วัยหมดระดูและการให้ฮอร์โมนเสริมในสตรีวัยหมดระดู / ปิติ เลาหบูรณะกิจ

By: ปิติ เลาหบูรณะกิจCall Number: INDEX Material type: ArticleArticleSubject(s): วัยทอง | วัยหมดระดู | SCI-TECH In: คณะวิทยาศาสตร์ ปีที่ 10 ฉบับที่ 2 (มีนาคม-เมษายน 2542) หน้า 33 - 36Summary: วัยหมดระดู (Menopause) คือช่วงที่รังไข่ลดการตอบสนองต่อการกระตุ้นด้วยฮอร์โมนจากต่อมใต้สมอง เป็นผลให้ไม่มีการตกไข่ และไม่ทำหน้าที่ผลิตฮอร์โมนเอสโตรเจนอีกต่อไป โดยปกติรอบระดูสุดท้ายของสตรีส่วนใหญ่จะหมดไป เมื่ออายุประมาณ 50 ปี เป็นผลให้ระบบต่างๆ ซึ่งเคยได้รับฮอร์โมนเพศเป็นเวลากว่า 35 ปี เกิดการขาดฮอร์โมน และการนำไปสู่การทำงานผิดปกติในที่สุด (มีต่อ)Summary: ปัญหาของวัยหมดระดูไม่ได้เริ่มต้นเมื่อประจำเดือนหยุดหายไป หากเริ่มตั้งแต่ก่อนระดูหมดเป็นเวลาประมาณ 2-5 ปี บางคนประสบปัญหาเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงฮอร์โมนก่อนประจำเดือนจะหมดจริงๆ เป็นเวลาถึง 10 ปี อาการของการขาดฮอร์โมนจึงสามารถแบ่งได้ตามระยะที่เกิดเป็น 3 ช่วง คืออาการที่เกิดระยะแรกประกอบด้วยอาการทางระบบเส้นเลือด และอาการทางอารมณ์ อาการทางระบบเส้นเลือด (มีต่อ)Summary: อาการระยะกลาง ได้แก่อาการทางระบบสืบพันธุ์-ระบบทางเดินปัสสาวะ และอาการที่เกิดขึ้นเนื่องจากเนื้อเยื่อคอลลาเจน ลดลงอาการทางระบบสืบพันธุ์-ระบบทางเดินปัสสาวะที่พบบ่อย ได้แก่ผนังช่องคลอดบางตัวมีอาการอักเสบและบาดเจ็บขณะมีเพศสัมพันธ์ได้ง่าย และอาการระยะยาวได้แก่ โรคกระดูกพรุน และโรคหัวใจขาดเลือดซึ่งเป็นสาเหตุการตายและทุพพลภาพที่สำคัญของสตรีสูงอายุ (มีต่อ)Summary: การเพิ่มฮอร์โมนทดแทนทำให้เพิ่มคุณภาพชีวิต ชะลอความเสื่อมและลดอัตราการตายและทุพพลภาพ การดูแลรักษาความผิดปกติในสตรีหมดระดูโดยการปรับปรุงพฤติกรรมของการดำเนินชีวิต เช่น การออกกำลังกายโดยเหมาะสมกับอายุ การใช้ยาที่ไม่ใช่ฮอร์โมนทดแทน เช่น แคลเซียม แคลซิโตนิน สตรีในวัยหมดระดูส่วนใหญ่เป็นผู้ที่มีหน้าที่การทำงานในตำแหน่งสูงและเป็นที่ยอมรับในสังคม (มีต่อ)Summary: วัยหมดระดูจึงควรเป็นวัยทองของชีวิต มิใช่วัยที่จะต้องทุกข์ทรมานจากการเปลี่ยนแปลงทางกายและใจ อันเป็นผลจากฮอร์โมนที่ขาดหายไป การให้ฮอร์โมนทดแทนได้รับการพิสูจน์ว่ามีประโยชน์แน่นอนในผู้ที่ไม่มีข้อห้ามใช้สตรีในวัยหมดระดูรวมถึงแพทย์ผู้ดูแลสตรี
Star ratings
    Average rating: 0.0 (0 votes)
No physical items for this record

วัยหมดระดู (Menopause) คือช่วงที่รังไข่ลดการตอบสนองต่อการกระตุ้นด้วยฮอร์โมนจากต่อมใต้สมอง เป็นผลให้ไม่มีการตกไข่ และไม่ทำหน้าที่ผลิตฮอร์โมนเอสโตรเจนอีกต่อไป โดยปกติรอบระดูสุดท้ายของสตรีส่วนใหญ่จะหมดไป เมื่ออายุประมาณ 50 ปี เป็นผลให้ระบบต่างๆ ซึ่งเคยได้รับฮอร์โมนเพศเป็นเวลากว่า 35 ปี เกิดการขาดฮอร์โมน และการนำไปสู่การทำงานผิดปกติในที่สุด (มีต่อ)

ปัญหาของวัยหมดระดูไม่ได้เริ่มต้นเมื่อประจำเดือนหยุดหายไป หากเริ่มตั้งแต่ก่อนระดูหมดเป็นเวลาประมาณ 2-5 ปี บางคนประสบปัญหาเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงฮอร์โมนก่อนประจำเดือนจะหมดจริงๆ เป็นเวลาถึง 10 ปี อาการของการขาดฮอร์โมนจึงสามารถแบ่งได้ตามระยะที่เกิดเป็น 3 ช่วง คืออาการที่เกิดระยะแรกประกอบด้วยอาการทางระบบเส้นเลือด และอาการทางอารมณ์ อาการทางระบบเส้นเลือด (มีต่อ)

อาการระยะกลาง ได้แก่อาการทางระบบสืบพันธุ์-ระบบทางเดินปัสสาวะ และอาการที่เกิดขึ้นเนื่องจากเนื้อเยื่อคอลลาเจน ลดลงอาการทางระบบสืบพันธุ์-ระบบทางเดินปัสสาวะที่พบบ่อย ได้แก่ผนังช่องคลอดบางตัวมีอาการอักเสบและบาดเจ็บขณะมีเพศสัมพันธ์ได้ง่าย และอาการระยะยาวได้แก่ โรคกระดูกพรุน และโรคหัวใจขาดเลือดซึ่งเป็นสาเหตุการตายและทุพพลภาพที่สำคัญของสตรีสูงอายุ (มีต่อ)

การเพิ่มฮอร์โมนทดแทนทำให้เพิ่มคุณภาพชีวิต ชะลอความเสื่อมและลดอัตราการตายและทุพพลภาพ การดูแลรักษาความผิดปกติในสตรีหมดระดูโดยการปรับปรุงพฤติกรรมของการดำเนินชีวิต เช่น การออกกำลังกายโดยเหมาะสมกับอายุ การใช้ยาที่ไม่ใช่ฮอร์โมนทดแทน เช่น แคลเซียม แคลซิโตนิน สตรีในวัยหมดระดูส่วนใหญ่เป็นผู้ที่มีหน้าที่การทำงานในตำแหน่งสูงและเป็นที่ยอมรับในสังคม (มีต่อ)

วัยหมดระดูจึงควรเป็นวัยทองของชีวิต มิใช่วัยที่จะต้องทุกข์ทรมานจากการเปลี่ยนแปลงทางกายและใจ อันเป็นผลจากฮอร์โมนที่ขาดหายไป การให้ฮอร์โมนทดแทนได้รับการพิสูจน์ว่ามีประโยชน์แน่นอนในผู้ที่ไม่มีข้อห้ามใช้สตรีในวัยหมดระดูรวมถึงแพทย์ผู้ดูแลสตรี