ผลงานวิจัยนิเวศวิทยาและการควบคุมประชากรของเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลในแปลงข้าวอินทรีย์ / สุวัฒน์ รวยอารีย์, รจนา สุรการ, ทัศนีย์ สงวนสัจ

By: สุวัฒน์ รวยอารีย์Contributor(s): รจนา สุรการ | ทัศนีย์ สงวนสัจCall Number: INDEX Material type: ArticleArticleSubject(s): SCI-TECH | ข้าวอินทรีย์ -- วิจัย | ข้าว -- นิเวศวิทยา | ข้าว -- โรคและศัตรู In: กีฏและสัตววิทยา ปีที่ 22 ฉบับที่ 2 (เมษายน-มิถุนายน 2543) หน้า 76 - 93Summary: เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล, Nilaparvata lugens (Stal) เป็นแมลงศัตรูข้าวที่เป็นปัญหาสำคัญ โดยเฉพาะการปลูกข้าวอินทรีย์ซึ่งไม่มีการใช้สารเคมี ได้ศึกษานิเวศวิทยาของเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลในแปลงข้าวอินทรีย์พันธุ์ข้าวดอกมะลิ 105 และข้าวเจ้าหอมสุพรรณบุรี ทำการควบคุมประชากรแมลงดังกล่าวกรณีที่เกิดการระบาด โดยการระบายน้ำออกจากแปลงนาทดลองที่สถานีทดลองข้าวชัยนาท ในช่วงนาปี ปี2541 และปี 2542 (มีต่อ)Summary: แปลงทดลองใส่ปุ๋ยคอกอัตรา 1,000 กก./ไร่ ก่อนปักดำข้าว 10วัน เพียงครั้งเดียวไม่ใช้สารเคมีทุกชนิดในแปลงทดลอง ตรวจผลทุกสัปดาห์โดยใช้เครื่อง D-vac ดูดแมลงและตรวจนับแมลงโดยตรง เมื่อพบเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลระบาดในแปลง ทำการระบายน้ำออก 7-10วัน เพื่อลดประชากรแมลง เก็บเกี่ยวและวัดผลผลิตข้าวทั้งสองพันธุ์ ผลการทดลอง พบเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลระบาดในแปลงทดลองทั้งสองปี ข้าวขาวดอกมะลิ 105 มีแมลงมากกว่าข้าวเจ้าหอมสุพรรณบุรี 2.4 เท่า (มีต่อ)Summary: แมลงมีการขยายพันธุ์เพิ่มประชากรมากในแปลงข้าว 2ชั่วอายุขัย ตรวจพบปริมาณแมลงเกินระดับเศรษฐกิจ (>10ตัว/กอ) ในข้าวขาวดอกมะลิ 105 3-5ครั้ง ข้าวเจ้าหอมสุพรรณบุรี 1-4ครั้ง ศัตรูธรรมชาติพบแตนเบียนไข่เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล, Oligosita yasumatsui 32.1-51.8% และ Tetrastichus spp. 6.8-9.9% ตัวห้ำพวกแมงมุม 56.6-83.7% และมวนเขียวดูดไข่, Cyrtorhinus lividipennis 14.3-40.5% (มีต่อ)Summary: โดยแมงมุมมีบทบาทในการควบคุมประชากรเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลมากกว่ามวนเขียวดูดไข่ ศัตรูธรรมชาติเหล่านี้พบทุกระยะการเจริญเติบโตของข้าว การระบายน้ำออกจากแปลงที่เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลระบาด และไม่มีฝนตกลงมาเพิ่มปริมาณน้ำในแปลงนา สามารถลดปริมาณแมลงได้เฉลี่ย 24.6_+ 19.9 เท่าของสภาพที่มีน้ำขัง ผลผลิตข้าวอินทรีย์โดยเฉลี่ยข้าวขาวดอกมะลิ 105 508.5 กก./ไร่ และข้าวเจ้าหอมสุพรรณบุรี 333.5 กก./ไร่
Star ratings
    Average rating: 0.0 (0 votes)
No physical items for this record

เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล, Nilaparvata lugens (Stal) เป็นแมลงศัตรูข้าวที่เป็นปัญหาสำคัญ โดยเฉพาะการปลูกข้าวอินทรีย์ซึ่งไม่มีการใช้สารเคมี ได้ศึกษานิเวศวิทยาของเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลในแปลงข้าวอินทรีย์พันธุ์ข้าวดอกมะลิ 105 และข้าวเจ้าหอมสุพรรณบุรี ทำการควบคุมประชากรแมลงดังกล่าวกรณีที่เกิดการระบาด โดยการระบายน้ำออกจากแปลงนาทดลองที่สถานีทดลองข้าวชัยนาท ในช่วงนาปี ปี2541 และปี 2542 (มีต่อ)

แปลงทดลองใส่ปุ๋ยคอกอัตรา 1,000 กก./ไร่ ก่อนปักดำข้าว 10วัน เพียงครั้งเดียวไม่ใช้สารเคมีทุกชนิดในแปลงทดลอง ตรวจผลทุกสัปดาห์โดยใช้เครื่อง D-vac ดูดแมลงและตรวจนับแมลงโดยตรง เมื่อพบเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลระบาดในแปลง ทำการระบายน้ำออก 7-10วัน เพื่อลดประชากรแมลง เก็บเกี่ยวและวัดผลผลิตข้าวทั้งสองพันธุ์ ผลการทดลอง พบเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลระบาดในแปลงทดลองทั้งสองปี ข้าวขาวดอกมะลิ 105 มีแมลงมากกว่าข้าวเจ้าหอมสุพรรณบุรี 2.4 เท่า (มีต่อ)

แมลงมีการขยายพันธุ์เพิ่มประชากรมากในแปลงข้าว 2ชั่วอายุขัย ตรวจพบปริมาณแมลงเกินระดับเศรษฐกิจ (>10ตัว/กอ) ในข้าวขาวดอกมะลิ 105 3-5ครั้ง ข้าวเจ้าหอมสุพรรณบุรี 1-4ครั้ง ศัตรูธรรมชาติพบแตนเบียนไข่เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล, Oligosita yasumatsui 32.1-51.8% และ Tetrastichus spp. 6.8-9.9% ตัวห้ำพวกแมงมุม 56.6-83.7% และมวนเขียวดูดไข่, Cyrtorhinus lividipennis 14.3-40.5% (มีต่อ)

โดยแมงมุมมีบทบาทในการควบคุมประชากรเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลมากกว่ามวนเขียวดูดไข่ ศัตรูธรรมชาติเหล่านี้พบทุกระยะการเจริญเติบโตของข้าว การระบายน้ำออกจากแปลงที่เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลระบาด และไม่มีฝนตกลงมาเพิ่มปริมาณน้ำในแปลงนา สามารถลดปริมาณแมลงได้เฉลี่ย 24.6_+ 19.9 เท่าของสภาพที่มีน้ำขัง ผลผลิตข้าวอินทรีย์โดยเฉลี่ยข้าวขาวดอกมะลิ 105 508.5 กก./ไร่ และข้าวเจ้าหอมสุพรรณบุรี 333.5 กก./ไร่