การชักนำการกลายพันธุ์มังคุด : การตอบสนองของชิ้นส่วนพืชต่อสิ่งก่อกลายพันธุ์ / สมปอง เตชะโต, วิทยา พรหมมี

By: สมปอง เตชะโตContributor(s): วิทยา พรหมมีCall Number: INDEX Material type: ArticleArticleSubject(s): SCI-TECH | มังคุด -- วิจัย In: สงขลานครินทร์ ฉบับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ปีที่ 21 ฉบับที่ 1 (มกราคม - มีนาคม 2542) หน้า 25 - 31Summary: ตัดแยกใบอ่อนสีม่วงแดงของมังคุดที่เลี้ยงในอาหารสองชิ้น และรวบรวมโนดูลาแคลลัสที่ชักนำในอาหารสูตรชักนำแคลลัสมาจุ่มแช่สารเคมีก่อกลายพันธุ์เอทธีลมีเทนซัล โฟเนต และฉายรังสีแกมมาความเข้มต่างๆ นำใบและแคลลัสที่ผ่านการให้สิ่งก่อกลายพันธุ์ทั้งสองชนิดมาตรวจสอบการสร้างแคลลัสจากใบ และการรอดชีวิตของแคลลัสในแต่ละสัปดาห์ เพื่อตรวจสอบรูปแบบความสามารถในการสร้างแคลลัสจากใบ เปรียบเทียบกับรูปแบบการรอดชีวิตของแคลลัสในแต่ละความเข้มของสิ่งก่อกลายพันธุ์ทั้งสองชนิด จากการศึกษาพบว่าการใช้ EMS ความเข้มข้นสูงขึ้นให้อัตราการรอดชีวิตของแคลลัสลดลง ความเข้มข้นที่ยับยั้งการพัฒนาได้อย่างน้อย 50% ของชุดเปรียบเทียบ คือ ความเข้มข้น 0.50% (มีต่อ)Summary: สำหรับการสร้างแคลลัส พบว่าเป็นไปทำนองเดียวกัน แต่ความเข้มข้นที่ยับยั้งการสร้างแคลลัสได้ 50% คือ 0.50-0.75% ในกรณีของการฉายรังสีแกมมาความเข้มต่างๆ พบว่ารังสีความเข้ม 20 และ 40 เกรย์ ทำให้การรอดชีวิตของแคลลัส 84.2 และ 80.8% แตกต่างจากชุดเปรียบเทียบ ซึ่งให้การรอดชีวิต 100% อย่างไรก็ตามการรอดชีวิตของแคลลัสหลังจากฉายรังสีไม่มีความรุนแรงในขณะที่การสร้างแคลลัสจากใบมีความรุนแรงมาก โดยเฉพาะรังสีความเข้ม 20 และ 40 เกรย์ ไม่สามารถชักนำแคลลัสจากใบที่ฉายรังสีได้เลย ในขณะที่ใบที่ได้รับรังสี 5 และ 10 เกรย์ สร้างแคลลัสได้ 50% และ 10% ตามลำดับ ความเข้มรังสีที่ยับยั้งการสร้างแคลลัสจากใบได้ 50% คือ 10 เกรย์
Star ratings
    Average rating: 0.0 (0 votes)
No physical items for this record

ตัดแยกใบอ่อนสีม่วงแดงของมังคุดที่เลี้ยงในอาหารสองชิ้น และรวบรวมโนดูลาแคลลัสที่ชักนำในอาหารสูตรชักนำแคลลัสมาจุ่มแช่สารเคมีก่อกลายพันธุ์เอทธีลมีเทนซัล โฟเนต และฉายรังสีแกมมาความเข้มต่างๆ นำใบและแคลลัสที่ผ่านการให้สิ่งก่อกลายพันธุ์ทั้งสองชนิดมาตรวจสอบการสร้างแคลลัสจากใบ และการรอดชีวิตของแคลลัสในแต่ละสัปดาห์ เพื่อตรวจสอบรูปแบบความสามารถในการสร้างแคลลัสจากใบ เปรียบเทียบกับรูปแบบการรอดชีวิตของแคลลัสในแต่ละความเข้มของสิ่งก่อกลายพันธุ์ทั้งสองชนิด จากการศึกษาพบว่าการใช้ EMS ความเข้มข้นสูงขึ้นให้อัตราการรอดชีวิตของแคลลัสลดลง ความเข้มข้นที่ยับยั้งการพัฒนาได้อย่างน้อย 50% ของชุดเปรียบเทียบ คือ ความเข้มข้น 0.50% (มีต่อ)

สำหรับการสร้างแคลลัส พบว่าเป็นไปทำนองเดียวกัน แต่ความเข้มข้นที่ยับยั้งการสร้างแคลลัสได้ 50% คือ 0.50-0.75% ในกรณีของการฉายรังสีแกมมาความเข้มต่างๆ พบว่ารังสีความเข้ม 20 และ 40 เกรย์ ทำให้การรอดชีวิตของแคลลัส 84.2 และ 80.8% แตกต่างจากชุดเปรียบเทียบ ซึ่งให้การรอดชีวิต 100% อย่างไรก็ตามการรอดชีวิตของแคลลัสหลังจากฉายรังสีไม่มีความรุนแรงในขณะที่การสร้างแคลลัสจากใบมีความรุนแรงมาก โดยเฉพาะรังสีความเข้ม 20 และ 40 เกรย์ ไม่สามารถชักนำแคลลัสจากใบที่ฉายรังสีได้เลย ในขณะที่ใบที่ได้รับรังสี 5 และ 10 เกรย์ สร้างแคลลัสได้ 50% และ 10% ตามลำดับ ความเข้มรังสีที่ยับยั้งการสร้างแคลลัสจากใบได้ 50% คือ 10 เกรย์