อะไรทำให้เราแก่ / ปัทมา ลีฬหาวงศ์

By: ปัทมา ลีฬหาวงศ์Call Number: INDEX Material type: ArticleArticleSubject(s): ความชรา | ความชรา -- การป้องกัน | SCI-TECH In: วิทยาศาสตร์ลาดกระบัง ปีที่ 8 ฉบับที่ 1 (มิถุนายน 2541) หน้า 2-3Summary: จากการศึกษาพบว่าโมเลกุลของออกซิเจนและสารที่เป็นออกซิไดชิงเอเจนต์ (โมเลกุลที่มีออกซิเจนหลายๆ อะตอมเป็นองค์ประกอบ) ในร่างกายจะไปก่อปฏิกิริยาออกซิเดชันกับผนังเซลล์ทำให้อิเลคตรอนของโมเลกุลที่เป็นองค์ประกอบในผนังเซลล์หลุดออกมา โมเลกุลเหล่านี้จะเกิดความว่องไวต่อปฏิกิริยาต่างๆ และเกิดปฏิกิริยาระหว่างกันเอง (มีต่อ)Summary: ทำให้สมบัติของผนังเซลล์เปลี่ยนไป หากการเปลี่ยนแปลงนี้เกิดมากขึ้นจนถึงระดับหนึ่งจะทำให้ระบบภูมิกันของร่างกายเข้าใจว่าเซลล์ที่เปลี่ยนแปลงนั้นเป็นสิ่งแปลกปลอมทำให้ต้องถูกทำลายไปก่อนเวลาอันควร กรณีนี้นับเป็นอันตรายมากหากเกิดขึ้นกับเซลล์ที่ไม่สามารถสร้างขึ้นทดแทนกันได้ เช่น เซลล์ประสาท (มีต่อ)Summary: นักวิทยาศาสตร์ได้พบว่าในร่างกายของมนุษย์เองสามารถผลิตสารต่อต้านปฏิกิริยาออกซิเดชันได้ โดยรัสเซล เจ ไรเตอร์ Russel J. Rettet) แห่งศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพเท็กซัสที่ซานอันโตนิโอ ชี้ให้เห็นว่า เมลาโทนินซึ่งเป็นสารเคมีที่หลั่งออกมากจากต่อมพินนีลในสมอง (เฉพาะเวลากลางคืน) (มีต่อ)Summary: จะป้องกันการเกิดออกซิเดชันได้ นอกจากนี้ยังเป็นที่ทราบกันดีว่า วิตามิน E ก็เป็นสารป้องกันการเกิดออกซิเดชันโดยพบว่าเซลล์เม็ดเลือดแดงที่ขาดวิตามิน E จะหมดอายุเร็วกว่าเซลล์ที่มีปริมาณวิตามิน E อยู่ในเกณฑ์ปกติจากการค้นพบดังกล่าวผู้คนเป็นจำนวนมากจึงหันมากินวิตามิน E ทุกวันเพื่อชะลอความแก่
Star ratings
    Average rating: 0.0 (0 votes)
No physical items for this record

จากการศึกษาพบว่าโมเลกุลของออกซิเจนและสารที่เป็นออกซิไดชิงเอเจนต์ (โมเลกุลที่มีออกซิเจนหลายๆ อะตอมเป็นองค์ประกอบ) ในร่างกายจะไปก่อปฏิกิริยาออกซิเดชันกับผนังเซลล์ทำให้อิเลคตรอนของโมเลกุลที่เป็นองค์ประกอบในผนังเซลล์หลุดออกมา โมเลกุลเหล่านี้จะเกิดความว่องไวต่อปฏิกิริยาต่างๆ และเกิดปฏิกิริยาระหว่างกันเอง (มีต่อ)

ทำให้สมบัติของผนังเซลล์เปลี่ยนไป หากการเปลี่ยนแปลงนี้เกิดมากขึ้นจนถึงระดับหนึ่งจะทำให้ระบบภูมิกันของร่างกายเข้าใจว่าเซลล์ที่เปลี่ยนแปลงนั้นเป็นสิ่งแปลกปลอมทำให้ต้องถูกทำลายไปก่อนเวลาอันควร กรณีนี้นับเป็นอันตรายมากหากเกิดขึ้นกับเซลล์ที่ไม่สามารถสร้างขึ้นทดแทนกันได้ เช่น เซลล์ประสาท (มีต่อ)

นักวิทยาศาสตร์ได้พบว่าในร่างกายของมนุษย์เองสามารถผลิตสารต่อต้านปฏิกิริยาออกซิเดชันได้ โดยรัสเซล เจ ไรเตอร์ Russel J. Rettet) แห่งศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพเท็กซัสที่ซานอันโตนิโอ ชี้ให้เห็นว่า เมลาโทนินซึ่งเป็นสารเคมีที่หลั่งออกมากจากต่อมพินนีลในสมอง (เฉพาะเวลากลางคืน) (มีต่อ)

จะป้องกันการเกิดออกซิเดชันได้ นอกจากนี้ยังเป็นที่ทราบกันดีว่า วิตามิน E ก็เป็นสารป้องกันการเกิดออกซิเดชันโดยพบว่าเซลล์เม็ดเลือดแดงที่ขาดวิตามิน E จะหมดอายุเร็วกว่าเซลล์ที่มีปริมาณวิตามิน E อยู่ในเกณฑ์ปกติจากการค้นพบดังกล่าวผู้คนเป็นจำนวนมากจึงหันมากินวิตามิน E ทุกวันเพื่อชะลอความแก่