การลุยไฟ : เวทย์มนต์หรือวิทยาศาสตร์ / ศักดา ไตรศักดิ์

By: ศักดา ไตรศักดิ์Call Number: INDEX Material type: ArticleArticleSubject(s): ความเชื่อ | การลุยไฟ | พิธีกรรม | SCI-TECH In: วิทยาศาสตร์ลาดกระบัง ปีที่ 8 ฉบับที่ 1 (มิถุนายน 2541) หน้า 1Summary: การลุยไฟเป็นพิธีกรรมอย่างหนึ่งที่ปลุกเร้าให้ผู้ชมเกิดความเลื่อมใสศรัทธาในลัทธิที่เกี่ยวข้องกับการทรงเจ้าเข้าผี ในทางวิทยาศาสตร์มีการอธิบายด้วยเหตุผล 3 ประการถึงความเป็นไปได้คือ ประการที่1 เนื้อเยื่อของมนุษย์มีองค์ประกอบหลักเป็นน้ำ ซึ่งเป็นสารที่มีความจุความร้อนสูง นั่นหมายความว่าจะต้องใช้พลังงานเป็นจำนวนมากจากถ่านไฟ เพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิของเท้าจนทำให้เกิดอันตรายได้โดยเฉพาะในช่วงเวลาสั้นๆ ของพิธีกรรม ประการที่2 ถึงแม้ว่าถ่านร้อนแดงจะมีอุณหภูมิสูง แต่เป็นเพียงเฉพาะผิวภายนอกที่บางๆ เท่านั้น ดังนั้นพลังงานที่สัมผัสกับเท้าโดยตรงจึงน้อยกว่าที่คิดไว้ ประการที่3 เกิดปรากฎการณ์ไลเดนฟรอสท์ (Leidenfrost effect) ซึ่งเป็นปรากฎการณ์ที่เมื่อหยดน้ำกระทบผิวภาชนะที่ร้อนแล้วจะเต้นและกลิ้งไปได้รอบๆ อยู่เป็นเวลานาน โดยส่วนผิวของหยดน้ำที่สัมผัสกับความร้อนจะระเหยเป็นไอ ซึ่งเป็นเสมือนชั้นกั้นความร้อน ดังนั้นเหงื่อของผู้ลุยไฟที่เกิดขึ้นจากความเครียดของพิธีกรรมจึงทำให้เกิดปรากฎการณ์ดังกล่าว และโดยมากพิธีลุยไฟจะกระทำในเวลากลางคืน ซึ่งหญ้าที่อยู่บริเวณรอบกองไฟจะมีความชื้นสูงจึงเป็นตัวช่วยให้เกิดปรากฎการณ์ไลเคนฟรอสท์ได้ง่ายยิ่งขึ้น
Star ratings
    Average rating: 0.0 (0 votes)
No physical items for this record

การลุยไฟเป็นพิธีกรรมอย่างหนึ่งที่ปลุกเร้าให้ผู้ชมเกิดความเลื่อมใสศรัทธาในลัทธิที่เกี่ยวข้องกับการทรงเจ้าเข้าผี ในทางวิทยาศาสตร์มีการอธิบายด้วยเหตุผล 3 ประการถึงความเป็นไปได้คือ ประการที่1 เนื้อเยื่อของมนุษย์มีองค์ประกอบหลักเป็นน้ำ ซึ่งเป็นสารที่มีความจุความร้อนสูง นั่นหมายความว่าจะต้องใช้พลังงานเป็นจำนวนมากจากถ่านไฟ เพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิของเท้าจนทำให้เกิดอันตรายได้โดยเฉพาะในช่วงเวลาสั้นๆ ของพิธีกรรม ประการที่2 ถึงแม้ว่าถ่านร้อนแดงจะมีอุณหภูมิสูง แต่เป็นเพียงเฉพาะผิวภายนอกที่บางๆ เท่านั้น ดังนั้นพลังงานที่สัมผัสกับเท้าโดยตรงจึงน้อยกว่าที่คิดไว้ ประการที่3 เกิดปรากฎการณ์ไลเดนฟรอสท์ (Leidenfrost effect) ซึ่งเป็นปรากฎการณ์ที่เมื่อหยดน้ำกระทบผิวภาชนะที่ร้อนแล้วจะเต้นและกลิ้งไปได้รอบๆ อยู่เป็นเวลานาน โดยส่วนผิวของหยดน้ำที่สัมผัสกับความร้อนจะระเหยเป็นไอ ซึ่งเป็นเสมือนชั้นกั้นความร้อน ดังนั้นเหงื่อของผู้ลุยไฟที่เกิดขึ้นจากความเครียดของพิธีกรรมจึงทำให้เกิดปรากฎการณ์ดังกล่าว และโดยมากพิธีลุยไฟจะกระทำในเวลากลางคืน ซึ่งหญ้าที่อยู่บริเวณรอบกองไฟจะมีความชื้นสูงจึงเป็นตัวช่วยให้เกิดปรากฎการณ์ไลเคนฟรอสท์ได้ง่ายยิ่งขึ้น