มารู้จักฝุ่นละอองกันเถอะ / สุมัทณา สัมมณากุล

By: สุมัทณา สัมมณากุลCall Number: INDEX Material type: ArticleArticleSubject(s): SCI-TECH | ฝุ่น In: โลกพลังงาน ปีที่ 4 ฉบับที่ 10 (มกราคม-มีนาคม 2544) หน้า 60 - 61Summary: ฝุ่นละออง คือ อนุภาคของแข็งขนาดเล็กที่ล่องลอยอยู่ในอากาศ เกิดจากวัตถุที่ถูกทุบ ตี บด หรือกระแทกจนแตกออกเป็นชิ้นส่วนเล็กๆ เมื่อถูกกระแสลมพัดก็จะปลิวและกระจายตัวอยู่ในอากาศ แล้วตกลงสู่พื้น ซึ่งเวลาในการตกจะช้าหรือเร็วขึ้นอยู่กับน้ำหนักของอนุภาค และแหล่งกำเนิดของฝุ่นจะแสดงถึงคุณสมบัติความเป็นพิษของฝุ่นด้วย เช่น แอสเบสตอส ตะกั่ว ไฮโดรคาร์บอน กัมมันตรังสี และสามารถแบ่งฝุ่นละอองตามขนาดได้เป็น 2 ส่วน คือ ฝุ่นขนาดใหญ่ และฝุ่นขนาดเล็ก (มีต่อ)Summary: ซึ่งเรียกว่า PM10 สำหรับที่มาของฝุ่นละอองในบรรยากาศโดยทั่วไปแบ่งเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ 1.ฝุ่นละอองที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ 2.ฝุ่นละอองที่เกิดจากกิจกรรมของมนุษย์ ผลกระทบหรืออันตรายของฝุ่นละอองมีผลต่อสภาพบรรยากาศทั่วไป ต่อวัตถุและสิ่งก่อสร้าง และต่อสุขภาพอนามัยของมนุษย์ แนวทางแก้ไขอาจทำได้ดังนี้ 1.ควบคุมที่แหล่งกำเนิด 2.ปรับปรุงคุณภาพของน้ำมันเชื้อเพลิง 3.ป้องกันการฟุ้งกระจายของฝุ่นละอองจากรถบรรทุกหิน ดิน ทราย วัสดุก่อสร้าง ด้วยการคลุมผ้าใบมิดชิด (มีต่อ)Summary: 4.ลดการฟุ้งกระจายของฝุ่นในการก่อสร้างถนน 5.ปรับปรุงมาตรฐาน กฎหมายที่เกี่ยวข้อง 6.ควรดูแลเอาใจใส่ บำรุงรักษารถของตนเองให้อยู่ในสภาพที่ดี 7.ช่วยกันปลูกต้นไม้และบำรุงรักษาต้นไม้ 8.ช่วยกันเก็บกวาดรักษาหน้าบ้านให้สะอาด ปราศจากฝุ่นและไม่กวาดฝุ่นลงบนถนน 9.ควรใช้อุปกรณ์ป้องกันระบบทางเดินหายใจที่มีประสิทธิภาพและเหมาะสม ฝุ่นละอองเป็นอันตรายต่อร่างกาย เพราะฉะนั้นควรจะระมัดระวังและหลีกเลี่ยงการเผชิญ หรือการอยู่ในที่ๆ มีฝุ่นละอองมากๆ หากหลีกเลี่ยงไม่ได้จริงๆ ก็ควรหาอุปกรณ์ป้องกัน เพื่อที่ร่างกายของเราจะได้ปลอดภัยจากอันตรายของฝุ่นละออง
Star ratings
    Average rating: 0.0 (0 votes)
No physical items for this record

ฝุ่นละออง คือ อนุภาคของแข็งขนาดเล็กที่ล่องลอยอยู่ในอากาศ เกิดจากวัตถุที่ถูกทุบ ตี บด หรือกระแทกจนแตกออกเป็นชิ้นส่วนเล็กๆ เมื่อถูกกระแสลมพัดก็จะปลิวและกระจายตัวอยู่ในอากาศ แล้วตกลงสู่พื้น ซึ่งเวลาในการตกจะช้าหรือเร็วขึ้นอยู่กับน้ำหนักของอนุภาค และแหล่งกำเนิดของฝุ่นจะแสดงถึงคุณสมบัติความเป็นพิษของฝุ่นด้วย เช่น แอสเบสตอส ตะกั่ว ไฮโดรคาร์บอน กัมมันตรังสี และสามารถแบ่งฝุ่นละอองตามขนาดได้เป็น 2 ส่วน คือ ฝุ่นขนาดใหญ่ และฝุ่นขนาดเล็ก (มีต่อ)

ซึ่งเรียกว่า PM10 สำหรับที่มาของฝุ่นละอองในบรรยากาศโดยทั่วไปแบ่งเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ 1.ฝุ่นละอองที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ 2.ฝุ่นละอองที่เกิดจากกิจกรรมของมนุษย์ ผลกระทบหรืออันตรายของฝุ่นละอองมีผลต่อสภาพบรรยากาศทั่วไป ต่อวัตถุและสิ่งก่อสร้าง และต่อสุขภาพอนามัยของมนุษย์ แนวทางแก้ไขอาจทำได้ดังนี้ 1.ควบคุมที่แหล่งกำเนิด 2.ปรับปรุงคุณภาพของน้ำมันเชื้อเพลิง 3.ป้องกันการฟุ้งกระจายของฝุ่นละอองจากรถบรรทุกหิน ดิน ทราย วัสดุก่อสร้าง ด้วยการคลุมผ้าใบมิดชิด (มีต่อ)

4.ลดการฟุ้งกระจายของฝุ่นในการก่อสร้างถนน 5.ปรับปรุงมาตรฐาน กฎหมายที่เกี่ยวข้อง 6.ควรดูแลเอาใจใส่ บำรุงรักษารถของตนเองให้อยู่ในสภาพที่ดี 7.ช่วยกันปลูกต้นไม้และบำรุงรักษาต้นไม้ 8.ช่วยกันเก็บกวาดรักษาหน้าบ้านให้สะอาด ปราศจากฝุ่นและไม่กวาดฝุ่นลงบนถนน 9.ควรใช้อุปกรณ์ป้องกันระบบทางเดินหายใจที่มีประสิทธิภาพและเหมาะสม ฝุ่นละอองเป็นอันตรายต่อร่างกาย เพราะฉะนั้นควรจะระมัดระวังและหลีกเลี่ยงการเผชิญ หรือการอยู่ในที่ๆ มีฝุ่นละอองมากๆ หากหลีกเลี่ยงไม่ได้จริงๆ ก็ควรหาอุปกรณ์ป้องกัน เพื่อที่ร่างกายของเราจะได้ปลอดภัยจากอันตรายของฝุ่นละออง