ความหลากหลายและการเปลี่ยนแปลงทางกายวิภาคตามฤดูกาลของหญ้าทะเล ณ อุทยานแห่งชาติหาดเจ้าไหม จังหวัดตราด / อุปถัมภ์ มีสวัสดิ์ ... [และคนอื่นๆ]

Contributor(s): อุปถัมภ์ มีสวัสดิ์Call Number: INDEX Material type: ArticleArticleSubject(s): SCI-TECH | หญ้าทะเล -- วิจัย | วิจัย In: สงขลานครินทร์ ฉบับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ปีที่ 21 ฉบับที่ 1 (มกราคม - มีนาคม 2542) หน้า 65 - 81Summary: จากการศึกษาการเปลี่ยนแปลงตามฤดูกาลของหญ้าทะเล ณ อุทยานแห่งชาติหาดเจ้าไหม จังหวัดตราด เป็นระยะเวลา 1 ปี (ระหว่างเดือนกรกฏาคม 2538-มิถุนายน 2539) โดยเก็บตัวอย่างทุกๆ สองเดือน กำหนดจุดและสุ่มเก็บตัวอย่าง โดยวิธี line-transects ทำการวัดขนาดของส่วนต่างๆ ของหญ้าทะเล ตลอดจนวัดข้อมูลทางกายภาพของแหล่งน้ำ เช่น ความเค็ม อุณหภูมิ และความโปร่งใส ส่วนการศึกษาทางกายวิภาคนั้น ใช้วิธีพาราฟิน พบว่ามีหญ้าทะเล 6 สกุล 8 ชนิด คือ ในวงศ์ Potamogetonaceae (มีต่อ)Summary: พบ Halodule unineruis.,Cymodocea rotundata.,C.serrulata และ Syringodium isoetifolium และในวงศ์ Hydrocharitaceae พบ Enhalus acoroides.,Thalassia hemprichii.,Halophila ovalis และ minor โดยที่การกระจายของหญ้าทะเลส่วนใหญ่เริ่มจากชายฝั่งจนกระทั่งถึงระยะห่างจากชายฝั่ง ไม่เกิน 700 เมตร ด้านการเปลี่ยนแปลงทางกายวิภาคตามฤดูกาลนั้นจะเห็นเด่นชัด ในส่วนรากของ Enhalus acoroides มีการพัฒนาของช่วงอากาศขนาดใหญ่ (มีต่อ)Summary: สำหรับ Halophila ovalis พบว่ามีขนาดของใบ 2 ขนาด โดยใบขนาดเล็กมักขึ้นบริเวณใกล้ชายฝั่ง ในขณะที่ใบขนาดใหญ่กว่ามักขึ้นบริเวณไกลจากชายฝั่ง นอกจากนี้ยังพบว่าปลายใบของ Halodule uninerris มีทั้ง 2 หยัก และ 3 หยัก ไม่พบปากใบในหญ้าทะเลทุกฃนิดที่ศึกษาลักษณะกายวิภาคของกาบใบคล้ายกับส่วนของใบและพบคลอโรพลาสต์มากในชั้นอิพิเดอร์มิสของใบแต่ไม่พบในส่วนกาบใบ ชั้นมีโซฟิลล์ของใบอาจพัฒนาสร้างช่องอากาศหรือเซลล์พาเรงคิมาที่แวคิวโอลใหญ่ มักพบเซลล์ที่มีแทนนินและอาหารสะสมในส่วนลำต้นใต้ดินและใบในบางชนิด
Star ratings
    Average rating: 0.0 (0 votes)
No physical items for this record

จากการศึกษาการเปลี่ยนแปลงตามฤดูกาลของหญ้าทะเล ณ อุทยานแห่งชาติหาดเจ้าไหม จังหวัดตราด เป็นระยะเวลา 1 ปี (ระหว่างเดือนกรกฏาคม 2538-มิถุนายน 2539) โดยเก็บตัวอย่างทุกๆ สองเดือน กำหนดจุดและสุ่มเก็บตัวอย่าง โดยวิธี line-transects ทำการวัดขนาดของส่วนต่างๆ ของหญ้าทะเล ตลอดจนวัดข้อมูลทางกายภาพของแหล่งน้ำ เช่น ความเค็ม อุณหภูมิ และความโปร่งใส ส่วนการศึกษาทางกายวิภาคนั้น ใช้วิธีพาราฟิน พบว่ามีหญ้าทะเล 6 สกุล 8 ชนิด คือ ในวงศ์ Potamogetonaceae (มีต่อ)

พบ Halodule unineruis.,Cymodocea rotundata.,C.serrulata และ Syringodium isoetifolium และในวงศ์ Hydrocharitaceae พบ Enhalus acoroides.,Thalassia hemprichii.,Halophila ovalis และ minor โดยที่การกระจายของหญ้าทะเลส่วนใหญ่เริ่มจากชายฝั่งจนกระทั่งถึงระยะห่างจากชายฝั่ง ไม่เกิน 700 เมตร ด้านการเปลี่ยนแปลงทางกายวิภาคตามฤดูกาลนั้นจะเห็นเด่นชัด ในส่วนรากของ Enhalus acoroides มีการพัฒนาของช่วงอากาศขนาดใหญ่ (มีต่อ)

สำหรับ Halophila ovalis พบว่ามีขนาดของใบ 2 ขนาด โดยใบขนาดเล็กมักขึ้นบริเวณใกล้ชายฝั่ง ในขณะที่ใบขนาดใหญ่กว่ามักขึ้นบริเวณไกลจากชายฝั่ง นอกจากนี้ยังพบว่าปลายใบของ Halodule uninerris มีทั้ง 2 หยัก และ 3 หยัก ไม่พบปากใบในหญ้าทะเลทุกฃนิดที่ศึกษาลักษณะกายวิภาคของกาบใบคล้ายกับส่วนของใบและพบคลอโรพลาสต์มากในชั้นอิพิเดอร์มิสของใบแต่ไม่พบในส่วนกาบใบ ชั้นมีโซฟิลล์ของใบอาจพัฒนาสร้างช่องอากาศหรือเซลล์พาเรงคิมาที่แวคิวโอลใหญ่ มักพบเซลล์ที่มีแทนนินและอาหารสะสมในส่วนลำต้นใต้ดินและใบในบางชนิด