทิศของโพลาไรเซชันในเนื้อสาร ซึ่งเป็นข้อดีที่เอื้อประโยชน์ในการนำไปใช้งาน ทั้งช่วยลดขนาดของวงจรและอุปกรณ์ที่มีฟิล์มบางเฟอร์โรอิเล็กตริกเป็นส่วนประกอบ (Kawai,1969) สิ่งที่ควรศึกษาตรวจสอบเพิ่มเติมต่อไป คือ การตอบสนองต่อสนามไฟฟ้าภายนอกที่มีค่าสูงกว่าสนามโพลิงมากๆ นอกจากนั้นก็ควรมีการศึกษาเพิ่มเติมสมบัติอื่นๆ ทั้งของ PVDF และโคพอลีเมอร์ (มีต่อ)Summary: PVDF/TrFe นอกเหนือไปจากสมบัติเฟอร์โรอิเล็กตริก เช่น เพียโซอิเล็กตริก (piezoelectricity) และไพโรอิเล็กตริก (pyroelectricity) (Kepler and Anderson, 1992 และ Limbong and Guy, 1998) ซึ่งเป็นสมบัติที่ทำให้มีการนำวัสดุมาใช้งานหลากหลายขึ้น เช่น ทำส่วนประกอบในทรานสดิวเซอร์ (transducers) หัววัด (sensors) เครื่องกระตุ้น (actuators) (Kawai, 1996) เป็นต้น
Star ratings
    Average rating: 0.0 (0 votes)
No physical items for this record

จากการศึกษานี้พบว่าสารตัวอย่างของ PVDF/TrFE มีการตอบสนองต่อสนามไฟฟ้าภายนอกในลักษณะที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวของวัสดุเฟอร์โรอิเล็กตริก โดยที่มีค่าสนามโพลิงและสนามโคเออซีพประมาณ 55 MVm-1 และ 170 MVm-1 ตามลำดับ นอกจากนั้น พบว่าขนาดของโพลาไรเซซันตกค้างขึ้นกับแอมปลิจูด และความถี่ของสัญญาณที่ให้แก่สารตัวอย่าง สังเกตได้ว่าแม้ว่าสารตัวอย่างทั้งหมดที่ใช้ในการศึกษามีลักษณะเป็นฟิล์มบางแต่ความหนาที่แตกต่างกันมีบทบาทต่อวิธีการทดสอบที่ใช้ตลอดจนผลการทดลองที่ได้ (มีต่อ)

อย่างไรก็ตามการมีลักษณะเป็นฟิล์มบางช่วยให้ไม่จำเป็นต้องใช้สนามไฟฟ้าสูงๆ ในการกลับทิศของโพลาไรเซชันในเนื้อสาร ซึ่งเป็นข้อดีที่เอื้อประโยชน์ในการนำไปใช้งาน ทั้งช่วยลดขนาดของวงจรและอุปกรณ์ที่มีฟิล์มบางเฟอร์โรอิเล็กตริกเป็นส่วนประกอบ (Kawai,1969) สิ่งที่ควรศึกษาตรวจสอบเพิ่มเติมต่อไป คือ การตอบสนองต่อสนามไฟฟ้าภายนอกที่มีค่าสูงกว่าสนามโพลิงมากๆ นอกจากนั้นก็ควรมีการศึกษาเพิ่มเติมสมบัติอื่นๆ ทั้งของ PVDF และโคพอลีเมอร์ (มีต่อ)

PVDF/TrFe นอกเหนือไปจากสมบัติเฟอร์โรอิเล็กตริก เช่น เพียโซอิเล็กตริก (piezoelectricity) และไพโรอิเล็กตริก (pyroelectricity) (Kepler and Anderson, 1992 และ Limbong and Guy, 1998) ซึ่งเป็นสมบัติที่ทำให้มีการนำวัสดุมาใช้งานหลากหลายขึ้น เช่น ทำส่วนประกอบในทรานสดิวเซอร์ (transducers) หัววัด (sensors) เครื่องกระตุ้น (actuators) (Kawai, 1996) เป็นต้น