คุณภาพน้ำต่อทรัพยากรสัตว์น้ำจืดในอ่างเก็บน้ำลำตะคอง / เดชาพล รุกขมธุร์

By: เดชาพล รุกขมธุร์Call Number: INDEX Material type: ArticleArticleSubject(s): SCI-TECH | น้ำ, คุณภาพ -- สัตว์น้ำจืด In: วิศวกรรมสิ่งแวดล้อมไทย ปีที่ 14 ฉบับที่ 2 (มีนาคม-เมษายน 2543) หน้า 22 - 25Summary: คุณภาพน้ำในอ่างเก็บน้ำลำตะคองนั้นมีผลต่อการดำรงชีวิตของสัตว์น้ำจืดโดยตรงคือ มีผลต่อการเจริญเติบโตและการเจริญพันธุ์ของสัตว์น้ำ โดยใช้รายงานผลการปฏิบัติงานโครงการติดตามประเมินผลด้านสิ่งแวดล้อม โครงการลำตะคองแบบสูบกลับ จากการสำรวจของมหาวิทยาลัยมหาสารคามมาวิเคาระห์คุณภาพน้ำในอ่างเก็บน้ำลำตะคอง และจากพารามิเตอร์ที่ทำการตรวจวัดของมหาวิทยาลัยมหาสารคามนั้น ได้แสดงว่าคุณภาพน้ำในอ่างเก็บน้ำลำตะคองยังมีความเหมาะสมต่อการอยู่อาศัย และการเจริญเติบโตของสัตว์น้ำ ยกเว้นค่าความโปร่งใส นั้นมีค่าสูงสุดอยู่ที่ 169 ซม. (มีต่อ)Summary: ซึ่งมีค่าสูงกว่าเกณฆ์มาตรฐานคือ 60 ซม. แสดงให้เห็นว่าแหล่งน้ำนั้นไม่ค่อยอุดมสมบูรณ์ ปริมาณแพลงค์ตอนพืชและสัตว์อาจมีปริมาณน้อยจนสัตว์น้ำไม่เพียงพอสำหรับการใช้เป็นอาหาร และการเจริญเติบโตของสัตว์น้ำทำให้ผลผลิตของสัตว์น้ำต่ำกว่าอ่างเก็บน้ำที่มีแพลงค์ตอนพืชและสัตว์สูงกว่า ดังนั้นควรมีการปรับปรุงคุณภาพน้ำโดยการเพิ่มแร่ธาตุอาหารให้สูงขึ้นในปริมาณที่เหมาะสมเพียงพอกับการเจริญเติบโตของแพลงค์ตอนพืชและสัตว์ ซึ่งเป็นผลผลิตขั้นปฐมภูมิ เพื่อให้อ่างเก็บน้ำลำตะคองเป็นแหล่งผลิตโปรตีนที่สำคัญของชาวภาคตะวันออกเฉียงเหนือให้อยู่ตลอดไป
Star ratings
    Average rating: 0.0 (0 votes)
No physical items for this record

คุณภาพน้ำในอ่างเก็บน้ำลำตะคองนั้นมีผลต่อการดำรงชีวิตของสัตว์น้ำจืดโดยตรงคือ มีผลต่อการเจริญเติบโตและการเจริญพันธุ์ของสัตว์น้ำ โดยใช้รายงานผลการปฏิบัติงานโครงการติดตามประเมินผลด้านสิ่งแวดล้อม โครงการลำตะคองแบบสูบกลับ จากการสำรวจของมหาวิทยาลัยมหาสารคามมาวิเคาระห์คุณภาพน้ำในอ่างเก็บน้ำลำตะคอง และจากพารามิเตอร์ที่ทำการตรวจวัดของมหาวิทยาลัยมหาสารคามนั้น ได้แสดงว่าคุณภาพน้ำในอ่างเก็บน้ำลำตะคองยังมีความเหมาะสมต่อการอยู่อาศัย และการเจริญเติบโตของสัตว์น้ำ ยกเว้นค่าความโปร่งใส นั้นมีค่าสูงสุดอยู่ที่ 169 ซม. (มีต่อ)

ซึ่งมีค่าสูงกว่าเกณฆ์มาตรฐานคือ 60 ซม. แสดงให้เห็นว่าแหล่งน้ำนั้นไม่ค่อยอุดมสมบูรณ์ ปริมาณแพลงค์ตอนพืชและสัตว์อาจมีปริมาณน้อยจนสัตว์น้ำไม่เพียงพอสำหรับการใช้เป็นอาหาร และการเจริญเติบโตของสัตว์น้ำทำให้ผลผลิตของสัตว์น้ำต่ำกว่าอ่างเก็บน้ำที่มีแพลงค์ตอนพืชและสัตว์สูงกว่า ดังนั้นควรมีการปรับปรุงคุณภาพน้ำโดยการเพิ่มแร่ธาตุอาหารให้สูงขึ้นในปริมาณที่เหมาะสมเพียงพอกับการเจริญเติบโตของแพลงค์ตอนพืชและสัตว์ ซึ่งเป็นผลผลิตขั้นปฐมภูมิ เพื่อให้อ่างเก็บน้ำลำตะคองเป็นแหล่งผลิตโปรตีนที่สำคัญของชาวภาคตะวันออกเฉียงเหนือให้อยู่ตลอดไป