นโยบายรัฐ : บทบาทผู้นำท้องถิ่นด้านการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ศึกษากรณีจังหวัดพระนครศรีอยุธยา / ธนพรรณ สุนทระ

By: ธนพรรณ สุนทระCall Number: INDEX Material type: ArticleArticleSubject(s): SCI-TECH | ผู้นำชุมชน In: วิจัยสภาวะแวดล้อม ปีที่ 21 เล่มที่ 1 (มกราคม-มิถุนายน 2542) หน้า 37 - 42Summary: ผู้นำท้องถิ่นมีบทบาทในการสนับสนุนให้ชุมชนมีการดำเนินกิจกรรมเกี่ยวกับการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ดังจะเห็นได้ว่าชาวบ้านมีการทำเกษตรผสมผสานเพิ่มขึ้น สามารถนำแนวคิด "ทฤษฎีใหม่" ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มาดัดแปลงใช้ในพื้นที่ศึกษาได้ ผลจากการทำเกษตรผสมผสานทำให้ชีวิตความเป็นอยู่ของชาวบ้านดีขึ้น การทำเกษตรเพื่อจำหน่ายเป็นจำนวนมาก เกษตรกรที่มีอาชีพเกษตรกรรมยังคงทำอยู่ แต่ส่วนหนึ่งของพื้นที่การเกษตร ได้มีการทำเกษตรผสมผสานในบริเวณพื้นที่ของตนเอง (มีต่อ)Summary: นอกจากนี้ ชาวบ้านยังได้ทำการแปรรูปผลผลิตในท้องถิ่นเพื่อไว้ใช้ในครัวเรือน และทำเพื่อนำไปจำหน่ายด้วย รวมทั้งมีองค์กรชาวบ้านเป็นศูนย์รวมของชุมชนเกี่ยวกับการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมร่วมไปกับกิจกรรมอื่นๆ หัวหน้าครัวเรือนตัวอย่างให้ความสนใจมุ่งมั่นที่จะช่วยกันดูแลรักษาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมด้วยวิธีต่างๆ โดยนำนโยบายของอำเภอมาปรับเปลี่ยนสู่การปฎิบัติในชุมชน เช่น การจัดให้มีกิจกรรมต่างๆ ในชุมชน (มีต่อ)Summary: มีการรณรงค์ให้ชาวบ้านเข้าร่วมกิจกรรม และในทุกกิจกรรมมีการสอดแทรกเนื้อหาเกี่ยวกับการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอยู่ด้วย ทั้งนี้เพราะสิ่งแวดล้อมเป็นสิ่งที่ทุกคนต้องสัมผัสอยู่แล้ว เช่น มีโครงการปลูกผักปลอดสารพิษ ปลูกต้นไม้ พัฒนาคูคลอง การอนุรักษ์แหล่งน้ำ การช่วยกันกำจัดวัชพืช การใช้ปุ๋ยหมักแทนปุ๋ยเคมี การทำไร่นาสวนผสม โครงการเหล่านี้ล้วนมีวัตถุประสงค์เพื่อการรักษาสภาพแวดล้อมให้ดีขึ้นทั้งสิ้น
Star ratings
    Average rating: 0.0 (0 votes)
No physical items for this record

ผู้นำท้องถิ่นมีบทบาทในการสนับสนุนให้ชุมชนมีการดำเนินกิจกรรมเกี่ยวกับการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ดังจะเห็นได้ว่าชาวบ้านมีการทำเกษตรผสมผสานเพิ่มขึ้น สามารถนำแนวคิด "ทฤษฎีใหม่" ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มาดัดแปลงใช้ในพื้นที่ศึกษาได้ ผลจากการทำเกษตรผสมผสานทำให้ชีวิตความเป็นอยู่ของชาวบ้านดีขึ้น การทำเกษตรเพื่อจำหน่ายเป็นจำนวนมาก เกษตรกรที่มีอาชีพเกษตรกรรมยังคงทำอยู่ แต่ส่วนหนึ่งของพื้นที่การเกษตร ได้มีการทำเกษตรผสมผสานในบริเวณพื้นที่ของตนเอง (มีต่อ)

นอกจากนี้ ชาวบ้านยังได้ทำการแปรรูปผลผลิตในท้องถิ่นเพื่อไว้ใช้ในครัวเรือน และทำเพื่อนำไปจำหน่ายด้วย รวมทั้งมีองค์กรชาวบ้านเป็นศูนย์รวมของชุมชนเกี่ยวกับการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมร่วมไปกับกิจกรรมอื่นๆ หัวหน้าครัวเรือนตัวอย่างให้ความสนใจมุ่งมั่นที่จะช่วยกันดูแลรักษาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมด้วยวิธีต่างๆ โดยนำนโยบายของอำเภอมาปรับเปลี่ยนสู่การปฎิบัติในชุมชน เช่น การจัดให้มีกิจกรรมต่างๆ ในชุมชน (มีต่อ)

มีการรณรงค์ให้ชาวบ้านเข้าร่วมกิจกรรม และในทุกกิจกรรมมีการสอดแทรกเนื้อหาเกี่ยวกับการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอยู่ด้วย ทั้งนี้เพราะสิ่งแวดล้อมเป็นสิ่งที่ทุกคนต้องสัมผัสอยู่แล้ว เช่น มีโครงการปลูกผักปลอดสารพิษ ปลูกต้นไม้ พัฒนาคูคลอง การอนุรักษ์แหล่งน้ำ การช่วยกันกำจัดวัชพืช การใช้ปุ๋ยหมักแทนปุ๋ยเคมี การทำไร่นาสวนผสม โครงการเหล่านี้ล้วนมีวัตถุประสงค์เพื่อการรักษาสภาพแวดล้อมให้ดีขึ้นทั้งสิ้น